ข้าพเจ้านายสอนราม แหวนแก้ว ประเภทประชาชน ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์  สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ HS02-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม 2565

โมเดลเศรฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG โมเดล เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B ย่อมาจาก Bio Economy คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า C ย่อมาจาก Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G ย่อมาจาก Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืนในการประเมินผลการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจแบบ BCG โมเดลนั้น ต้องทำการประเมินผลทั้งในมิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อดี-ข้อเสียของการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ BCG โมเดล ซึ่งต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการคัดเลือกตัวชี้วัด และการประเมินผลตัวชี้วัดในมิติต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตามการดำเนินธุรกิจ รวมถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มธุรกิจ โดยผลที่ได้จากการดำเนินงานเป็นการนำเสนอแนวทางและรูปแบบการตรวจวัดผลการดำเนินงานระบบเศรษฐกิจแบบ BCG โมเดลที่เหมาะสม นอกจากนี้ การรวบรวมผลการประเมินในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบเป็น BCG index สามารถนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อเข้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ต่อไป(ข้อมูลจากลิงค์เอกสารอ้างอิ้ง)  ซึ่งข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการนี้เพื่อเป็นฟันเฟืองเล็กๆในการต่อยอดการพัฒนาโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏาคม 2565 เวลา 11.00 น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  อาคาร 6 ห้อง 625 โดยมี ดร.ธิติ  ศรีใหญ่   อาจารย์ธนกร   เพชรสินจร และ ผศ.ดร.ศุภธัช  ศรีวิพัฒน์ เป็นผู้รับผิดชอบตำบลหนองกง ได้มอบหมายให้กลุ่มบันฑิตและกลุ่มประชาชน ร่วมกันเสนอความคิดเพื่อนำเสนอโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) ในหัวข้อ C-01 และในหัวข้อ C-02   โดยได้ข้อสรุปร่วมกันในการเสนอโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากตำบลหนองกงคือส่งเสริมการทำกระเป๋า  และพวงกุญแจ  เพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกในชุมชน

วันพุธที่ 6 กรกฏาคม 2565 เวลา 09.30 น. ข้าพเจ้าและกลุ่มประชาชนตำบลหนองกง ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มผู้ผลิต  ผู้ขาย กระเป๋า และพวงกุญแจ ซึ่งเป็นของที่ระลึกภายในตำบลหนองกง  โดยพบว่าผู้ผลิตและผู้ขาย กระเป๋า พวงกุญแจ ของที่ระลึก ที่ผลิตจากผ้าไหม ผ้าด้าย ผ้ายฝ้าย ผ้าขาวม้า รังไหม  มีความต้องการให้มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาส่งเสริมการผลิตให้ทันสมัยมีความสอดคล้องต่อความต้องการของตลาด  ตลอดจนส่งเสริมด้านการตลาด  ให้ประชาชนในชุมชนได้มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จากการทำการเกษตรเพียงอย่างเดียว

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กรกฏาคม 2565 เวลา8.30 น. ข้าพเจ้าและกลุ่มประชาชน รวมถึงกลุ่มบัณฑิตตำบลหนองกง ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นร่วมกิจกรรมจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ  ตัดหญ้า  ปลูกป่า  ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ (โรงเรียนของฉัน)  ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  ร่วมกับแกนนำสามตำบล คือ ตำบลหนองยายพิมพ์  ตำบลหนองกง และตำบลหนองโสน ร่วมกันพัฒนาพื้นที่โรงเรียนให้สะอาดและเพิ่มพื้นที่สีเขียว  สร้างแหล่งอาหารให้กับชุมชน ลดภาวะโลกร้อน สร้างความสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน  ซึ่งต้นไม้ที่ปลูก ประกอบด้วยต้นสักทอง ต้นพะยูง ต้นยางนา  โดยได้รับเกียรติจากนายชาลี  แจ้งรัมย์  ปลัดอาวุโส อำเภอนางรอง  เป็นผู้เปิดงานซึ่งได้ร่วมตัดหญ้าและปลูกป่า พร้อมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

รูปภาพประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

รูปภาพ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน

 

รูปภาพลงพื้นที่กิจกรรมจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ ตัดหญ้า ปลูกป่า โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์

จากที่ข้าพเจ้าและกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ผลิต  ผู้ขาย กระเป๋า และพวงกุญแจ ซึ่งเป็นของที่ระลึกภายในตำบลหนองกง  โดยพบว่าผู้ผลิตและผู้ขาย กระเป๋า พวงกุญแจ ของที่ระลึก  มีความต้องการให้มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาส่งเสริมการผลิตกระเป๋าและพวงกุญแจให้ทันสมัยมีความสอดคล้องต่อความต้องการของตลาด  ตลอดจนส่งเสริมด้านการตลาด  ให้ประชาชนในชุมชนได้มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนสีบไป

เอกสารอ้างอิง:https://www.nstda-tiis.or.th/methodology_developm/bcg-economy/