ข้าพเจ้านางสาว บุหลัน จันทร์สุข ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03(1)ผู้ปฎิบัติตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG and Regional Development ) ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565
วันอาทิตย์ ที่ 31 กรกฎาคม 2565
เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมเพื่อตอบปัญหาการใช้งาน ระบบ TCD โดยสรุปประเด็นการเข้าร่วมประชุมได้ดังนี้
- กำหนดว่าทุกตำบลต้องบันทึก TCD ให้ครบทั้ง 10 หมวด รวม 500 รายการ
– ตำบลเก่า
– Cleaning ข้อมูล
– ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันถ้ามีข้อมูลใหม่
– สามารถเข้าบันทึกข้อมูลได้ที่ลิงค์ cbd.u2t.ac.th
– สามารถศึกษารายละเอียดการลงข้อมูลได้ที่ คู่มือ bit.ly/bru-tcd
– กำหนดส่งงานสิ้นเดือน กันยายน มีเวลาลงข้อมูล 60 วัน
วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม 2565
ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทีมงานได้เลือกพัฒนา 2 รายการ ได้แก่ 1. หมวกสานจากต้นไหล 2. ปุ๋ยหมักใบไม้
โดยได้พูดคุยถึงประเด็นการพัฒนา ดังนี้
- ความเป็นมาของการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา
- วัตถุดิบในการจัดทำ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ราคาต้นทุนเท่าไร จำหน่ายที่ไหนจำหน่ายราคาเท่าไร
- มีกระบวนการในการผลิตอย่างไร
- สิ่งที่ทีมงานต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คืออะไรบ้าง จะพัฒนาออกมาในรูปแบบไหน
- นำประเด็นที่ผู้พัฒนาต้องการพัฒนามาหาแนวทาง โดยการหาแนวทางในการพัฒนา ว่าจะดำเนินการอย่างไร พร้อมทั้งหาวิธีการ และงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ มีอะไรบ้าง ราคาเท่าไร
- อาจารย์ให้สมาชิกในทีมแบ่งกลุ่มกันเพื่อแยกกันไปศึกษาข้อมูลของแต่ละผลิตภัณฑ์เพื่อความรวดเร็วในการทำงานโดยข้าพเจ้าได้อยู่กลุ่มหมวกสานจากต้นไหล
วันอังคาร ที่ 2 สิงหาคม 2565
ลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากการประชุมวางแผนการพัฒนาสินค้า สอบถามชาวบ้านถึงพืชธรรมชาติที่จะนำมาย้อมสีต้นไหลว่าในพื้นที่มีพืชที่เราต้องการที่จะนำมาย้อมสีต้นไหลหรือไม่ และสอบถามความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านว่าพืชประจำถิ่นชนิดไหนให้สีอะไร เรามีวิธีการนำพืชชนิดนั้นมาย้อมสีธรรมชาติได้อย่างไร และสำรวจเพิ่มเติมว่าในพื้นที่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่จะนำมาพัฒนาร่วมกันกับการพัฒนาหมวกสานจากต้นไหลหรือไม่เพื่อที่จะได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์อื่นที่มีในชุมชนควบคู่กับการพัฒนาหมวกสานจากต้นไหลของคนในชุมชน เป็นการพัฒนาสินค้าและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับคนในชุมชนอีกด้วย จากการสำรวจผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถนำมาดัดแปลงเพื่อตกแต่งหมวกสานจากต้นไหลของคนในชุมชน ก็คือ การทอผ้าขาวม้า ผ้าถุงตีนแดง ผ้าลายพระราชทาน ของชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพวง ซึ่งนำโดย น้อง ศุภเสกข์ บุญประสาท ซึ่งน้องมีอายุเพียง 14 ปี แต่มีความสามารถในการทอผ้าที่ประณีตและงดงาม และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนตำบลหนองโบสถ์
วันอาทิตย์ ที่ 7 สิงหาคม 2565
ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ครั้งที่ 2 เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ตามที่อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มให้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อมูลที่ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมดังนี้
- ตำบลหนองโบสถ์มีผลิตภัณฑ์อะไรที่จะสามารถนำมาพัฒนาหมวกสานจากต้นไหลให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- ชาวบ้านสามารถผลิตหมวกสานจากต้นไหลได้เพียงพอกับความต้องการหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอทีมงานมีวิธีไหนที่จะช่วยให้ชาวบ้านสามารถผลิตหมวกสานจากต้นได้ตรงตามความต้องการ
- ถ้ามีการย้อมสีต้นไหลจากธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลาในการทำเท่าไร ต้องใช้วัตถุดิบเท่าไร และในชุมชนมีพืชที่จะย้อมสีต้นไหลหรือไม่
- ต้นไหลที่มีอยู่ในชุมชนเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอเราสามารถหาต้นไหลเพิ่มเติมได้จากที่ใด
วันพุธ ที่ 10 สิงหาคม 2565
ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ เพื่อนัดหมายลงพื้นที่ไปทำปุ๋ยหมักใบไม้ และ ย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ และเสนอรายการการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาทำปุ๋ยหมักใบไม้ และการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ
วันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม 2565
ทีมงานลงพื้นที่ทำปุ๋ยหมักใบไม้ร่วมกันกับชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพลวง โดยมีวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทำปุ๋ยหมักใบไม้ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักใบไม้
- แกลบดำ 45 กิโลกรัม
- แกลบ 6 กิโลกรัม
- ขุยมะพร้าว 9 กิโลกรัม
- ขี้หมู 1 ถุง
- ขี้วัว 1 ถุง
- ขี้ไก่1ถุง
- หัวเชื้อจุลทรีย์ (EM)
- กากน้ำตาล
- ถุงขนาด 12*20 ซ.ม สีขาว
- ผ้าคลุม 36 เมตร
- เครื่องซีนถุง
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักใบไม้
1.คลุกเคล้าอินทรียวัตถุดิบกับมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกมาผสมให้เข้ากันโรยรำ (และปุ๋ยน้ำผสมน้ำ (1/200) ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน แค่พอชื้น ไม่ต้องแฉะ เทกากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ช้อนแกง ลงในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน
2.นำน้ำที่ผสมที่เข้ากันแล้ว มาเทลงในกองปุ๋ยให้ทั่ว คนไปมาให้เข้ากัน ซึ่งต้องกะประมาณให้มีความชื้น ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่าย ๆ คือ ถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน แบบนี้ถือว่าใช้ได้
3.ปิดคลุมปุ๋ยทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์
4.กลับกองปุ๋ย โดยทำจำนวน 3 ครั้ง หากมีที่ให้กองปุ๋ย ควรทิ้งไว้โดยให้มีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือหากไม่มีที่ก็ให้ตักปุ๋ยที่ผสมแล้วลงในกระสอบ ทิ้งไว้ 15 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้
เป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.พัฒนาปุ๋ยหมักใบไม้ให้มีมูลค่าเพิ่ม
2.พัฒนาสูตรของปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพและเหมาะสมกับสภาพดินทุกชนิด ในการนำไปปลูกพืชผักสวนครัวและไม้ประดับ
3.เพิ่มเติมความรู้ความสามารถจากนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับคนในชุมชน
4.ประชาชนในพื้นได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพและราคาประหยัด
ทำปุ๋ยหมักใบไม้
วันเสาร์ ที่ 13 สิงหาคม 2565
ทีมงานลงพื้นที่ย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ ร่วมกันกับชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพลวง โดยสีที่จะย้อมมีสีชมพูจากแก่นฝาง สีเขียวขี้ม้าจากใบขี้เหล็ก สีเหลืองน้ำตาลจากเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด ซึ่งพืชทั้งสามชนิดนี้สามารถหาได้ภายในชุมชนตำบลหนองโบสถ์ ซึ่งมีวัสดุอุปกรณ์และวิธีย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์ในการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ
- สารส้ม
- คอปเปอร์ซัลเฟต ชนิดเกล็ดผง 2 กิโลกรัม
- กรดน้ำส้ม 2 กิโลกรัม
- เกลือ 3 โหล
- กาแฟ ( 400 กรัม )
- เบกกิ้งโซดาทำขนม ห่อใหญ่
ขั้นตอนการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ
ขั้นตอนการย้อมสีชมพู ด้วยแก่นฝาง
- เตรียมน้ำอุ่นและน้ำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ด
- เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 500 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 4 ช้อนโต๊ะ
- นำต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ (60-70 องศา) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- เตรียมสารละลายแทนนิน (ใช้กาแฟ) ในน้ำร้อน นำต้นไหลในข้อ 3 ลงแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- เตรียมสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด เหมือนข้อ 2 (อีกหม้อ)
- นำต้นไหลในข้อ 4 ลงแช่อีก 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- ต้มแก่นฝาง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สี่ธรรมชาติออก
- นำน้ำสีฝางต้มให้เดือด (70 ( เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 6 ลงต้มเป็นเวลา 1ชั่วโมง (ถ้าต้องการเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลงไป 1ช้อนโต๊ะ)
- นำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง
อ้างอิง
http://u2t.bru.ac.th/idtech/8-julepon/
ขั้นตอนการย้อมสีเหลืองน้ำตาล ด้วยเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด
- เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ
ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ
- นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ
(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำเส้นกกขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- ต้มพืชให้เกิดสี เช่น แก่นขนุน 8 กก. เหง้ากล้วย 10 กก. เปลือกมะหาด 8 กก. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตัก
กากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
- นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม
เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลง
ไป 1 ช้อนโต๊ะ หรือแช่น้ำโคลน
- น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง
อ้างอิง
http://u2t.bru.ac.th/management/10-wachiraporn/
ขั้นตอนการย้อมสีเขียวขี้ม้า ด้วยใบขี้เหล็ก
- เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ
- นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ
(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- ต้มใบขี้เหล็กให้เกิดสี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
- นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม
เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมจุนสีลงไป 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง
อ้างอิง
http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/tint/?page_id=51
สรุปกิจกรรมการลงพื้นทีประจำเดือนสิงหาคม
- ได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีม
- ได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
- ได้เทคนิคการย้อมสีต้นไหลจากธรรมชาติ ได้รู้วิธีย้อมต้นไหลที่มีสีจาง สีเข้ม
- ได้เรียนรู้การแก้ปัญหา ได้แนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถของตนเอง
- ได้รู้จักการเป็นผู้ให้ และได้รับความสุขในการทำกิจกรรมครั้งนี้