ข้าพเจ้า นางสาวเบญจพร เพ็งคำ ประเภทประชาชน ตำบลหนองโบสถ์  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์   หลักสูตร :HS03-1: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

       วันจันทร์ ที่ 25 กรกฎาคม  2565  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ประชุมชี้แจงและมอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยออกเป็น 2 กลุ่มละ 4 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มบัณฑิต 2 คน กลุ่มประชาชน 2 คน และได้แบ่งตามหัวข้อคือกลุ่ม การจักรสานหมวก และกลุ่มปุ๋ยโดยที่ข้าพเจ้าได้รับเป็น กลุ่มปุ๋ยหมักใบไม้ ทางคณะอาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาเพิ่มเติมดังนี้

1.ความเป็นมาของการจัดทำผลิตภัณฑ์  ถ้ายังไม่ผลิต อยากทำผลิตภัณฑ์นี้เพราะอะไร

2.วัตถุดิบในการจัดทำ ประกอบไม่ด้วยอะไรบ้าง   ราคาตันทุนเท่าไร  จำหน่ายที่ไหน  จำหน่ายราคาเท่าไร

3.มีกระบวนการในการผลิตอย่างไร

4.สมาชิกกลุ่มมีใครบ้าง

5.สิ่งที่กลุ่มต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คืออะไรบ้าง เขียนเป็นประเด็น แล้วอธิบายเพิ่มเติม

 

วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม 2565   อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ประชุมชี้แจงและได้ตามงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้นำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงาน

 

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ประชุมชี้แจงและได้ตามงานที่ได้รับมอบหมายและได้รายงานถึงความก้าวหน้าของกลุ่มที่ได้รับผิดชอบและทางกลุ่มดิฉันได้ลงพื้นที่ สวนป้าไว หรือ คุณ ทองม้วน รังพงษ์ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับป่าไม้ซึ่งได้ตรงกับเป้าหมายที่ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่และได้ไปสวนป่า ปาไว ซึ่งเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและได้ตรงกับเป้าหมายทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่จะพัฒนาเกี่ยวกับปุ๋ยหมักใบไม้เพราะชุมชนบ้านโคกพลวงมีต้นไม้ที่หลายหลายที่อุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติทางคณะผู้จัดโครงการจึงมองเห็นความสำคัญของวัสดุธรรมชาติที่เหลือใช้ และได้ปรึกษาร่วมกันในทีมว่าจะทำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักใบไม้ ในส่วนปุ๋ยหมักใบไม้นั้นได้สอดคล้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญในชุมชนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการนำนวัตกรรมการใช้ทรัพย์กรฐานชีวภาพ คือเป็นผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงก่อให้เกิดความก้าวหน้าและนวัตกรรมในมิติใหม่ๆเพื่อเสริมสร้างรายได้และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน  และยังเป็นโครงการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริขอพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร คือ โครงการ โครงการ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง   การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ…พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ดำเนินการในหลายส่วนราชการ ทั้งกรมป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่ง คือ การปลูกป่าใช้สอย โดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้างและหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์ และสะเดา

แปลความสรุปอย่างเข้าใจง่าย ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ

พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย

พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร

พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน, และไม้ไผ่ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 12  สิงหาคม 65  ทางคณะอาจารย์และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่ บ้านโคกพลวง สวนป้าไว เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติในการทำปุ๋ยหมักครั้งนี้ ในการทำปุ๋ยหมักครั้งนี้ทางกลุ่มคณะผู้ปฏิบัติงานได้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ใบไม้ มูลสัตว์ แกลบดำ แกลบ ขุ่ยมะพร้าว  หัวเชื้อ น้ำหมัก กากน้ำตาล เพื่อที่จะได้ลงปฏิบัติในครั้งนี้ต้องขอขอบคุณชาวบ้านโคกพลวงที่ได้มาช่วยและลงมือทำปุ๋ยหมักกับกลุ่มผู้ปฏิบัติและได้มีวิธีทำดังนี้

คลุกเคล้าอินทรียวัตถุดิบกับมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกมาผสมเค้าให้เข้ากัน

โรยแกลบ (และปุ๋ยน้ำผสมน้ำ (1/200)  คลุกเคล้าให้เข้ากัน แค่พอชื้นๆไม่ต้องแฉะเทกากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ช้อนแกง ลงในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน

นำน้ำที่ผสมที่เข้ากันแล้ว มาเทลงในกองปุ๋ยให้ทั่ว ๆ คนไปมาให้เข้ากัน ซึ่งต้องกะเกณฑ์ให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่าย ๆ คือ ถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน แบบนี้ถือว่าใช้ได้

ปิดคลุมทิ้งไว้ 3 สัปดาห์

กลับกองปุ๋ย ทำ 3 ครั้ง

หากมีที่ก็ให้กองปุ๋ยทิ้งไว้โดยให้มีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือหากไม่มีที่ก็ให้ตักปุ๋ยที่ผสมแล้วลงในกระสอบ ทิ้งไว้ 15 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้

 

ข้อเสนอแนะ

ธาตุอาหารจากปุ๋ยใบไม้
Si ซิลิกา ใบไผ่มีสารซิลิกาอยู่ในระดับสูงซึ่งสูงที่สุด ที่สามารถพบได้ในแหล่งพืชส่วนใหญ่ การศึกษาพบว่าปริมาณซิลิกาที่เพิ่มขึ้นบนดินทำให้เกิดผลเป็นด่าง นั่นหมายความว่าซิลิกาสามารถลดความเข้มข้นของโลหะหนักบนดินได้ นี่เป็นสิ่งที่ดีเนื่องจากช่วยให้พืชดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น

ซิลิกามีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร

> ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อความแห้งแล้งของพืช

> ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์แสงและปริมาณคลอโรฟิลล์

> ช่วยเพิ่มความทนทานต่อเกลือและโลหะหนัก

> เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืช

การเพิ่มธาตุอาหารเสริมจากมูลสัตว์

1.มูลโค

ปุ๋ยจากขี้วัวจะมีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงใบของพืช สำหรับผักต่าง ๆ ที่เราจะทานใบเช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักหอม ผักชี ฯลฯ จึงเหมาะที่จะนำขี้วัวไปใส่เพื่อการบำรุงใบโดยเฉพาะเหตุผลที่ปุ๋ยขี้วัวเหมาะสำหรับพืชกินใบก็เพราะว่ามีมีสัดส่วนของไนโตรเจน (N) ที่เยอะ ช่วยบำรุง เร่งเขียว เร่งใบ

การเพิ่มธาตุอาหารเสริมจากมูลสัตว์

2.มูลหมูคือ ปุ๋ยที่ได้จากขี้หมูจะมีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงราก หัวของพืช เช่น มันสำปะหลัง มันแกว แครอท มันฝรั่ง ขิง ข่า กระชาย เป็นต้น เหตุผลที่ปุ๋ยจากขี้หมูช่วยบำรุงหัวของพืชก็เพราะว่ามีธาตุอาหารหลักอย่างโพแทสเซียม (K) อยู่มากนั่นเอง                      3.มูลไก่ปุ๋ยขี้ไก่มีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงผลของพืช เช่น ผลไม้ต่าง ๆ มะม่วง มะกรูด มะนาว มะพร้าว ส้มโอ แตงโม ฯลฯ หากปลูกพืชกินลูก จึงเหมาะที่จะเอาปุ๋ยขี้ไก่ไปใส่ส่วนเหตุผลที่ขี้ไก่เหมาะกับพืชกินผลเพราะมีสัดส่วนของฟอสฟอรัส (P) อยู่เยอะ บำรุงดอก เร่งดอก เร่งผล นั่นเอง

วันเสาร์ที่13 สิงหาคม 65 ทางคณะอาจารย์และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่บ้านโคกพลวงเพื่อสาธิตวิธีการย้อมสีของต้นไหล

ขั้นตอนการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ

ขั้นตอนการย้อมสีชมพู ด้วยแก่นฝาง

  1. เตรียมน้ำอุ่นและน้ำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ด
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 500 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่าง

ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 4 ช้อนโต๊ะ

  1. นำต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ (60-70 องศา)

เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ

  1. เตรียมสารละลายแทนนิน (ใช้กาแฟ) ในน้ำร้อน นำต้นไหลในข้อ 3 ลงแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด เหมือนข้อ 2 (อีกหม้อ)
  3. นำต้นไหลในข้อ 4 ลงแช่อีก 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  4. ต้มแก่นฝาง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สี่ธรรมชาติออก
  5. นำน้ำสีฝางต้มให้เดือด (70 ( เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 6 ลงต้มเป็นเวลา 1ชั่วโมง (ถ้าต้องการเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลงไป 1ช้อนโต๊ะ)นำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง  

ขั้นตอนการย้อมสีเหลืองน้ำตาล ด้วยเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด

  1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ
  3. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ (70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำเส้นกกขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  4. ต้มพืชให้เกิดสี เช่น แก่นขนุน 8 กก. เหง้ากล้วย 10 กก. เปลือกมะหาด 8 กก. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
  5. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม

เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลงไป 1 ช้อนโต๊ะ หรือแช่น้ำโคลน

  1. น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

ขั้นตอนการย้อมสีเขียวขี้ม้า ด้วยใบขี้เหล็ก

  1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ

ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ

  1. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ

(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ

  1. ต้มใบขี้เหล็กให้เกิดสี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
  2. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม

เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมจุนสีลงไป 1 ช้อนโต๊ะ

6.น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

สรุปในการลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้เรียนรู้ถึงการทำปุ๋ยหมักและการย้อมสีของต้นไหลแล้วยังได้ชาวบ้านที่มาร่วมมือในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ผ่านไปด้วยดี