โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด
ด้วยเศรษฐกิจ (BCG U2T for BCG)

ข้าพเจ้านางสาวชลลดา ท้าวดี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร :HS25-2 โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ “จ้าวโต้น้อย” ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวชลลดา ท้าวดี ได้ดำเนินงานในระหว่างเดือน กันยายน พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบแนวทางการดำเนินงานจากอาจารย์ประจำโครงการและหัวหน้าโครงการ โดยได้ปฏิบัติและได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์  ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ (BCG U2T)

 

 

เมื่อวันจันทร์ ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2565 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมประชุมทางGoogle Meet เรื่องการออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 15-18 กันยายน 2565 เพื่อนำมาจำหน่ายในงานพิธีซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

 

วันที่ 2 กันยายน 2565ตำบลโคกล่ามได้นัดหมายเพื่อแบ่งหน้าที่งานอย่างชัดเจนโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มประชาชนกับบัณฑิตเพื่อทำรายงานรูปเล่มหัวข้อส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของตำบล ส่วนที่ 5 ผู้ปฏิบัติงานและส่วนที่ 7 การวิเคราะห์ข้อมูล DVD ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบหัวข้อส่วนที่ 4 บทสรุปและข้อเสนอและโครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

 

   

วันที่ 5 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฎิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ECT มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสร้างพลเมืองคุณภาพโดยในการปฏิบัติงานได้ประสานงานกับอาจารย์ประจำศูนย์ กศน.ตำบลโคกล่าม เพื่อขออนุญาตและเข้าพบกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) ณ อบต.โคกล่าม ซึ่งมีกรรมการ (ศส.ปชต.) ที่ร่วมให้ข้อมูลคือ นางวรภรณ์ สะเทือนรัมย์ (หัวหน้า กศน.ตำบล) นางสาวศุภลักษณ์ ฤทธาเจริญกุล (ครูกศน.ตำบล) มีประเด็นสำคัญที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวน 5ใบงานคือ1.บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ(ศส.ปชต.) ที่เป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง 2.การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่มีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยได้แก่ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เช่น การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การออกเสียงเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการหมู่บ้านในด้านต่างๆ  3.การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองชาวบ้านให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกๆครั้ง ลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ต้องการคือมีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ เสียสละ มีความยุติธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี 4. มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำเกษตรในรูปแบบผสมผสานวัตถุประสงค์หลักเพื่อบริโภคที่เหลือนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้ครัวเรือน 5.ระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะรวมกับกรรมการศูนย์เพื่อจัดทำสรุปรายงาน

 

   

วันที่ 8 กันยายน 2565  เข้าร่วมอบรมโครงการพลังชุมชน (Model B2) จังหวัดบุรีรัมย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อยก่อนการอบรมได้มีการตรวจ ATK ทุกคนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาจริงของผู้อบรมภายในห้องจำแนกประเภทธุรกิจ ฝึกกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากท่านอาจารย์มากมาย อาทิเช่น ใช้ความคิด ใส่ใจลงไปในสิ่งที่กำลังทำอยู่อีกสักนิด คนเรามักจะสร้างข้อจำกัดให้ตัวเองก่อนเสมอ กลับไปก่อน โดยที่ไม่ได้เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง ในของชนิดเดียวกัน จะโดดเด่นแตกต่างอยู่ที่การนำเสนอให้เหมาะสมและถูกต้องกับบริบทนั้นๆ ขายอะไร ใครถูกต้องกับบริบทนั้นๆ(ขายอะไร ขายให้ใคร ใครที่ไหน ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่) ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าและตลาดอย่างแท้จริง ความต้องการของลูกค้าและตลาดอย่างแท้จริง (เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงใจ ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น) เอกลักษณ์ของตนเองจะทำให้สินค้าดึงดูดใจลูกค้ามากขึ้น ปัจจุบัน “เรามักจะเป็นผู้ชมที่ดี แต่ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ” (ต้องเริ่มลงมือทำอย่างเป็นระบบ)

วันที่ 11 กันยายน 2565  ทีมงาน U2T และอาจารย์ได้มาประชุม ณ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มโต้น้อย ได้พบปะพูดคุยการไปออกบูธที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทางทีมงานU2T ได้มีการวัดขนาดไซส์เสื้อเพื่อใส่ไปออกบูธและอาจารย์ได้แนะนำการเขียนบทความ และการแปลง C04  เป็นกราฟฟิกลงเพจเพื่อให้เกิดความน่าสนใจสะดุดตาคนเข้ามาดูในเพจ

 

         

 

วันที่14 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและทีมงาน U2T ได้ช่วยกันบรรจุผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำไปจัดจำหน่ายในวันที่15-18 กันยายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์