ข้าพเจ้านางสาวเบญจพร เพ็งคำ ประเภทประชาชน ตำบลหนองโบสถ์  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์                   หลักสูตร :HS03-1: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565  ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ดูความก้าวหน้าของปุ๋ยหมักใบไม้และพบปัญหาว่าปุ๋ยใบไม้ยังไม่เปื่อยดีและการย่อยสลายข้างล่างของปุ๋ยยังไม่ได้ที่พอ

   วันอาทิตย์ ที่ 22  สิงหาคม 2565  ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่กลับใบไม้และยังย่อยสลายไม่เต็มที่จึงได้ใช้ พด.1 ผสมกับกากน้ำตาลละลายน้ำรดกองปุ๋ยเพื่อช่วยเร่งการย่อยสลายของปุ๋ยใบไม้ เพื่อช่วยเร่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใชจากการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อรา และแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลส และแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน    

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ประชาชนชาวอำเภอนางรอง และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง” ในพื้นที่ประมาณ1ไร่ ซึ่ง คุณมานพ บุญรอด พร้อมครอบครัวได้บริจาคเป็นสาธารณสมบัติ  ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ฝ่าทุกวิกฤติในยุค World Disruption” โดย นายโจน จันได ผู้ก่อตั้งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ พิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และปิดท้ายด้วยการเสวนาชุมสร้างสรรค์เรื่อง “เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง:ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน?” โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เจ้าคณะตำบลหนองกง พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกอบต.หนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายกอบต.หนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของวนเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ “ช่างดำอิ้นดี้” เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา

 

วันศุกร์ที่  2 กันยายน 2565 เวลา 16.00น.ทางคณะอาจารย์ได้นัดหมายประชุมทาง Google meet เพื่อทางทีมที่ปรึกษาจะได้วิเคราะห์ และวางแผนในการพัฒนาและความคืบหน้าของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ทีม

 

วันอาทิตย์ ที่  4 กันยายน 2565 ทางคณะอาจารย์และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่ บ้านโคกพลวง เพื่อติดตามผลงานอีกครั้งและได้ทำการดูการพัฒนาของปุ๋ยและหมวกจากต้นไหล ซึ่งในการติดตามครั้งนี้ทางคณะกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ทำการกลับหน้าปุ๋ยและได้ใส่ใช้ ภด.1 ผสมกับกากน้ำตาลละลายน้ำรดกองปุ๋ยเพื่อช่วยเร่งการย่อยสลายของปุ๋ยใบไม้อีกครั้ง

และได้ลงพื้นที่บ้านป้าลูกจากเพื่อติดตามผลงานของหมวกแล้วยังได้สาธิตการย้อมสีอีกเพื่อเปรียบเทียบการสีที่ย้อมด้วยสารเคมีซึ่งได้ข้อมูลว่าสีเคมีจะติดเข้มกว่าสีธรรมชาติแต่มีข้อเสียคือ สีจะอยู่ไม่ติดทน ส่วนในด้านสีธรรมชาติจะติดดีหากย้อม 2 ครั้ง จะทำให้สีเงาสวยติดดีและทนกว่าสีเคมี 

วันอังคาร  ที่  7  กันยายน 2565ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่หนองโบสถ์สอบถามกลุ่มผู้นำและคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้นอกสถานที่ประจำตำบลในหัวข้อเรื่องการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองคุณภาพ โดยพลเมืองคุณภาพซึ่งได้สอบถามข้อมูลดังต่อไปนี้

  1. วัน เวลา สถานที่

ภายในตำบลหนองโบสถ์ จะมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ซึ่งประกอบไปด้วย บ้านสระขาม สระประดู๋ หนองทองลิ่ม ลิ่มทอง โคกมะค่า  หนองโบสถ์ หนองยาง หนองโบสถ์พัฒนา โนนศรีสุข โคกพลวง ท่าปูน ไทยทอง หนองตะเคียน หนองกันงา

  1. เจ้าหน้าที่ประจำตำบล

นางสาวฐิติรัตน์  นรัฐกิจ  กรรมการและเลขานุการ

  1. ประเด็นที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล

           3.1 บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส. ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครื่องข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน

  (หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีพลเมืองจำนวนมากจะเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนประชาธิปไตยต้นแบบ ที่ผู้คนมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย เช่น มีความรักสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ใช้เหตุผลบนความแตกต่าง  เคารพสิทธิเสรีภาพ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีวินัยและความรับผิดชอบ ฯลฯ) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตยในตำบลมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง เช่นรวบรวมข้อมูลการเลือกตั้งเช่น สถานที่เลือกตั้ง รายชื่อผู้เคยเป็น กปน. จำนวนผู้มาใช้สิทธิ สถิติบัตรดี บัตรเสีย เรื่องร้องเรียนฯลฯแสวงหาและพัฒนา กปน. มืออาชีพจากเครือข่ายพลเมือง เตรียมพลเมืองสนับสนุนการเลือกตั้ง

3.2 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร

การดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ต้องยึดหลักเกณฑ์ กฎ กติกา ที่เป็นที่ยอมรับในการอยู่ร่วมกัน ในสังคมประชาธิปไตยก็มีหลักการประชาธิปไตยให้ยึดถือปฏิบัติ หลักการ หรือ กฎ กติกา ถือเป็นหลักให้สมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน  จนก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นในสังคม การใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลก็ต้องอยู่ภายใต้กฎ กติกาที่มีอยู่ ตลอดจนไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นหลักจากการที่ได้ลงพื้นที่เข้าไปพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน ได้พบว่าเมื่อมีการประชุมประจำเดือนของแต่ละหมู่บ้าน ประชาชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและยึดถือประชาธิปไตย ดังตัวอย่าง เมื่อมีการเสนอนโยบาล ชาวบ้านจะได้รับการลงประชามติ และเคารพเสียงข้างมาก รับฟังเสียงข้างน้อย

3.3 การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย

การมีส่วนร่วมจะช่วยให้คนที่มีส่วนร่วมมีความรู้สึก รับผิดชอบ มีมโนธรรม และมีความตระหนักในความสามารถของตนเอง ทำให้ประชาชนสามารถ ควบคุมชีวิตของตนเองได้ และจะเป็นคนที่มองสังคมอย่างพินิจพิเคราะห์แล้วริเริ่มเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการที่ตนคิดว่าถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงสังคมก็จะใช้แนวทางที่สร้างสรรค์ เนื่องจากกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการให้ การศึกษาแก่ผู้เข้าร่วม ประชาชนจะได้รับข่าวสารต่าง ๆ และเกิดความเข้าใจในสถานการณ์ ผู้แทนที่ประชาชนต้องการต้องทำให้ประชาชนมีความสุข มีอำนาจรัฐอยู่ในมือก็ต้องทำงานเพื่อประชาชน ความเป็นอยู่ของประชาชนต้องอยู่ดีกินดี ความสัมพันธ์ฉันเกื้อกูลระหว่างจิตใจประชาชนกับผู้ปกครองบ้านเมือง “จะต้องถือจิตใจของประชาชนเป็นจิตใจของตนเอง”

3.4 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย

          การพัฒนาตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการในการดำเนินวิถีชีวิตเป็นปกติอยู่แล้ว เนื่องด้วยสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ในชุมชนเอื้อต่อการประยุกต์ใช้หลักนี้เป็นอย่างมาก  โดยจะเห็นได้จากการประกอบอาชีพการดำเนินงานต่างๆในชุมชน 

  1. ปัญหาอุปสรรคในการลงพื้นที่

ในช่วงของการจัดกิจกรรมลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครั้งนี้ได้มีการนัดหมายกลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มคณะกรรมการซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้มีอุปสรรคในด้านเรื่องโรคระบาดและสภาพอากาศที่ไม่เป็นเอื้ออำนวยจึงทำให้เป็นอุปสรรคในการลงพื้นที่และการจัดมาตรการผ่อนคลายจึงสามารถจัดกิจกรรมได้ แต่ต้องปฏิบัติตามประกาศและระเบียบของทาง ราชการอย่างเคร่งครัด

แนวทางการแก้ไข

  1. เลื่อนเวลาการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม
  2. ดำเนินการตามประกาศและระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด
  3. สวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าร่วมประชุมและการลงชุมชนทุกครั้ง
  4. ข้อเสนอแนะ
  5. ส่งเสริมให้มีจัดกิจกรรมให้ความรู้และความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย
  6. ต้องช่วยประสานงานองค์กรส่วนกลางและองค์กรในจังหวัดให้เข้า มามีส่วนร่วมกับสภาพลเมืองในชุมชนยิ่งขึ้น
  7. การพัฒนาความรู้ให้ประชาธิปไตยให้กับชุมชน

 

วันพฤหัสบดีที่ 15-18 กันยายน พ.ศ. 2565 ทางกลุ่มผู้ปฎิบัติงานได้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้เข้าร่วมกิจกรรม ” ชม ชิม ช้อป แชร์” ในงาน “U2T for BCG BRU FAIR” มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพ จากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนและทางกลุ่มหนองโบสถ์ได้นำสินค้าจากชาวไปขายและนำเสนอผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ท้องตลาด

สรุปผลการปฏิบัติงานครั้งนี้ทางกลุ่มคณะได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง”และยังได้สืบสารวัฒนธรรมการจักรสานของต้นกกไหลนำมาสานเป็นของใช้ตกแต่งได้และยังเรียนรู้การทำปุ๋ยจากใบไม้