โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

หลักสูตรHS17-2 :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ประจำเดือนกันยายน

                ข้าพเจ้า นายอรรถพล เจริญรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในการปฏิบัติงานเดือนกันยายน

          วันที่ 20 สิงหาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดโพธิ์ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมอบรมประชุมการประกวดลายผ้าไหมของตำบลตลาดโพธิ์ โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตร จะเป็นการประกวดลายผ้าไหมของแต่ละคนเพื่อจะหาลายผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลตลาดโพธิ์ โดยมีอาจารย์ประจำตำบลเป็นคนเลือกลายผ้าไหมที่สวยที่สุด โดยมีรางวัลให้กับผู้ที่นำผ้าไหมมาประกวด

                 

 

วันที่ 21 สิงหาคม 2565 ณ ศาลาหมู่ที่ 3 บ้านตลาดโพธิ์ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมอบรมประชุมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักรสานของตำบลตลาดโพธิ์ โดยมีวิทยากร มาพูดคุยถึงการแนะนำเสนอแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านจักสานจากไม้ไผ่ นำตัวอย่างงานจักรสานไม้ไผ่ ,รูปแบบ ,การออกแบบลวดลายผสมผสานกับความ ทันสมัย เพื่อเข้าถึงความต้องการของผู้ซื้อให้มากขึ้น ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จักรสาน ให้มีการทำรูปแบบที่แปลกใหม่ มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น และ การจัดหาช่องทางการทำการตลาด

                       

                       

                             

          การจักรสานสุ่มเล็ก

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่ เสร็จแล้ว
2. มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน
3. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป
วิธีการจักสาน
1. การจักตอกไผ่
1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก
1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ
1.3 จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่)ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3–1.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม.ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มได้ 2 ใบ
1.4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป2. การสานสุ่ม
2.1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
2.2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไว้ใน การสานขึ้นรูป
2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มเพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มได้รูปทรงกลม
2.4 สานตีนสุ่มโดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น
2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มทิ้งไป

 

วันที่ 29 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรม ผ่านระบบออนไลน์แอพพิเคชั่น  Zoom Meeting โดยมีทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ 2 เรื่อง ได้แก่ 1. ให้แต่ละตำบลมาจัดบูธเพื่อที่จัดการแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชน วันที่14-18 กันยายนในงานพิธีซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2. เรื่องขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง  บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 โดยทางคณะได้ขอความอนุเคราะห์แต่ละตำบลส่งตัวแทนไปเปิดงานด้วย

 

                                           

 

 วันที่ 5-9 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบลชี้แจง U2Tเพิ่มเติมในการพิชิตภารกิจ ECT WEEK โดยทางผู้ปฏิบัติงานได้สำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 คน แล้วมาสรุปประมวลผลลงในแบบรายงานของแต่ละวัน  การพิชิตภารกิจของ ECT WEEK จะมี 2 ภารกิจย่อย คือ 1. ใบ Certificate : จากการศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ 20 ep จาก application CIVIC EDUCATION บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน แล้วทำแบบทดสอบ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (16 ข้อ) จะได้รับใบ Certificate 2 รายงานสรุปผลการลงพื้นที่ : เป็นผลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในสัปดาห์ ECT WEEK โดยผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งหน้าที่ในการทำงานนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

                                                  

  การพบปะหารือกับผู้นำแต่ละชุมชนและครูกศน. ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

            วันที่ 10 กันยายน 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดโพธิ์ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมอบรมวิธีการย้อมไหม  การย้อมสีเส้นไหม คือ กรรมวิธีที่ทำให้ผ้าไหมมีสีต่าง ๆ โดยนำปอยหมี่ที่มัดหมี่เรียบร้อยแล้วไปย้อมสีในน้ำเดือด

การย้อมสี เมื่อมัดหมี่เสร็จแล้วถอดด้ายออกจากโฮงมัดหมี่ นำไปย้อมสี การย้อมแต่ละครั้งต้องย้อมหลายๆ หัว เพื่อไม่ให้เปลืองสี ถ้าผ้าที่ออกแบบลวดลายหลายสีต้องย้อมหลายครั้ง (บริเวณที่เชือกฟางมัดไว้จะกลายเป็นลายของผ้ามัดหมี่) และนำหมี่ที่มัด และผ่านการย้อมสีตามความต้องการแล้วมาแกะเชือกฟางออก

การย้อมสีไหม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สีธรรมชาติ และสีสังเคราะห์

การย้อมสีธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่ได้มาจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น เปลือกไม้ ใบไม้ ผล ลำต้น แก่น ต้นไม้ และรากไม้ ซึ่งจะมีกรรมวิธีในการเตรียมน้ำย้อมสี และวิธีการย้อมสีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และส่วนที่นำมาใช้ในการย้อมสี

 

                         

 

ตัวอย่างวัสดุธรรมชาติ เช่น สบู่ เปลือกมะพร้าว ใบข้าว ได้สีสีขาว, มะเกลือ ได้สีดำ, เปลือกงิ้วผา ได้สีแดง สีชมพูอ่อน, ขมิ้น ได้สีเหลือง ดอกอัญชัน ได้สีฟ้า เป็นต้น

การย้อมสีสังเคราะห์ หรือสีเคมี เป็นสีที่มีความบริสุทธิ์ของตัวสีมาก สามารถนำสีเหล่านั้นมาผสมให้ได้สีตามที่ต้องการและปรับระดับความเข้มของสีได้ วิธีการย้อมทำได้ง่าย และสะดวก สีที่ย้อมได้จะมีความสดสวย และมีความทนทานของสีดี