การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Region Development) ในครั้งนี้ข้าพเจ้านางสาวรัชนีกร เศรษฐสิงห์ ประเภทบัณฑิต ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การกำกับดูแล ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ จากการดำเนินงานประจำเดือนกรกฎาคม 2565 มีรายละเอียดการปฏิบัติงานดังนี้

        วันที่  1 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าได้ดำเนินการส่งเอกสารใบรายงานตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วย BCG เพื่อนำส่งอาจารย์ประจำตำบล เวลา 13.30 น. เข้าร่วมรับฟังงานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วย BCG โดยกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผ่านช่องทาง Facebook live : MHESI THAILAND โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG ผู้ร่วมรับฟังเกี่ยวกับการปฏิบัติงานระยะเวลา 3 เดือน

วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.00 น. ข้าพเจ้าและทีมงาน ได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่านทาง Google meet ร่วมกับคณะอาจารย์ประจำตำบล ได้ช่วยกันระดมความคิดเพื่อพัฒนาชุมชนในตำบลหนองไทร  โดยเสนอโครงการและผลิตภัณฑ์ในตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยมีโครงการดังนี้  1. กล้วยฉาบ/กล้วยเบรกแตก 2. ลูกประคบสมุนไพร 3. แหล่งท่องเที่ยวสวนไทรงาม 4. น้ำสมุนไพร 5. เสื่อกก จากที่ประชุม ได้มติที่ประชุมเห็นว่า  การพัฒนาโครงการลูกประคบสมุนไพร และของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวสวนไทรงามเป็นสิ่งที่น่าสนของตำบลหนองไทร

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น. คณะอาจารย์และผู้ร่วมปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่ศาลาประชาคม หมู่ที่ 1 ตำบล หนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอาจารย์ประจำตำบลได้ประชุมตกลงแบ่งหน้าที่ของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและร่วมสำรวจแหล่งท่องเที่ยว (เชิงนิเวศ) และผลิตภัณฑ์ลูกประคบ โดยมีชื่อโครงการ คือ การพัฒนาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศสวนต้นไทร และการยกระดับมาตรฐานการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.00 น. ข้าพเจ้าและทีมงานบัณฑิตได้ลงพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองไทร ต.หนองไทร อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ นางกฤษณา ยวนกูล ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ประจำหมู่ที่1 บ้านหนองไทร ตำบลหนองไทร สอบถามเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึก และความต้องการของชุมชนในตำบลหนองไทร พบว่า ตำบลหนองไทรมีพืชสมุนไพรมากมายหลายชนิด ที่ชาวบ้านได้ปลูกเองและสามารถนำมาแปรรูปเป็นยาได้ เช่น ลูกประคบที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนอีกทั้งยังส่งเสริมทางการแพทย์แผนโบราณในตำบลอีกด้วย  เวลา 13.00 น. เข้าเรียน E-learning ผ่านระบบ Online

  • M-01 แนวคิดและเศรษฐกิจ BCG
  • M-02 คิดเชิงออกแบบ Design Thinking เพื่อเป็นแนวทาง ในการเขียนแบบฟอร์ม C-01 ให้หัวหน้าโครงการ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา  10.00 น. ข้าพเจ้าและทีมงานบัณฑิตประชุมแผนงาน ตามที่อาจารย์ประจำตำบลได้มอบหมาย โดยจะมีแผนธุรกิจของลูกประคบสมุนไพร และของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวตำบลหนองไทร (ยาหอม สมุนไพร) รวมทั้งออกแบบผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ มีคุณภาพ เพื่อเป็นการต่อยอดสินค้าเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป

ผลการดำเนินงานประจำเดือนกรกฎาคม จากการได้ลงพื้นที่ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สรุปได้ว่าจากมติการประชุมของคณะอาจารย์ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานกับทางผู้นำชุมชนเป็นไปอย่างเรียบร้อยดี  ผู้ปฏิบัติงานได้ลงเก็บข้อมูลที่ได้รับ   อย่างพร้อมเพรียงกัน ชาวบ้านในตำบลหนองไทรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่หมู่ 1 เรียบร้อยแล้ว ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมืออย่างดี ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และนอกจากการเก็บข้อมูลแล้วยังได้มีการวางแผนร่วมกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรในตำบล ให้มีความน่าสนใจรวมไปถึงการต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย สำหรับงานประจำเดือนกรกฎาคมก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี