ข้าพเจ้านายวัติสุพนธ์ ธงทันดี เป็นผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการจากมหาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากฐานให้แก่ ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ในปัจจุบันไข่เค็มเป็นอาหารที่มีความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากในชุมชนตำบลอิสาณ มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งและมีสมุนไพรที่ปลูกไว้ในครัวเรือนอยู่แล้ว จึงมีการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่เค็มใหม่ขึ้นมา เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และตอบรับกับตลาดในยุคเศรษฐกิจในปัจจุบัน ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานจึงได้ลงความเห็นว่าจะผลิตไข่เค็มแฟนซีขึ้น ซึ่งเป็นไข่เค็มที่ผลิตจากสมุนไพรต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน โดยมีการใช้หลักการของระบบ BCG เข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบองค์รวม ในการพัฒนาสูตรเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยหลักการ Bio Economy เป็นการเพิ่มมูลละค่าของผลิตภัณฑ์ของชุมชน และเป็นทางเลือกใหม่ๆ สำหรับผู้บริโภค ซึ่งทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลอิสาณ จะมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชนด้วยหลักการ Green Economy เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565
     ช่วงเช้า ได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงาน U2T FOR BCG ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีอาจารย์ภูริสา วัชรเรนทร์วงศ์ และอาจารย์เฉลิมเกียรติ เย็นเพชร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลอิสาณ

ช่วงบ่าย ข้าพเจ้าได้เข้าพบกับนางรัชนี บุราณสุข ผู้ใหญ่บ้านโคกหัวช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำการสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โดยข้าพเจ้าและทีมผู้ปฎิบัติงานเห็นว่าทางกลุ่มสตรีบ้านโคกหัวช้างนั้นมีสูตรไข่เค็มเพียงแค่สูตรเดียว คือไข่เค็มใบเตย ซึ่งอาจจะไม่สนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลอิสาณ จึงลงความเห็นว่าควรคิดสูตรไข่เค็มเพิ่มอีกหลายๆ สูตร เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค และได้เริ่มคิดค้นสูตรไข่เค็มพร้อมทำการทดลองสูตรไข่เค็มขึ้น เช่น ไข่เค็มจากดอกกระเจี๊ยบ ไข่เค็มจากขมิ้น ไข่เค็มจากดอกอัญชัญ เป็นต้น ทั้งนี้หากสูตรไข่เค็มไหนสามารถใช้ได้จริง ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลอิสาณ จะนำสูตรไข่เค็มนั้นมาแนะนำให้กลุ่มสตรีบ้านโคกหัวช้างได้พัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ไข่เค็มใบเตยในลำดับต่อไป

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T For BCG ประจำตำบลอิสาณ ได้รวมตัวกันเพื่อทำการทดลองผลิตไข่เค็มจากสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น จากดอกอัญชัญ จากขมิ้น จากดอกกระเจี๊ยบ ฯลฯ เป็นต้น

   

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T For BCG ประจำตำบลอิสาณ ได้รวมตัวกันเพื่อวางแนวทางและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. การกำหนดราคาขาย
2. การเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์
3. การเลือกสมุนไพรที่จะใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
4. การโฆษณาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จัก

วันที่ 18 กรกฎาคม 2565
     ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T For BCG ประจำตำบลอิสาณ ได้รวมตัวกันเพื่อประชุมหารือในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ โดยจะมีวิทยากรที่เชี่ยวชาญในการผลิตสบู่มาสอนข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T For BCG ตำบลอิสาณ ถึงวิธีการและขั้นตอนต่างๆ ให้เกิดความถูกต้องตามหลักการวิชาการ
จากการที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ และทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่เค็มจากสมุนไพรที่มีในชุมชน ทำให้ข้าพเจ้าเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังทำให้ข้าพเจ้าเล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในชุมชนสามารถนำมาพัฒนาและต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้านั้นๆ ได้