Oct     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นายอรุณ กรุงกลาง ประเภทประชาชน ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development รอบที่2)
หลักสูตร HS17-2 เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และเพิ่มมูลค่าผ้าไหมไทยอย่างยั่งยื่น
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้ลงประชุมวางแผนกับอาจารย์ประจำโครงการหลักสูตร เพื่อปรึกษาแนวทางการปฏิบัติงานและหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน โดย
แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์เป็น 2กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มA ผลิตภัณฑ์การจักสานไม้ไผ่
กลุ่มB ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้พัฒนาผลิตภัณฑ์การจักสานไม้ไผ่ โดยมีทีมงานทั้งหมด 5 คน ได้แก่
1.นางสาวญานิศา กรุงกลาง
2.นายนรงค์ มุลจุล
3.นายอรุณ กรุงกลาง
4.นายอรรถพล เจริญรัมย์
5.ธีราพร ท้าวดี
และได้นัดหมายกันลงพื้นที่หมู่บ้านบุตาแหบ หมู่ที่8 ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2565 และพบผู้ใหญ่บ้านพร้อมชาวบ้านในชุมชนที่มีความชำนาญด้านการจักสานไม้ไผ่จึงได้เห็นวิธีการและขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์ไซดักปลา ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ข้าพเจ้าได้สำรวจเห็นว่าต้นไม้ไผ่ในหมู่บ้านยังมีเยอะสมหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์นี้ นอกจากจะทำเป็นไซดักปลาที่ใช้ทำมาหากินได้เรายังสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านหรือร้านอาหารและยังดัดแปลงเป็นโคมไฟได้อีกด้วย เป็นการเพิ่มมูลค่าและรายได้เข้าชุมชนอีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ยังเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์การจักสานไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มยอดขายและเพิ่มการผลิตให้ชุมชนในตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ อีกด้วย

HS17-2 ลงพื้นที่เพื่อศึกษาเรียนรู้วิธีการจักสานไซดักปลา
HS17-2 พบว่าชาวบ้านได้ทำเครื่องจักสานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและขายเป็นรายได้เสริมอยู่แล้ว
HS17-2 ทั้งนี้คณะที่ลงสำรวจจึงแลเห็นช่องทางการพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาดและยังจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กลับชาวบ้านทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มและความเป็นอยุ่ที่ดีต่อไปในอนาคต