ในเบื้องต้น ได้ ทำการลงพื้นที่ สอบถามชาวบ้านเพื่อสำรวจเก็บข้อมูลประชากรในหมู่บ้านเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นเกษตรกรภายในหมู่บ้าน รายได้ของแต่ละครัวเรือนในแต่ละปี รายจ่ายที่ใช้ในการทำการเกษตร เทคโนโลยีที่ใช้และต่างๆในพื้นที่ ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในหมู่บ้านนั้น จะมี 1 ครอบครัวที่ย้ายมาจากกรุงเทพฯ เนื่องจากตกงาน ไม่มีรายได้ จึงกลับมาทำเกษตรและเย็บผ้าที่บ้าน โดยชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นจะประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก

ปลูกผักและเลี้ยงวัว เลี้ยงกระบือ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่เพื่อเป็นรายได้เสริม

จากนั้นได้ทำการสำรวจอาหารประจำถิ่น โดยอาหารส่วนใหญ่จะมีวัตถุดิบมาจากภูเขา โดยจะเป็นเขาอังคาร เขาสมจิต เช่น เห็ดมันปู เห็ดแดง เห็ดตะไคร เห็นไส้เดือน หน่อโจด เป็นต้น เมนูอาหารส่วนมากนั้น วัตถุดิบหลักไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อ เนื่องจากสามารถปลูกได้และหาบนภูเขาได้ เมนูอาหารเช่น ต้มเห็ดรวม ผัดเห็ดมันปู ตำเห็ดตะไคร ทอดมันเห็ด ส้มตำหอยดอง ตำเขมร น้ำพริกปลากับผักต้ม ก้อยหอยเชอรี่ ปลาทอด ต้มปลาใส่ขมิ้น น้ำพริกกะปิกับผักต้มเป็นต้น

ทำการสำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ คือ ห้วยลำนางรอง โดยห้วยจะไหลผ่านหมู่บ้านตลอดทั้งปี ชาวบ้านจะสามารถทำการประมง ใช้ในการเกษตร เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดได้ ในทุกปี และภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้าน การทำไม้กวาดทางมะพร้าวจากวัถุดิบที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรเพื่อทำการรักษาอาการป่วย การสานตระกร้าจากเส้นพลาสติก

ทำการสำรวจพืชในท้องถิ่นโดยพืชส่วนมากจะเป็นพืชผักสวนครัว ผลไม้ วัตุดิบการทำอาหารต่างๆ พืชสมุนไพร เช่น ต้นไชยา มะยม ฟ้าทะลายโจร แก้วมังกร พริก มะนาว ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด ผักชี ต้นแคร์ เป็นต้น

ลิงค์บทความ