ข้าพเจ้า นางสาวสุพัตรา ขำวงศ์ ประเภทบัณฑิต ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานหลักสูตร :HS03-1: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

ในวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้แจ้งทางคณะผู้ปฏิบัติงานให้แบ่งทีมออกเป็น 2ทีม ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ โดย 1 ทีม จะมีสมาชิกในทีม บัณฑิต 2 คน และประชาชน 2 คน และแจ้งข้อมูลรายชื่อส่งทางอาจารย์ โดยการแบ่งทีมในครั้งนี้เพื่อให้คณะผู้ปฏิบัติงานศึกษา

1.ความเป็นมาของการจัดทำผลิตภัณฑ์  ถ้ายังไม่ผลิต อยากทำผลิตภัณฑ์นี้เพราะอะไร

2.วัตถุดิบในการจัดทำ ประกอบไม่ด้วยอะไรบ้าง   ราคาตันทุนเท่าไร  จำหน่ายที่ไหน  จำหน่ายราคาเท่าไร

3.มีกระบวนการในการผลิตอย่างไร

4.สมาชิกกลุ่มมีใครบ้าง

5.สิ่งที่กลุ่มต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คืออะไรบ้าง เขียนเป็นประเด็น แล้วอธิบายเพิ่มเติม

ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางชุมชน การต่อยอดผลิตภัณฑ์ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งทีมผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 ทีมในการดูแลและจัดทำผลิตภัณฑ์ ทีมแรกเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้ง และทีมที่สองการทำหมวกจากต้นไหล นำเสนอแนวทางการทำผลิตภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำ ขั้นตอนวิธีการทำ และให้แต่ละทีมลงพื้นที่สำรวจว่าวัตถุดิบในการจัดทำผลิตภัณฑ์ สามารถหาได้ภายในตำบล และเพียงพอหรือไม่

วันที่ 7 สิงหาคม 2565  อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet อีกครั้งเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนำเสนอความก้าวหน้าที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งผู้ปฏิบัติทั้งสองกลุ่ม ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล และสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม และได้นำเสนอความก้าวหน้าในการหาข้อมูลเพิ่มเติม

วันที่ 10 สิงหาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อนัดหมายการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม และให้แต่ละกลุ่มจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ภายในชุมชน หรือภายในตำบล เพื่อเกิดการใช้จ่ายและช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย

วันที่ 11 สิงหาคม 2565 ดิฉันและสมาชิกในกลุ่มปุ๋ยหมักจากใบไม้ได้ลงพื้นที่จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยมูลวัว ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยมูลหมู แกลบดำ แกลบ น้ำหมัก EM กากน้ำตาล พลาสติกคลุมปุ๋ย และได้กวาดใบไม้จัดเตรียมไว้ หลังจากนั้นได้ประสานกับทางผู้นำชุมชนหมู่บ้านโคกพลวงและป้าไว เจ้าของสวน ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักจากใบไม้ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565

วันที่ 12 สิงหาคม 2565  อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้นัดหมาย ณ สวนป้าไว บ้านโคกพลวง หมู่9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งผู้นำหมู่บ้านโคกพลวง มาร่วมทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางชุมชน และการต่อยอดผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้และสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน การนำความรู้และนวัตกรรม มาช่วยพัฒนาต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางเกษตรให้เป็นสินค้า

วันที่ 13 สิงหาคม 2565  อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานร่วมกับชาวบ้านและผู้นำชุมชน บ้านโคกพลวง หมู่9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติซึ่งสีชมพูได้จากแก่นฝาง สีเขียวขี้ม้าได้จากใบขี้เหล็ก สีเหลืองน้ำตาลได้จากเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมมะหาด โดยการย้อมสีต้นไหลจากสีธรรมชาติในครั้งนี้ได้มีอาจารย์ ซึ่งท่านเชี่ยวชาญด้านเคมี มาช่วยให้ความรู้ในเรื่องการย้อมสีแก่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงชาวบ้านและผู้นำชุมชนอีกด้วย

ขั้นตอนการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ

– ขั้นตอนการย้อมสีชมพู ด้วยแก่นฝาง

  1. เตรียมน้ำอุ่นและน้ำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ด
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 500 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบ็คกิ้งโซดาหรือผงฟู) 4 ช้อนโต๊ะ
  3. นำต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ (60-70 องศา) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  4. เตรียมสารละลายแทนนิน (ใช้กาแฟ) ในน้ำร้อน นำต้นไหลในข้อ 3 ลงแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  5. เตรียมสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด เหมือนข้อ 2 (อีกหม้อ)
  6. นำต้นไหลในข้อ 4 ลงแช่อีก 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  7. ต้มแก่นฝาง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สี่ธรรมชาติออก
  8. นำน้ำสีฝางต้มให้เดือด (70 ( เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 6 ลงต้มเป็นเวลา 1ชั่วโมง (ถ้าต้องการเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลงไป 1ช้อนโต๊ะ)
  9. นำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

อ้างอิง

http://u2t.bru.ac.th/idtech/8-julepon/

 

ขั้นตอนการย้อมสีเหลืองน้ำตาล ด้วยเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด

  1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ

ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ

  1. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ

(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำเส้นกกขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ

  1. ต้มพืชให้เกิดสี เช่น แก่นขนุน 8 กก. เหง้ากล้วย 10 กก. เปลือกมะหาด 8 กก. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตัก

กากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)

  1. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม

เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลง

ไป 1 ช้อนโต๊ะ หรือแช่น้ำโคลน

  1. น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

อ้างอิง    http://u2t.bru.ac.th/management/10-wachiraporn/

 

ขั้นตอนการย้อมสีเขียวขี้ม้า ด้วยใบขี้เหล็ก

  1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ

ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ

  1. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ

(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ

  1. ต้มใบขี้เหล็กให้เกิดสี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
  2. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม

เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมจุนสีลงไป 1 ช้อนโต๊ะ

  1. น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้

  1. ได้เรียนรู้ พัฒนา และต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชน

2.ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม สามัคคี และช่วยเหลือกัน

3.ได้มีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก และย้อมสีจากธรรมชาติ สามารถนำไปใช้ และต่อยอดได้

4.ได้พูดคุย พบปะ และแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านทำให้ได้ความรู้ใหม่ขึ้น

แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือน กันยายน คณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ต.หนองโบสถ์ มีแผนการดังนี้

1.ประชุมวางแผนการจัดทำ ผลิตภัณฑ์ การทำหมวก , การทำปุ๋ยหมักใบไม้

2.ทำเพจสื่อสารออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายข่าวสารและขายสินค้าของตำบล

3.ผลิตภัณฑ์ต้องสำเร็จพร้อมจำหน่ายออกสู่ตลาด

4.จัดอบรมเรื่องการสร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชน

5.รายงานฉบับสมบูรณ์ ตามแบบฟอร์ม C05 C06ให้เสร็จเรียบร้อย