ข้าพเจ้านางสาว บุหลัน  จันทร์สุข ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03(1)ผู้ปฎิบัติตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG and Regional Development ) ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565

วันอาทิตย์ ที่ 31 กรกฎาคม 2565

เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมเพื่อตอบปัญหาการใช้งาน ระบบ TCD โดยสรุปประเด็นการเข้าร่วมประชุมได้ดังนี้

  1. กำหนดว่าทุกตำบลต้องบันทึก TCD ให้ครบทั้ง 10 หมวด รวม 500 รายการ

–  ตำบลเก่า

– Cleaning ข้อมูล

– ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันถ้ามีข้อมูลใหม่

–  สามารถเข้าบันทึกข้อมูลได้ที่ลิงค์ cbd.u2t.ac.th

– สามารถศึกษารายละเอียดการลงข้อมูลได้ที่ คู่มือ bit.ly/bru-tcd

– กำหนดส่งงานสิ้นเดือน กันยายน มีเวลาลงข้อมูล 60 วัน

วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม 2565

ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทีมงานได้เลือกพัฒนา 2 รายการ ได้แก่ 1. หมวกสานจากต้นไหล 2. ปุ๋ยหมักใบไม้

โดยได้พูดคุยถึงประเด็นการพัฒนา ดังนี้

  1. ความเป็นมาของการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา
  2. วัตถุดิบในการจัดทำ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ราคาต้นทุนเท่าไร จำหน่ายที่ไหนจำหน่ายราคาเท่าไร
  3. มีกระบวนการในการผลิตอย่างไร
  4. สิ่งที่ทีมงานต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คืออะไรบ้าง จะพัฒนาออกมาในรูปแบบไหน
  5. นำประเด็นที่ผู้พัฒนาต้องการพัฒนามาหาแนวทาง โดยการหาแนวทางในการพัฒนา ว่าจะดำเนินการอย่างไร พร้อมทั้งหาวิธีการ และงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ มีอะไรบ้าง ราคาเท่าไร
  1. อาจารย์ให้สมาชิกในทีมแบ่งกลุ่มกันเพื่อแยกกันไปศึกษาข้อมูลของแต่ละผลิตภัณฑ์เพื่อความรวดเร็วในการทำงานโดยข้าพเจ้าได้อยู่กลุ่มหมวกสานจากต้นไหล

วันอังคาร ที่ 2 สิงหาคม 2565

ลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากการประชุมวางแผนการพัฒนาสินค้า  สอบถามชาวบ้านถึงพืชธรรมชาติที่จะนำมาย้อมสีต้นไหลว่าในพื้นที่มีพืชที่เราต้องการที่จะนำมาย้อมสีต้นไหลหรือไม่ และสอบถามความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านว่าพืชประจำถิ่นชนิดไหนให้สีอะไร เรามีวิธีการนำพืชชนิดนั้นมาย้อมสีธรรมชาติได้อย่างไร และสำรวจเพิ่มเติมว่าในพื้นที่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่จะนำมาพัฒนาร่วมกันกับการพัฒนาหมวกสานจากต้นไหลหรือไม่เพื่อที่จะได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์อื่นที่มีในชุมชนควบคู่กับการพัฒนาหมวกสานจากต้นไหลของคนในชุมชน เป็นการพัฒนาสินค้าและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับคนในชุมชนอีกด้วย จากการสำรวจผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถนำมาดัดแปลงเพื่อตกแต่งหมวกสานจากต้นไหลของคนในชุมชน ก็คือ การทอผ้าขาวม้า ผ้าถุงตีนแดง ผ้าลายพระราชทาน ของชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพวง ซึ่งนำโดย น้อง ศุภเสกข์ บุญประสาท ซึ่งน้องมีอายุเพียง 14 ปี แต่มีความสามารถในการทอผ้าที่ประณีตและงดงาม และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนตำบลหนองโบสถ์

วันอาทิตย์ ที่ 7 สิงหาคม 2565

ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ครั้งที่ 2  เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ตามที่อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มให้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อมูลที่ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมดังนี้

  1. ตำบลหนองโบสถ์มีผลิตภัณฑ์อะไรที่จะสามารถนำมาพัฒนาหมวกสานจากต้นไหลให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
  2. ชาวบ้านสามารถผลิตหมวกสานจากต้นไหลได้เพียงพอกับความต้องการหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอทีมงานมีวิธีไหนที่จะช่วยให้ชาวบ้านสามารถผลิตหมวกสานจากต้นได้ตรงตามความต้องการ
  3. ถ้ามีการย้อมสีต้นไหลจากธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลาในการทำเท่าไร ต้องใช้วัตถุดิบเท่าไร และในชุมชนมีพืชที่จะย้อมสีต้นไหลหรือไม่
  4. ต้นไหลที่มีอยู่ในชุมชนเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอเราสามารถหาต้นไหลเพิ่มเติมได้จากที่ใด

วันพุธ ที่ 10 สิงหาคม 2565

ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ เพื่อนัดหมายลงพื้นที่ไปทำปุ๋ยหมักใบไม้ และ ย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ  และเสนอรายการการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาทำปุ๋ยหมักใบไม้ และการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ

วันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม 2565

ทีมงานลงพื้นที่ทำปุ๋ยหมักใบไม้ร่วมกันกับชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพลวง  โดยมีวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทำปุ๋ยหมักใบไม้ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักใบไม้

  1. แกลบดำ 45 กิโลกรัม
  2. แกลบ 6 กิโลกรัม
  3. ขุยมะพร้าว 9 กิโลกรัม
  4. ขี้หมู 1 ถุง
  5. ขี้วัว 1 ถุง
  6. ขี้ไก่1ถุง
  7. หัวเชื้อจุลทรีย์ (EM)
  8. กากน้ำตาล
  9. ถุงขนาด 12*20 ซ.ม สีขาว
  10. ผ้าคลุม 36 เมตร
  11. เครื่องซีนถุง

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักใบไม้

1.คลุกเคล้าอินทรียวัตถุดิบกับมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกมาผสมให้เข้ากันโรยรำ (และปุ๋ยน้ำผสมน้ำ (1/200) ส่วน  คลุกเคล้าให้เข้ากัน แค่พอชื้น ไม่ต้องแฉะ เทกากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ช้อนแกง ลงในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน

2.นำน้ำที่ผสมที่เข้ากันแล้ว มาเทลงในกองปุ๋ยให้ทั่ว  คนไปมาให้เข้ากัน ซึ่งต้องกะประมาณให้มีความชื้น  ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่าย ๆ คือ ถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน แบบนี้ถือว่าใช้ได้

3.ปิดคลุมปุ๋ยทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์

4.กลับกองปุ๋ย โดยทำจำนวน 3 ครั้ง หากมีที่ให้กองปุ๋ย ควรทิ้งไว้โดยให้มีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือหากไม่มีที่ก็ให้ตักปุ๋ยที่ผสมแล้วลงในกระสอบ ทิ้งไว้ 15 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้

เป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

1.พัฒนาปุ๋ยหมักใบไม้ให้มีมูลค่าเพิ่ม

2.พัฒนาสูตรของปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพและเหมาะสมกับสภาพดินทุกชนิด ในการนำไปปลูกพืชผักสวนครัวและไม้ประดับ

3.เพิ่มเติมความรู้ความสามารถจากนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับคนในชุมชน

4.ประชาชนในพื้นได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพและราคาประหยัด

 

ทำปุ๋ยหมักใบไม้

วันเสาร์ ที่ 13 สิงหาคม 2565

ทีมงานลงพื้นที่ย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ ร่วมกันกับชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพลวง โดยสีที่จะย้อมมีสีชมพูจากแก่นฝาง สีเขียวขี้ม้าจากใบขี้เหล็ก  สีเหลืองน้ำตาลจากเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด ซึ่งพืชทั้งสามชนิดนี้สามารถหาได้ภายในชุมชนตำบลหนองโบสถ์    ซึ่งมีวัสดุอุปกรณ์และวิธีย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์ในการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ

  1. สารส้ม
  2. คอปเปอร์ซัลเฟต ชนิดเกล็ดผง 2 กิโลกรัม
  3. กรดน้ำส้ม 2 กิโลกรัม
  4. เกลือ 3 โหล
  5. กาแฟ ( 400 กรัม )
  6.    เบกกิ้งโซดาทำขนม ห่อใหญ่

ขั้นตอนการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ

ขั้นตอนการย้อมสีชมพู ด้วยแก่นฝาง

  1. เตรียมน้ำอุ่นและน้ำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ด
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 500 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 4 ช้อนโต๊ะ
  1. นำต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ (60-70 องศา) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  1. เตรียมสารละลายแทนนิน (ใช้กาแฟ) ในน้ำร้อน นำต้นไหลในข้อ 3 ลงแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด เหมือนข้อ 2 (อีกหม้อ)
  3. นำต้นไหลในข้อ 4 ลงแช่อีก 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  4. ต้มแก่นฝาง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สี่ธรรมชาติออก
  5. นำน้ำสีฝางต้มให้เดือด (70 ( เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 6 ลงต้มเป็นเวลา 1ชั่วโมง (ถ้าต้องการเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลงไป 1ช้อนโต๊ะ)
  1. นำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

 

 

                                                  อ้างอิง

                                                                                                   http://u2t.bru.ac.th/idtech/8-julepon/

 

ขั้นตอนการย้อมสีเหลืองน้ำตาล ด้วยเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด

  1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ

ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ

  1. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ

(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำเส้นกกขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ

  1. ต้มพืชให้เกิดสี เช่น แก่นขนุน 8 กก. เหง้ากล้วย 10 กก. เปลือกมะหาด 8 กก. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตัก

กากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)

  1. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม

เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลง

ไป 1 ช้อนโต๊ะ หรือแช่น้ำโคลน

  1. น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

 

 

         อ้างอิง

                                                                         http://u2t.bru.ac.th/management/10-wachiraporn/

 

ขั้นตอนการย้อมสีเขียวขี้ม้า ด้วยใบขี้เหล็ก

  1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ
  3. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ

(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ

  1. ต้มใบขี้เหล็กให้เกิดสี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
  2. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม

เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมจุนสีลงไป 1 ช้อนโต๊ะ

  1.   น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

 

อ้างอิง

                                                                 http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/tint/?page_id=51

 

สรุปกิจกรรมการลงพื้นทีประจำเดือนสิงหาคม

  1. ได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีม
  2. ได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
  3. ได้เทคนิคการย้อมสีต้นไหลจากธรรมชาติ ได้รู้วิธีย้อมต้นไหลที่มีสีจาง สีเข้ม
  4. ได้เรียนรู้การแก้ปัญหา ได้แนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถของตนเอง
  5. ได้รู้จักการเป็นผู้ให้ และได้รับความสุขในการทำกิจกรรมครั้งนี้