ดิฉัน นางสาวภัทราพร คำดี นักศึกษาจบใหม่ ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (HS18-2 ตำบลบุโพธิ์) สังกัด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″ การปฏิบัติงานในโครงการ
กิจกรรมที่ 1 เนื่องด้วยในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 มีการเข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการเกี่ยวกับเรื่องการลงพื้นที่และการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเดือนสิงหาคม ในการทำงานโดย C-03 แผนการพัฒนาสินค้าและบริการ และ C-04 ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ ต่อมาได้มีการแบ่งกลุ่มงานให้แต่ละกลุ่มซึ่งดิฉันมีสมาชิกดังนี้ 1.นายทรรศพล สีหัวโทน 2.นายเอกบดินทร์ ประคองใจ 3.นางสาวภัทราพร คำดี ได้รับผิดชอบในเรื่องการสร้าง Account ได้แก่ Facebook, Tiktok, Instagram, Twitter
กิจกรรมที่ 2 ในวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ดิฉันได้ลงพื้นที่หมู่บ้านนาศรีนวลหมู่7 เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าอเนกประสงค์ซึ่งได้นำรูปแบบกระเป๋าที่ได้ออกแบบให้แผนกเย็บผ้าโดยมีขนาดที่สามารถบรรจุธนบัตร โทรศัพท์ และสิ่งของอื่นๆได้ แล้วเย็บเข้ากับพวงกุญแจสะดวกต่อการใช้งานและสามารถพกพาได้ง่าย ซึ่งในการทำกระเป๋าอเนกประสงค์ได้มีการคัดเลือกเศษผ้าที่เหลือใช้มาทำกระเป๋าหรือการนำทรัพยากรที่เหลือมาใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กิจกรรมที่ 3 ในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ดิฉันได้ลงพื้นที่หมู่บ้านหนองเจ้าหัวหมู่4 เกี่ยวกับการทำผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด โดยรทำการทดลองใช้เครื่องอัดเม็ดว่าใช้งานได้หรือไม่เพราะเครื่องไม่ได้ใช้งานมานานแล้วและจากนั้นทำการตากแห้งและอัดเม็ดมูลวัวจำนวน 50 กิโลกรัม วิธีในการอัดเม็ดมูลวัวมีขั้นตอนดังนี้ 1.เครื่องอัดเม็ด 2. นำมูลที่ตากแห้งมาใส่ในเครื่องอัด 3.พอได้มูลวัวอัดเม็ดแล้ว แล้วนำมูลวัวมาตากแห้งประมาณ 5-6 ชั่วโมง 4. นำมูลวัวอัดเม็ดที่ตากนำมากรอกใส่ถุงบรรจุภัณฑ์พร้อมออกจำหน่าย
กิจกรรมที่ 4 ในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ดิฉันได้ลงพื้นที่หมู่บ้านหนองเจ้าหัวหมู่4 เกี่ยวกับการทำผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดโดยประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน (N) 1.36% ธาตุฟอสฟอรัส (P) 0.51% ธาตุโพรแตสเซียม (k) 1.71% นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในเรื่องรักษาความชื้นของหน้าดินและบำรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชด้วย และต่อมาได้ทำการกรอกมูลวัวใส่ถุงบรรจุภัณฑ์ที่เราได้ตากแห้งไว้ก่อนหน้านี้ โดยมีอุปกรณ์ดังนี้ 1.มูลัววอัดเม็ดที่ตากแห้งไว้ 2.กระบวยตักมูลวัว 3.ถุงบรรจุภัณฑ์ 4.เครื่องซีน 5.ตราชั่ง 6.สติ๊กเกอร์ เพื่อทำการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จำนวน 50 ถุง
กิจกรรมที่ 5 ในวันที่ 17 สิงหาคม 2565 อาจารย์ประจำโครงการนัดประชุมทางออนไลน์ได้ชี้แจงรายละเอียดงานที่จะจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาพวงกุญแจผ้าไหมอเนกประสงค์ และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลักโควิดเศรษฐกิจ BCG ณ ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาส จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 เกี่ยวกับการจัดหาวิทยากรเพื่อมาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน , การจัดหาสถานที่อบรม , การเตรียมอาหารสำหรับให้ผู้ที่มาอบรม โดยมีผู้มาเข้าอบรมร่วมจำนวน 20 คน