HS16-2 ตำบลอิสาณ การจัดโครงการฝึกอบรมการทำไข่เค็มอิสานแฟนซีและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ
ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นางสาวทิพรส เจริญศิริ ประเภทบัณฑิต ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) HS16-2 ตำบลอิสาณ ในความดูแลของคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากการที่ทางคณะทำงานได้ลงพื้นที่ตำบลอิสาณได้ค้นพบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ คือไข่เค็มใบเตยและทางผู้ปฏิบัติงานได้ค้นพบว่าในชุมชนมีการปลูกพืชสมุนไพรอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ระดมความคิดที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จึงจัดทำสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บขึ้น ทางคณะทำงานจึงได้ดำเนินจัดโครงการฝึกอบรมการทำไข่เค็มอิสาณแฟนซีและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ โดยใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน อาทิ เช่น อันชัญ ขมิ้นชันและใบเตยมาพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ไข่เค็มและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ ให้กับกลุ่มสตรีในตำบลอิสาณ เพื่อเพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะด้านการทำไข่เค็มอิสาณแฟนซีและการทำสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ ให้กับกลุ่มสตรีที่เข้ารับการอบรม เพื่อส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้เกิดขึ้นในชุมชน เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมศรีพุทรา เทศบาลอิสาณ ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
จากการดำเนินการจัดโครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำไข่เค็มอีสานแฟนซีและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ ซึ่งข้าพเจ้าผู้ปฏิบัติงาน ได้แบ่งหน้ากันโดยข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นวิทยากรภาคปฏิบัติในการทำไข่เค็มอีสานแฟนซีและได้แจกสูตรและวิธีการทำไข่เค็มอิสาณแฟนซีและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ ให้กับผู้เข้ารับการอบรม จากการจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้พบว่ากลุ่มสตรีผู้เข้ารับการอบรมให้ความร่วมมือดีมาก มีความสนใจการทำไข่เค็มอีสานแฟนซีและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บเป็นอย่างดีและพร้อมที่นำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เป็นทางเลือกในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไข่เค็มแฟนซีและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ สามารถนำไปต่อยอด พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อจัดจำหน่าย สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับชุมชนได้ด้วย ซึ่งในวันอบรมทางผู้ปฏิบัติงานได้มีการนำตัวอย่างไข่เค็มอิสาณแฟนซีและผลิตภัณฑ์สบู่ที่สกัดจากสมุนไพร ที่ได้พัฒนาสูตรไปให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ดูและได้ชิมรสชาติของไข่เค็ม หลังจากที่อบรมการปฏิบัติการทำไข่เค็มอิสาณแฟนซีและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บเสร็จแล้วยังได้นำผลิตภัณฑ์ที่ได้แบ่งไปรับประทานและนำไปทดลองใช้ที่บ้านอีกด้วย
ซึ่งจากการพัฒนาสูตรไข่เค็มและการทดลองทำสบู่สมุนไพรอิสาณออร่าเฮิร์บระหว่างเดือนกรกฎาคมนั้น ช่วงระยะเวลาที่เหมาะกับการรับประทานไข่เค็มอิสาณแฟนซี คือ ช่วงระยะเวลา 3 – 5 วัน จะเหมาะกับการทำไข่ดาว เพราะรสชาติของไข่เค็มจะมีความเค็มเล็กน้อย รสกล่อมกล่อม และช่วงระยะเวลา 7- 14 วันจะเหมาะแก่การต้ม เพราะไข่ขาวจะมีความเค็มมากขึ้นรับประทานคู่กับข้าวต้ม ส้มตำ หรือ ยำ รสชาติกำลังอร่อยได้ที่
สำหรับสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ ที่ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาแลทดลองใช้นั้น สบู่มีฟองนุ่มกำลังดี ใช้ชำระล้างสะอาดดี มีกลิ่นหอมอ่อนๆและจากการจัดโครงการฝึกอบรมการทำไข่เค็มอิสานแฟนซีและสบู่อิสาณออร่าเฮิร์บ ในครั้งนี้ ทางผู้ปฏิบัติงานต้องขอขอบพระคุณท่าน รศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ซึ่งเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ อาจารย์ประจำตำบลอาจารย์ภูริสา วัชเรนทร์วงศ์ อาจารย์คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์เฉลิมเกียรติ เย็นเพชร รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์และท่านสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณและผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอมา