ข้าพเจ้า นางสาวสุพัตรา ขำวงศ์ ประเภทบัณฑิต ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานหลักสูตร :HS03-1: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565  ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มปุ๋ย ได้ลงพื้นที่สำรวจปุ๋ยหมักใบไม้ การย่อยของปุ๋ย พบว่า ปุ๋ยหมักยังย่อยสลายได้ไม่เต็มที่ จึงทำการกลับกองปุ๋ย เพื่อให้ย่อยสลายได้เต็มที่

วันอาทิตย์ ที่ 22  สิงหาคม 2565  ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มปุ๋ย ได้ลงพื้นที่สำรวจปุ๋ยหมักใบไม้อีกครั้ง พบว่าปุ๋ยหมักยังย่อยสลายได้ไม่เต็มที่ ทางผู้ปฏิบัติงาน จึงนำ พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุ เหลือใช้จากการเกษตร แปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อ ผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้นผสมกากน้ำตาล และน้ำเปล่า รดปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มการย่อยสลายให้เต็มที่ และทำการกลับกองปุ๋ย

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ทางคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน ได้เดินทาง ณ สามหนองพี่น้องกัน ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จัดโครงการทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี เสวนาชุมชน โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  ในงานนี้ได้รับเกียรติจาก คุณโจน จันได เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในหัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ฝ่าทุกวิกฤติในยุค World Disruption” โดนคุณ โจน จันได ได้บรรยายในหัวข้อ การทำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืนว่า ส่วนตัวตนนิยามความหมายของเกษตรอินทรีย์ว่า การพัฒนาดิน ซึ่งการพัฒนาดินต้องควบคู่ไปกับการปลูกพืชที่หลากหลายไม่ใช้สารเคมี การทำเกษตรต้องเริ่มจากการสร้างอาหารสำหรับตนเองให้มีพออยู่พอกินจึงค่อยพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อหารายได้ การเริ่มต้นเกษตรอินทรีย์ที่ดี ควรรู้จักการบริหารที่ดิน การทำเกษตรโดยแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมประกอบด้วย สระน้ำ สวนผัก สวนผลไม้ นาข้าว ซึ่งการทำนาแบบใหม่ ไม่ควรทำทั้งหมด ให้แบ่งพื้นที่ให้พอเหมาะ (ไม่เกิน 5 ไร่) และพื้นที่ส่วนที่เหลือให้ปรับไปเปลี่ยนเป็นการปลูกป่า เพื่อสร้างระบบนิเวศให้สมบูรณ์และยั่งยืน ปล่อยให้ธรรมชาติทำหน้าที่ช่วยดูแลกันและกัน ลดการใช้สารเคมี นอกจากนี้ โจน จันได ยังเสริมให้เกษตรกรปลูกป่าเพื่อสร้างรายได้ เพราะผืนป่าเป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนลงแรง แถมมีผลผลิตสามารถเก็บได้ทุกฤดูกาลและการปลูกป่าให้ได้ผลดี คืออย่าหมั่นรดน้ำบ่อย แต่ใช้ฟางคุมหน้าดินแทนการรดน้ำ โดยเมื่อฝนตก ฟางจะทำหน้าที่เป็นตัวเก็บกักความชื้นพร้อมดูดซึมแร่ธาตุและเมื่อยามหน้าแล้ง ฟางจะเป็นตัวที่คอยปล่อยสารอาหารและความชื้นให้กับพืช และสุดท้ายนี้ โจน จันได ได้อธิบายแนวคิดระบบโคกหนองนาไว้ว่า “โคก หนอง นา”  เป็นการสร้างระบบใหม่ เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ไม่ว่าจะเกิดน้ำท่วมหรือฝนแล้ง ซึ่งการทำระบบโคกหนองนานั้นไม่มีสูตรการออกแบบตายตัวเกษตรกรต้องสังเกตและทดลองด้วยตนเอง โดยให้ดูบริบทพื้นที่ของตนว่าอนาคตจะสามารถทำอย่างไรให้ผืนดินของเราประกอบไปด้วย แหล่งน้ำ สวน ป่า นาข้าว และการสร้างทั้งหมดเหล่านี้ขึ้นมาจะต้องไม่เดือดร้อนตนเองจึงนับว่าเป็นการทำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืนแท้จริง

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 เวลา 15.30น. ทางคณะอาจารย์ได้นัดหมายกับผู้ปฏิบัติงาน ประชุมผ่านสื่อออนไลน์ Google Meet ร่วมประชุม และสอบถามความคืบหน้าของกลุ่มปุ๋ยหมักใบไม้ และกลุ่มหมวกสาน  โดยอาจารย์ได้สอบถามความคืบหน้า กลุ่มปุ๋ย การย่อยสลายของปุ๋ยหมัก ว่าย่อยสลายได้หรือไม่ การจัดผลิตภัณฑ์ใส่ปุ๋ย ว่าสามารถแพ็คใส่ถุงได้เมื่อไหร่  และทางกลุ่มหมวกสาน ติดตามความคืบหน้ารูปแบบการตกแต่งหมวก

วันอาทิตย์ ที่ 4 กันยายน 2565 ทางคณะอาจารย์ได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงาน ณ บ้านโคกพลวง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อติดตามความคืบหน้าของผลิตภัณฑ์ โดยทางอาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน เดินทางไปสวนป้าไว เพื่อติดตามความคืบหน้าของปุ๋ยใบไม้ พบว่าปุ๋ยยังย่อยสลายได้ไม่เต็มที่ จึงได้ผสม ภด.1 กากน้ำตาล และน้ำเปล่า รดกองปุ๋ยอีกครั้งและทำการกลับกองปุ๋ย จากนั้นเดินทางไปที่บ้านป้าลูกจาก เพื่อติดตามความคืบหน้าของหมวกสาน และได้ปรึกษาการตกแต่ง เพื่อความสวยงาม อีกทั้งยังสาธิตการย้อมสี เพื่อเปรียบเทียบสีที่ย้อมด้วยเคมีและสีจากธรรมชาติอีกด้วย

วันพุธ ที่ 7 กันยายน 2565 ผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มผู้นำ และคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้นอกสถานที่กระจำตำบลหนองโบสถ์ ได้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อเรื่องการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองคุณภาพ โดยพลเมืองคุณภาพซึ่งได้สอบถามข้อมูลในหัวข้อ

– บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส. ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครื่องข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน

การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย หัวใจอยู่ที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เราทุกคนอยากให้การเมืองดี เพราะถ้าการเมืองดี ชีวิตเราจะดีขึ้น และคนที่จะทำให้การเมืองดีขึ้น ก็คือ ตัวเราเอง ซึ่งต่อไปนี้จะมิใช่ประชาชนผู้เฉยชาอีกต่อไป แต่จะต้องเป็นพลเมืองดี วิถีประชาธิปไตย หากพลเมืองไม่มีการรวมพลังกัน ต่างคนต่างทำ คนละทิศละทาง การแก้ปัญหาและการพัฒนาประเทศ การพัฒนาประชาธิปไตยก็จะไม่สำเร็จ

– การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร

หลักจากการที่ได้ลงพื้นที่เข้าไปพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน ได้พบว่าเมื่อมีการประชุมประจำเดือนของแต่ละหมู่บ้าน ประชาชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและยึดถือประชาธิปไตย การดำเนินชีวิตประจำวัน คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าในหมู่บ้านหรือชุมชนมีปัญหาเรื่องใด ก็มีการระดมความคิดเห็นจากสมาชิก มีการสร้างกฎ กติกาที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ร่วมกัน โดยที่ทุกคนมีอิสระในการออกเสียง

– การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย

หลักจากการที่ได้ลงพื้นที่เข้าไปพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน ชาวบ้านต้องการผู้แทนที่ทำให้มีความสุข มีอำนาจรัฐอยู่ในมือก็ต้องทำงานเพื่อประชาชน ความเป็นอยู่ของประชาชนต้องอยู่ดีกินดี ต้องตระหนักถึงทิศทางจิตใจของประชาชน ความติดขัดของประชาชน และความทุกข์ยากของประชาชน

– การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร

การพัฒนาตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการในการดำเนินวิถีชีวิตเป็นปกติอยู่แล้ว เนื่องด้วยสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ในชุมชนเอื้อต่อการประยุกต์ใช้หลักนี้เป็นอย่างมาก  โดยจะเห็นได้จากการประกอบอาชีพการดำเนินงานต่างๆในชุมชน

– ปัญหาอุปสรรคในการลงพื้นที่

ในช่วงของการจัดกิจกรรมลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครั้งนี้ได้มีการนัดหมายกลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มคณะกรรมการซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้มีอุปสรรคในด้านเรื่องโรคระบาดและสภาพอากาศที่ไม่เป็นเอื้ออำนวยจึงทำให้เป็นอุปสรรคในการลงพื้นที่และการจัดมาตรการผ่อนคลายจึงสามารถจัดกิจกรรมได้ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามประกาศและระเบียบของทาง ราชการอย่างเคร่งครัด

แนวทางการแก้ไข

  1. เลื่อนเวลาการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม
  2. ดำเนินการตามประกาศและระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด
  3. สวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าร่วมประชุมและการลงชุมชนทุกครั้ง
  4. ข้อเสนอแนะ
  5. ส่งเสริมให้มีจัดกิจกรรมให้ความรู้และความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย
  6. ต้องช่วยประสานงานองค์กรส่วนกลางและองค์กรในจังหวัดให้เข้า มามีส่วนร่วมกับสภาพลเมืองในชุมชนยิ่งขึ้น
  7. การพัฒนาความรู้ให้ประชาธิปไตยให้กับชุมชน

วันที่ 15-18 กันยายน 2565 ดิฉันและคณะผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมกิจกรรมจัดบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตำบล กิจกรรม ” ชม ชิม ช้อป แชร์” ในงาน “U2T for BCG BRU FAIR” มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพ จากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน

สรุปกิจกรรมการลงพื้นที่ประจำเดือนกันยายน

1.ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น

2.ได้พัฒนาความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้มีความรู้สามารถนำไปต่อยอดได้

3.ได้เรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

4.ได้เรียนรู้การขายระบบออนไลน์