ข้าพเจ้านายสอนราม แหวนแก้ว ประเภทประชาชน ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ HS02-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน 2565
BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไป ยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy) (ข้อมูลจากเว็บไซด์ https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/)
ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิต ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม โดยร่วมกันจัดสถานที่ ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองตาไก้น้อยหมู่ 4 ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมเข้าร่วมการจัดกิจกรรม โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมี ดร.ธิติ ศรีใหญ่ อาจารย์ธนกร เพชรสินจร และ ผศ.ดร.ศุภธัช ศรีพัฒน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรประจำตำบลหนองกง กลุ่มสตรี กลุ่มสัมมาชีพตำบลหนองกงเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ใหญ่สุภาพ นัยพรม ผู้ใหญ่บ้านหนองตาไก้น้อย หมู่ที่4 ตำาบลหนองกง เป็นประธานในการเปิดโครงการ วิทยากรผู้บรรยายให้ความรู้ประกอบด้วย อาจารย์สุริสา มุ่งดี อาจารย์เอื้อมอัมพร เพชรสินจร และ อาจารย์ศักดา วงษาวดี โดยให้ความรู้ในเรื่องการพัฒนาต่อยอดพวงกุญแจและกระเป๋า ในหลักประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน และมีกิจกรรมภาคปฏิบัติด้วย
วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิต ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรม ทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สามหนองพี่น้องกัน ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์บุรีรัมย์ ผู้บริหารและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอมคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.อาจารย์ธนกร เพชรสินจร อาจารย์ประจำหลักสูตรพร้อมผู้ปฏิบัติงานตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับเกียรติจากนายอำเภอนางรอง นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ เป็นประธานเปิดโครงการฯ ในงานยังได้รับความรู้จากคุณโจน จันได เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในหัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราช ฝ่าทุกวิกฤติในยุค World Disruption” ผู้ก่อตั้งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ และรับฟังเสวนาชุมชนสร้างสรรค์เรื่อง “เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง : ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน” นำโดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เจ้าคณะตำบลหนองกง พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเจ้าของวนเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ ช่างดำอินดี้ เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้านเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายก อบต.หนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายก อบต.หนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา ดำเนินการเสวนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งผู้ที่มาร่วมงานจะได้รับเมล็ดพันธุ์พืชและต้นกล้าไม้เพื่อนำไปปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน
วันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 9:00 น ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชน และกลุ่มบัณฑิตได้ลงพื้นที่ ณ ศาลาประชาคม หมู่ 4 ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลและทำกิจกรรมร่วมคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย (คส.ปชต.) นำโดยกำนันจุพร ศรชัย กำนันตำบลหนองกง และผู้นำชุมชนในตำบลหนองกง เรื่องการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จากคณะกรรมการฯ (คส.ปชต.)และประชาชน พร้อมรับฟังการแสดงความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน
วันที่ 11 กันยายน 2565 ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิต ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอาจารย์ธนกร เพชรสินจร อาจารย์ ดร. ธิติ ศรีใหญ่ ผศ.ดร.ศุภธัช ศรีพัฒน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพร้อมผู้ปฏิบัติงานตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรม และได้รับเกียรติจากนายบุญส่ง ประสงค์ทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกงเป็นประธานเปิดโครงการฯ ซึ่งได้รับฟังบรรยายจากอาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ ในหัวข้อเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างแบรนด์และการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ตำบลหนองกง อาจารย์อรรถชาติ วัฒนสุข ผอ.ภาษิต ภัทรมูล อาจารย์เอื้อมอัมพร เพชรสินจร บรรยายในเรื่องการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน การวิเคราะห์ต้นทุนสินค้าและการสร้างเพจจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ตำบลหนองกงทั้ง On-site และ Online ตลอดจนหลักการสร้างมูลค่าสินโดยการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้าจดจำโลโก้ต้องสื่อถึงตัวตนและดึงดูดให้มากพอ รวมถึงการสร้าง Story ของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นที่น่าสนใจ และได้ตั้งกลุ่มฝึกปฏิบัติสร้างเพจ “facebook page” สร้างเพจชื่อ “หนองตาไก้น้อยทอผ้า” ซึ่งเป็นการส่งเสริมการตลาดให้หลากหลายมากขึ้น ต่อไป
วันที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 13.00-15.00 น. ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชนได้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์การเปิดร้านค้าออนไลน์ Shopee ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace) การอบรมเรื่อง SHOPEE MARKETPLACE สำหรับโครงการ U2T for BCG โดยวิทยากรจาก SHOPEE ซึ่งได้เรียนรู้หลักการทำการตลาดออนไลน์ e-commerce ช่องทางอันดับ1 ของนักชอปออนไลน์ ผู้ซื้อ – ผู้ขาย เหตุผลที่ผู้ซื้อมั่นใจในสินค้า ความคุ้มค่ากับการซื้อ การขาย แพลตฟอร์มเป็นรูปแบบที่ใช้ง่าย ความเชื่อมั่นในระบบการเงิน มีโปรโมชั่นในวันสำคัญต่างๆ พ่อค้าคนกลางและเจ้าของแบรนด์ รีวิวคะแนนความพึงพอใจจากผู้ซื้อ ผู้ติดตามร้านค้า การตอบรับสินค้า
วันที่ 14-18 กันยายน 2565 ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชน และกลุ่มบัณฑิตได้ลงพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดบูธจำหน่ายสินค้า U2T for BCG ในงานซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งสินค้าที่นำมาจำหน่ายได้แก่ พวงกุญแจ และกระเป๋าอเนกประสงค์ และในงานมีสินค้าจากหลายพื้นที่ ทั้งของกินของใช้มีให้เลือกซื้อหลากหลาย
จากที่ได้ร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นระยะเวลาสามเดือน ผมได้รับความรู้และเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเสียสละ ความรักความสามัคคีของคนในชุมชน หลัก BCG Economy หลักการตลาดออนไลน์ และได้เรียนรู้และรับรู้ถึงการผลิต ปัญหาการตลาด ผลิตภัณฑ์ในชุมชนตำบลหนองกง ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้โอกาสผมในครั้งนี้ด้วยครับ
คำสำคัญ: BCG Economy, โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน,การตลาดออนไลน์,