จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาหลายปี ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกชนชั้น จำนวนตัวเลขคนตกงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ประชาชนคนใช้แรงงานต่างพากันทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาบ้านเกิด เพื่อมาเริ่มต้น และหันมาใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม บ้างก็กลับมาทำการเกษตร ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ทำทุกวิถีทางเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตที่อยู่ได้แบบไม่ต้องใช้เสียค่าใช้จ่ายมาก

เราจะเห็นได้ว่า อาชีพที่สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างยั่งยืนในภาวะยุคข้าวยากหมากแพง นี้ คงหนีไม่พ้นอาชีพที่เกี่ยวการเกษตร โดยเฉพาะในสังคมยุคใหม่ ที่เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนแทบทุกอย่างด้วยแล้ว เกษตรกรยุคใหม่จึงไม่ใช่แค่การปลูกพืชเพื่อบริโภคอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ โครงการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่สังคมฐานราก หรือ BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจทั้ง 3 ด้านคือเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circleeconomy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Greeneconomy) ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม การที่ได้มีกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ลงพื้นที่ในชุมชนระดับตำบลเพื่อให้ความรู้และรับฟังความต้องการของชาวบ้านตำบลหนองกะทิง เนื่องจากเดิมจะมีกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชผลทางการเกษตร เช่น ชาใบหม่อน น้ำใบเตย น้ำดอกอัญชัน แต่เนื่องจากเป็นการรวมตัวของชาวบ้าน ซึ่งความรู้ ทักษะ และเครื่องมือที่ใช้ในการแปรรูปยังมีไม่เพียงพอ ความรู้ในเรื่องของการตลาด และรูปแบบของแพ็คเกจผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ซึ่งการที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงไปสัมผัส พูดคุย รับฟัง และรับทราบถึงปัญหาต่างๆ และได้ให้ความรู้ต่างๆ ที่กลุ่มชาวบ้านยังขาดไป รวมถึงการที่จะสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือในการผลิต แปรรูปน้ำสมุนไพร ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมและสร้างความมั่นคงสู่ฐานราก ซึ่งก็คือชาวบ้านได้มีความรู้ และรายได้ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ชากระทิง คือผลิตภัณฑ์ หลักที่จะเป็นตัวเด่นให้กับชาวบ้าน เนื่องจากชื่อของผลิตภัณฑ์ได้บ่งบอกถึงแหล่งที่มา คือ จากกลุ่มชาวบ้าน ต.หนองกะทิง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ทำให้ง่ายต่อการจดจำของผู้บริโภค เป็นอย่างดี