โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด
ด้วยเศรษฐกิจBCGตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันนางสาวศิริลักษณ์ ไชยสน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 25 กรกฎาคม อาจารย์ประจำโครงการได้แจ้งภารกิจงานที่ทุกคนจะต้องร่วมกันทำ จึงได้มีการแบ่งทีม โดยแยกทีมเพื่อให้หาข้อมูลและหารือร่วมกันออกเป็น 2 ทีม โดยในแต่ละทีม ต้องมีผู้รู้ในด้านนั้นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการศึกษาและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้แน่นขึ้นและกำหนดให้นำมาเสนอเป็นวาระการประชุมในวันที่ 1 สิงหาคม 65 เพื่อที่ทางทีมที่ปรึกษาจะได้วิเคราะห์และวางแผนในการพัฒนาต่อไปดังนี้จึงแจ้งให้แต่ละทีมศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ถึงความเป็นมาของการจัดทำผลิตภัณฑ์ ศึกษาถึงวัตถุดิบในการจัดทำ มีกระบวนการในการผลิตอย่างไร สมาชิกในแต่ละทีมที่ศึกษาผลิตภัณฑ์นั้นๆโดยเฉพาะมีใครบ้าง สิ่งที่ทีมต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์คืออะไร ให้ยกมาเป็นประเด็นแล้วนำมาอธิบายเพิ่มเติมในวันประชุม โดยต้องนำประเด็นที่ผู้พัฒนาต้องการพัฒนามาหาแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไร มีวิธีการและมีงบประมาณที่คาดว่าจะใช้อย่างไรบ้าง ส่วนการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงก็ยังต้องร่วมด้วยกันเป็นทีมใหญ่เช่นเดิม
ในวันที่ 30 กรกฎาคม มีการแจ้งให้เข้าร่วมการประชุมกับทางมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการตอบปัญหาการใช้งาน TCD เบื้องต้น สำหรับผู้ปฏิบัติงานในแต่ละตำบลโดย จำกัดตัวแทนตำบลละ 2 ท่าน ทางตำบลหนองโบสถ์ได้ส่งตัวแทนเป็นบัณฑิต 1ท่าน คือ นางสาวบุหลัน จันทร์สุขและประชาชน 1 ท่าน คือ นางสาวสมส่วน เรืองศรีชาติ เข้าร่วมประชุมเป็นที่เรียบร้อยวันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม 2565
ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทีมงานได้เลือกพัฒนา 2 รายการ ได้แก่ 1. หมวกสานจากต้นไหล 2. ปุ๋ยหมักใบไม้
โดยได้พูดคุยถึงประเด็นการพัฒนา ดังนี้
1. ความเป็นมาของการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา
2. วัตถุดิบในการจัดทำ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  ราคาต้นทุนเท่าไร จำหน่ายที่ไหนจำหน่ายราคาเท่าไร
3. มีกระบวนการในการผลิตอย่างไร
4. สิ่งที่ทีมงานต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คืออะไรบ้าง จะพัฒนาออกมาในรูปแบบไหน
5. นำประเด็นที่ผู้พัฒนาต้องการพัฒนามาหาแนวทาง โดยการหาแนวทางในการพัฒนา ว่าจะดำเนินการอย่างไร
พร้อมทั้งหาวิธีการ และงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ มีอะไรบ้าง ราคาเท่าไร
6. อาจารย์ให้สมาชิกในทีมแบ่งกลุ่มกันเพื่อแยกกันไปศึกษาข้อมูลของแต่ละผลิตภัณฑ์เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน และดิฉันได้อยู่ในกลุ่มปุ๋ยหมักใบไม้

วันพฤหัสบดี ที่ 4 สิงหาคม 2565
ลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากการประชุมวางแผนการทำปุ๋ยหมักใบไม้  ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำปุ๋ยใบไม้และลงสำรวจใบไม้ว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใดและมีปริมาณพอต่อการทำปุ๋ยใบไม้หมักหรือไม่เมื่อลงพื้นที่สำรวจพบว่าใบไม้มีปริมาณที่เพียงพอต่อการทำปุ๋ยหมักใบไม้ทางกลุ่มจึงได้เก็บรวบรวมใบไม้ไว้เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการทำปุ๋ยหมักใบไม้

วันอาทิตย์ ที่ 7 สิงหาคม 2565
ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ครั้งที่ 2 เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ตามที่อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มให้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อมูลที่ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมดังนี้
1.วัสดุที่จะนำมาใช้ในการทำปุ๋ยหมัก สามารถหาได้ภายในชุมชนหรือไม่ หากไม่มีจะมีการจัดซื้อได้จากที่ใด
2.รบกวนสอบถามผู้ผลิตปุ๋ยด้วยว่า ต้องการทำปุ๋ยหมักแบบกระสอบใหญ่ที่ใช้ในพื้นที่เกษตร หรือต้องการทำปุ๋ยเป็นถุงเล็ก เพื่อจำหน่ายเป็นแบบปลีกสำหรับไม้ดอก ไม้ประดับ เพราะขนาดถุงที่บรรจุปุ๋ยมีขนาดที่ต่างกัน
3. ค้นคว้าสรรพคุณของใบไม้ที่จะนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มสรรพคุณของธาตุอาหารของปุ๋ย
4.การคำนวนต้นทุนของปุ๋ย รวมทั้งวัสดุที่ใส่เพิ่มกับใบไม้ ว่ามีต้นทุนเท่าไร และจะจำหน่ายในราคาเท่าไร
วันพุธ ที่ 10 สิงหาคม 2565
ประชุมออนไลน์กับเพื่อนในทีมและอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ เพื่อนัดหมายลงพื้นที่ไปทำปุ๋ยหมักใบไม้ และ ย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ  และเสนอรายการการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาทำปุ๋ยหมักใบไม้ และการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ

วันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม 2565
ทีมงานลงพื้นที่ทำปุ๋ยหมักใบไม้ร่วมกันกับชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพลวง โดยมีวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทำปุ๋ยหมักใบไม้ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักใบไม้
1. แกลบดำ 45 กิโลกรัม
2. แกลบ 6 กิโลกรัม
3. ขุยมะพร้าว 9 กิโลกรัม
4. ขี้หมู 1 ถุง
5. ขี้วัว 1 ถุง
6. ขี้ไก่1ถุง
7. หัวเชื้อจุลทรีย์ (EM)
8. กากน้ำตาล
9. ถุงขนาด 12*20 ซ.ม สีขาว
10. ผ้าคลุม 36 เมตร
11. เครื่องซีนถุง

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักใบไม้
1.คลุกเคล้าอินทรียวัตถุดิบกับมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกมาผสมให้เข้ากันโรยรำ (และปุ๋ยน้ำผสมน้ำ (1/200) ส่วน  คลุกเคล้าให้เข้ากัน แค่พอชื้น ไม่ต้องแฉะ เทกากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ช้อนแกง ลงในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน
2.นำน้ำที่ผสมที่เข้ากันแล้ว มาเทลงในกองปุ๋ยให้ทั่ว  คนไปมาให้เข้ากัน ซึ่งต้องกะประมาณให้มีความชื้น
ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่าย ๆ คือ ถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน แบบนี้ถือว่าใช้ได้
3.ปิดคลุมปุ๋ยทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์
4.กลับกองปุ๋ย โดยทำจำนวน 3 ครั้ง หากมีที่ให้กองปุ๋ย ควรทิ้งไว้โดยให้มีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือหากไม่มีที่ก็ให้ตักปุ๋ยที่ผสมแล้วลงในกระสอบ ทิ้งไว้ 15 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้

เป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.พัฒนาปุ๋ยหมักใบไม้ให้มีมูลค่าเพิ่ม
2.พัฒนาสูตรของปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพและเหมาะสมกับสภาพดินทุกชนิด ในการนำไปปลูกพืชผักสวนครัวและไม้ประดับ
3.เพิ่มเติมความรู้ความสามารถจากนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับคนในชุมชน
4.ประชาชนในพื้นได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพและราคาประหยัด
วันเสาร์ ที่ 13 สิงหาคม 2565
ทีมงานลงพื้นที่ย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ ร่วมกันกับชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพลวง โดยสีที่จะย้อมมีสีชมพูจากแก่นฝาง สีเขียวขี้ม้าจากใบขี้เหล็ก  สีเหลืองน้ำตาลจากเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด ซึ่งพืชทั้งสามชนิดนี้สามารถหาได้ภายในชุมชนตำบลหนองโบสถ์    ซึ่งมีวัสดุอุปกรณ์และวิธีย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์ในการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ
1. สารส้ม
2. คอปเปอร์ซัลเฟต ชนิดเกล็ดผง  2 กิโลกรัม
3. กรดน้ำส้ม 2 กิโลกรัม
4. เกลือ 3 โหล
5. กาแฟ ( 400 กรัม )
6. เบกกิ้งโซดาทำขนม ห่อใหญ่

ขั้นตอนการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ
ขั้นตอนการย้อมสีชมพู ด้วยแก่นฝาง
1. เตรียมน้ำอุ่นและน้ำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ด
2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 500 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่าง
ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 4 ช้อนโต๊ะ
3. นำต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ (60-70 องศา)
เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
4. เตรียมสารละลายแทนนิน (ใช้กาแฟ) ในน้ำร้อน นำต้นไหลในข้อ 3 ลงแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
5. เตรียมสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด เหมือนข้อ 2 (อีกหม้อ)
6. นำต้นไหลในข้อ 4 ลงแช่อีก 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
7. ต้มแก่นฝาง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สี่ธรรมชาติออก
8. นำน้ำสีฝางต้มให้เดือด (70 ( เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 6 ลงต้มเป็นเวลา 1ชั่วโมง (ถ้าต้องการ
เพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลงไป 1ช้อนโต๊ะ)
9. นำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

 

อ้างอิง
http://u2t.bru.ac.th/idtech/8-julepon/
ขั้นตอนการย้อมสีเหลืองน้ำตาล ด้วยเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด
1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ
ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ
3. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ
(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำเส้นกกขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
4. ต้มพืชให้เกิดสี เช่น แก่นขนุน 8 กก. เหง้ากล้วย 10 กก. เปลือกมะหาด 8 กก. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตัก
กากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
5. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม
เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลง
ไป 1 ช้อนโต๊ะ หรือแช่น้ำโคลน
6. น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

อ้างอิง
http://u2t.bru.ac.th/management/10-wachiraporn/

ขั้นตอนการย้อมสีเขียวขี้ม้า ด้วยใบขี้เหล็ก
1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ
ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ
3. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ
(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
4. ต้มใบขี้เหล็กให้เกิดสี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
5. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม
เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมจุนสีลงไป 1 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง
อ้างอิง

ขี้เหล็กบ้าน

ดังนั้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในลงพื้นทีประจำเดือนสิงหาคม
เพื่อในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพลวงที่ได้ร่วมมือเป็นอย่างดีทำให้งานราบรื่นเสร็จภายในเวลาและเพื่อร่วมทีมให้ความสามัคคีในกลุ่มช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาต่างๆให้ผ่านไปได้จนสำเร็จลุลวงไปตามเป้าหมาย