ดิฉัน นางสาวสมส่วน เรืองศรีชาติ ประเภท ประชาชน ได้เข้าร่วม ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG and Regional Development) ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในโครงการ 3เดือนได้ลงพื้นที่ใน ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03(1)
วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จับมือกลุ่มรักษ์นางรอง สีเขียวยั่งยืน เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และท้องถิ่น จัดงานบุญทอดผ้าป่า-เสวนาชุมชน หารายได้สมทบทุนสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง หวังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ตามรอยพ่อหลวงโดยนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานเปิดงานทอดผ้าป่า-เสวนาชุมชน ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดขึ้น ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์เพื่อต้องการให้ อ.นางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงาน และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคมด้วย โดยมี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้กิจกรรมภายในงานนอกจาก พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีแล้ว ยังมีกิจกรรมการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ฝ่าทุกวิกฤติในยุค World Disruption” โดย นายโจน จันได ผู้ก่อตั้งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ และการเสวนาชุมสร้างสรรค์เรื่อง “เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง:ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน?” โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เจ้าคณะตำบลหนองกง พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายก อบต.หนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายก อบต.หนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของวนเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ “ช่างดำอินดี้” เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา นายอำเภอนางรอง ได้กล่าวว่าการทำบุญทอดผ้าป่าในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการสมทบเงินทุนในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ที่กลุ่ม-รักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้อำเภอนางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานที่สนใจเกี่ยวกับ กสิกรรมธรรมชาติ และเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุข
…ช่วงบ่ายหลังจากถวายผ้าป่าเสร็จทางทีมผู้ปฏิบัติงานร่วมประชุมและนัดหมายถ่ายทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการนำเสนอสื่อ, ออนไลน์ ,TikTok ผลิตภัณฑ์หมวกสานต้นไหล
สถานที่ถ่ายทำ ณ สวนตายาย การถ่ายทำสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และงานออกมาเป็นที่พอใจของทุกคนในทีม
วันที่ 2 กันยายน2565 นัดหมายประชุมออนไลน์ เวลา 15.30น. ทางคณะอาจารย์ได้นัดหมายประชุมทาง Google meet เพื่อให้ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้วิเคราะห์ และวางแผนในการพัฒนาและความคืบหน้าของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ทีมโดย
: ทีมกลุ่มปุ๋ยหมักใบไม้ดูความก้าวหน้าของปุ๋ย ว่าสามารถกรอกใส่บรรจุภัณฑ์ใส่ถุงพร้อมจำหน่ายได้ทันเวลาหรือไม่
: ทีมหมวกให้ดูว่าจะพัฒนาไปในรูปแบบใดได้บ้างและสามารถวางจำหน่ายได้ทันเวลาหรือไม่
วันที่4 กันยายน 2565 ทางคณะอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่ บ้านโคกพลวง หมู่ที่ 9 เพื่อติดตามผลงานและได้ทำการดูความก้าวหน้าของปุ๋ยหมักใบไม้และหมวกจากต้นไหลอีกครั้ง ซึ่งในการติดตามครั้งนี้ทางคณะกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ทำการกลับหน้าปุ๋ยหมักใบไม้และได้นำ ภด.1 ผสมกับกากน้ำตาลละลายน้ำรดกองปุ๋ยหมักให้ทั่วและมีความชื้นพอดีเพื่อช่วยเร่งการย่อยสลายของปุ๋ยใบไม้อีกครั้ง การติดตามผลงานของหมวกจักสานจากต้นไหลนั้น ทางทีมผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่บ้าน นาง ศิริพร ชะมาปะโคน (น้าลูกจาก) ได้สาธิตการย้อมสีธรรมชาติจากแก่นฝางอีกครั้งเพื่อเปรียบเทียบกับสีที่ย้อมด้วยสารเคมีซึ่งได้ข้อมูลว่า สีเคมีจะติดเข้มกว่าสีธรรมชาติแต่มีข้อเสียคือ สีจะอยู่ไม่ติดทน ส่วนในด้านสีธรรมชาติจะติดดีหากย้อม 2 ครั้ง จะทำให้สีเงาสวยและติดดี
วันที่7-9 กันยายน 2565 ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่หนองโบสถ์สอบถามกลุ่มผู้นำและคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้นอกสถานที่ประจำตำบลในหัวข้อเรื่องการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองคุณภาพ โดยพลเมืองคุณภาพซึ่งได้สอบถามข้อมูลดังต่อไปนี้
วันที่ 1 • พบกรรมการศูนย์ฯ ณ ที่ทําการ ศส.ปชต. (กศน.ตําบล) ศึกษาบทบาทหน้าที่และการดําเนินงานของศูนย์ฯ เรียนรู้การขับเคลื่อน ภารกิจ การสร้างเครือข่าย และการทํางานร่วมกับชุมชน
วันที่ 2 ลงพื้นที่เก็บข้อมูล “การเมืองเรื่องใกล้ตัว” การเมืองเรื่องใกล้ตัววิถีประชาธิปไตยในชีวิตประจําวัน
วันที่ 3 ลงพื้นที่เก็บข้อมูล “ผู้แทนที่พึงประสงค์”
การจะเลือกใครเป็นผู้แทนของเรา ควรมีปัจจัยอะไรบ้าง ประชาชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ที่จะมาเป็น ผู้แทนหรือไม่ อย่างไร คุณสมบัติของผู้แทนที่ท่านต้องการมีอะไรบ้าง ท่านอยากให้ผู้แทนทําหน้าที่อะไรบ้าง
วันที่ 4 ลงพื้นที่เก็บข้อมูล “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” การน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดํารงค์ชีวิต
กิจกรรม ECT Week เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการสร้างพลเมืองคุณภาพ รู้จักคน รู้จักพื้นที่ ร่วมกับกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย(ศส.ปชต) โดยได้ทำการลงพื้นที่ทั้งหมด 5 วัน เข้าพบกรรมการศูนย์ฯที่ทำการ ศส.ปชต.ประจำตำบล ศึกษาบทบาทและหน้าที่การดำเนินการของศูนย์ฯ เรียนรู้การขับเคลื่อนภารกิจ การสร้างเครือข่ายและการทำงานร่วมกับชุมชน มีการลงสำรวจชาวบ้านในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองใกล้ตัว โดยกรรมการศูนย์ฯพานำลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านถึงการดำเนินชีวิตประจำวันว่าสอดคล้องกับประชาธิปไตยอย่างไร
- มีการพูดคุยสอบถามว่าชาวบ้านว่าได้มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช่ในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือไม่ ซึ่งหลังจากที่ได้ลงพื้นที่สอบถามชาวบ้านในชุมชนแล้วทางทีมงานและกรรมการศูนย์ฯก็ได้มาช่วยกันระดมความคิดเพื่อทำสรุปรายงานผลจากการที่ได้ลงพื้นที่
การพิชิตภารกิจของ ECT WEEK จะมี 2 ภารกิจย่อย คือใบ Certificate : จากการศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ 20 ตอนจาก application CIVIC EDUCATION บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน แล้วทำแบบทดสอบ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (16 ข้อ) จะได้รับใบ Certificate และรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ : เป็นผลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในสัปดาห์ ECT WEEK เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ส่งแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ให้กับกรรมการและเลขานุการ ศส.ปชต. (ครู กศน.ตำบล) โดยมีหัวข้อในการสำรวจ ดังนี้ 1) บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ 2) การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร 3) การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการมีลักษณะอย่างไร 4) การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร
วันที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 13.00 น. ได้เข้าร่วมการอบรมผ่าน Facebook Live เกี่ยวการเปิดตลาด SHOPEE E-MARKETPLACE สำหรับโครงการ U2T for BCG ในหัวข้อ “สร้างร้าน Shopee ให้ขายดี ติดตลาด ฉับไว” โดย คุณธันย์ธนัช วัชรานุวิทย์ (ธี) ผู้เชี่ยวชาญจาก Shopee (Thailand) โดยให้แต่ละตำบลได้เปิดตลาดใน Shopee เพื่อขายสินค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย
วันที่ 14 กันยายน 2565 สมาชิกทุกคนร่วมมือกันจัดซุ้ม เพื่อเตรียมงาน “ชม ชิม ช้อป แชร์” ในงาน “U2T for BCG BRU FAIR”
วันที่ 15 – 18 กันยายน 2565 สมาชิกทุกคนเข้าร่วมงาน โดยได้นำผลิตภัณฑ์หมวกจักรสานจากต้นไหล และสินค้าอีกหลายรายการเข้าร่วมไปจำหน่ายที่งาน “ชม ชิม ช้อป แชร์” ในงาน “U2T for BCG BRU FAIR” มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพ จากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เลือกซื้อและชมสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ที่บริเวณหน้าอาคาร 12 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในเวลา 9.00 – 18.00 น
สรุปการทำงานในเดือนกันยายนนี้ ได้ทำการเก็บข้อมูล TCD จนครบกำหนด ทำกิจกรรม ECT WEEK ปรึกษาหารือวางแผนกันในการทำผลิตภัณฑ์เพื่อออกสู่ตลาด จัดทำ C05 และ C06 และไปออกบูธที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สำหรับเดือนนี้ได้รับประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา พัฒนาทักษะความสามารถของตนเอง เพิ่มเทคนิคการสร้างยอดขาย ด้วยการขายบนสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น ช็อปปี้ เฟซบุ๊ก และได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและรายได้ให้แก่ชุมชน