โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG and Regional Development)

หลักสูตร: HS06-1 โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ให้สอดคล้องกับ BCG

ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน

ชื่อบทความ: HS06-1การผลิตเครื่องประดับ และพวงกุญแจจากผ้าไหมมัดหมี่ฯให้สอดคล้องกับ BCG

เจ้าของบทความ นางสาวรุ่งตะวัน เสมารัมย์ ประเภทบัณฑิต

                     หลักสูตร : HS06-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

                        ข้าพเจ้า นางสาวรุ่งตะวัน เสมารัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติงานของตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″ เป็นผู้ปฏิบัติงานประจำตำบล ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม ได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พวงกุญแจและเครื่องประดับจากผ้าไหมมัดหมี่ ประจำกลุ่ม ในเดือนกันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานดังนี้

ในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ได้เข้าร่วมกันประชุมผ่านระบบ google meel เพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดอบรมปฏิบัติการผลิตเครื่องประดับ และพวงกุญแจจากผ้าไหมมัดหมี่ฯและเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ปฎิบัติงาน ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้จัดการสรรหาอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำ ไม่ว่าจะเป็นเศษผ้าไหม เส้นไหม หรือตะขอ เป็นต้น

วันที่ 28 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้านางสาวรุ่งตะวัน เสมารัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต  ได้ลงพื้นที่ และเข้าร่วม “อบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตเครื่องประดับ และพวงกุญแจจากผ้าไหมมัดหมี่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Products)”  โดยผู้ที่เข้าร่วมอบรมมีทั้ง อาจารย์จำนวน2ท่านและผู้ปฏิบัติงานจำนวน 8ท่าน แบ่งเป็นบัณฑิต 4 ประชาชนทั่วไป 4 รวมถึงกลุ่มแม่ๆทุกท่านทั้ง3หมู่บ้านได้แก่ หมู่13บ้านชุมทองพัฒนา/หมู่7บ้านหนองขวาง/หมู่9บ้านหนองมะค่าแต้ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่อบรมร่วมกิจกรรมการทำเครื่องประดับและพวงกุญแจจาดเศษผ้าไหมมัดหมี่โดยมีวิทยากร1ท่าน(นางสาวตุลาพร ปัดถา) มาสอนในเรื่องวิธีทำเครื่องประดับและพวงกุญแจจากเศษผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มแม่ๆที่เหลือจากการทอผ้าไหมมัดหมี่นั่นก็คือเศษผ้าไหมและเส้นไหมสามารถนำกลับมาใช้ได้(Recycle)ต่อไปโดยมีความสอดคล้องกับ U2T for BCG

ในวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือ และระดมความคิด เพื่อจะดำเนินการ ทำแผนแผนนำสินค้าออกสู่ตลาดC-05 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1  รายละเอียดสินค้า / บริการ  ชื่อยี่ห้อ (Brand)  ประเภทธุรกิจ

2 สินค้าและราคา ชื่อผลิตภัณฑ์  รายละเอียดสินค้า รูปถ่าย  สถานะผลิตภัณฑ์  ราคาขาย ยอดขายขั้นต่ำต่อเดือน

3 ช่องทางการขาย

4 รายละเอียดความพร้อมของข้อมูลสินค้า

ในวันที่ 5-9 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมประชาธิปไตย ETC week โดยทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลพระครู ร่วมกับกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) ตำบลพระครู เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม มีการพูดคุยพบปะประชาชน ถามไถ่ความเป็นอยู่ของประชาชนและได้ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในตำบล โดยข้าพเจ้าได้ศึกษารายละเอียดจากใบความรู้เพื่อได้มีประเด็นซักถามและแลกเปลี่ยน

  1. ผู้แทนทางการเมืองที่มีความรู้ ความสามารถ
    2. ผู้แทนทางการเมืองที่ทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยความเสียสละ
    3. ผู้แทนทางการเมืองที่เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
    4. ผู้แทนทางการเมืองที่มีการดำเนินชีวิตที่ดี
    5. ผู้แทนทางการเมืองที่มีประวัติ
    6. ผู้แทนทางการเมืองที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
    7. ผู้แทนทางการเมืองที่มีคุณธรรม จริยธรรม
    8. ผู้แทนทางการเมืองที่มีความเข้มแข็งและกล้าหาญ
    9. ผู้แทนทางการเมืองต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้
    10. ผู้แทนทางการเมืองที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย

 

ในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลพระครูได้ช่วยการเตรียมสถานที่จัดบูธเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เนื่องในงานพิธีซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำปีการศึกษา 2560-2562 ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ช่วยกันจัดตกแต่งบูธเพื่อเตรียมวางผลิตภัณฑ์จำหน่าย โดยผลิตภัณฑ์ของตำบลพระครูมีต่างหูและพวงกุญแจจากผ้าไหมมัดหมี่หลากหลายรูปแบบที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านได้ผลิตขึ้นเพื่อมาวางจำหน่ายให้ผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมา หรือคณะอาจารย์ บัณฑิต และผู้ที่มีส่วนร่วมในตำบลอื่นๆได้เลือกซื้อตามความพึงพอใจ โดยจากออกบูทในครั้งนี้สามารถสร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการที่เดินตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการ คณะกรรมการพบว่าผลิตภัณฑ์ในชุมชนมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ราคาสินค้าสามารถจับต้องได้ สินค้ามีความประณีตสวยงาม

 

วันที่ 16 กันยายน 2565 ได้ประชุมหารือ และระดมความคิด เพื่อจะดำเนินการทำรายงานฉบับสมบูรณ์ C-06 เพื่อสรุปโครงการ การทำงานที่ผ่านมาของโครงการ U2T for BCG  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1 ข้อมูลโครงการ

2 รายละเอียดสินค้าและบริการ

3 แผนธุรกิจ

4 การพัฒนาสินค้าและบริการ

5 ผลสำเร็จของการพัฒนาสินค้าและบริการ

6 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

7 ผลกระทบทางสังคม

 

จากการที่ข้าพเจ้าได้ทำงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้เป็นอย่างมาก เพราะทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับชุมชน ข้าพเจ้าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานในครั้งนี้ ไปพัฒนาและต่อยอดในอนาคตของข้าพเจ้าให้ดียิ่งขึ้นในการลงพื้นที่ทุกครั้งสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมก็ให้ความร่วมมือกันอย่างดี ข้าพเจ้าจึงมีความคิดเห็นว่าอยากให้มีโครงการนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อหวังว่าจะเป็นการพัฒนาต่อยอดเรื่องราวของผ้าไหมของตำบลพระครู อำเภอเมือง จังบุรีรัมย์ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

วีดืโอประจำเดือน กันยายน 2565

https://www.youtube.com/watch?v=VS2WHRNH8cA