หลักสูตร : HS09-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน
ข้าพเจ้า นางสาวณัฐชลีพร กริชยาวิสิทธิ์ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิต ณ ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จากกลุ่ม HS09-1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ดำเนินการ เตรียมผลิตภัณฑ์จำหน่าย และสอบถามชาวบ้านร่วมกับ กรรมการ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย ประจำตำบลซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 6 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าพร้อมทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่ ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้คำแนะนำจากเลขาศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย และได้ลงพื้นที่ร่วมกับกรรมการ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย ที่ร่วมให้ข้อมูลคือ 1.นางรัตนา พิมพ์เสนา (กรรมการ/เลขานุการ) 2.นส.ศิรินภา โพธิ์วิเศษ (ผู้ช่วย/กรรมการและเลขานุการ) 3.นายอุดมพรรณ ยางไธสง (กรรมการ) ณ หมู่ที่ 14 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการเก็บข้อมูล ตามใบงานวันที่ 1 คือ บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. ที่เป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
วันที่ 7 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าพร้อมทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ หมู่ที่ 18 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการเก็บข้อมูล ตามใบงานวันที่ 2 คือ การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่มีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้ง การออกเสียงเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการหมู่บ้านในด้านต่างๆ และ
วันที่ 8 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าพร้อมทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ หมู่ที่ 8 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ชาวบ้านให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกๆครั้ง ลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ต้องการคือ มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ เสียสละ มีความยุติธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี
วันที่ 9 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าพร้อมทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ หมู่ที่ 7 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำการเกษตรในรูปแบบผสมผสานวัตถุประสงค์หลักเพื่อบริโภคที่เหลือนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้ครัวเรือน และได้ร่วมกันระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะร่วมกับกรรมการศูนย์ฯเพื่อจัดทำสรุปรายงาน
วันที่ 14 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าพร้อมทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ เพื่อเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อนำจำหน่าย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 ต่อไป
วันที่ 15-18 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าพร้อมทีมผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งหน้าที่กันมาร่วมเฝ้าซุ้มขายผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น.
สรุปผลการดำเนินงาน ได้ติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระเทียมและกล้วย มีการดําเนินงานตามแผนงานและชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและทำให้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์วัถตุดิบที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดรายได้และสามารถนําไปจัดจําหน่ายตามช่องทางต่างๆเช่น วางขาย หน้าร้าน ผ่าน online ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ทำให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนจริง และการลงพื้นที่ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย