โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

หลักสูตร HS17-2 เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และเพิ่มมูลค่าผ้าไหมไทยอย่างยั่งยื่น

 ประจำเดือนสิงหาคม 2565

      ข้าพเจ้านายอรุณ กรุงกลาง ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์จักสานและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานสุ่มดักปลาในชุมชนว่ามีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง โดยมีรายชื่อสมาชิกดังนี้

1.ข้าพเจ้านายอรุณ กรุงกลาง

2.นางสาวญาณิศา กรุงกลาง

3.นายณรงค์ มุนจุล

4.นายอรรถพล เจริญรัมย์

5.นางสาวธีราพร ท้าวดี

วันพฤหัสบดี ที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 น.

ข้าพเจ้าพร้อมผู้ปฏิบัติงานได้นัดหมายกันลงพื้นที่ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลTCDเพิ่มเติม และได้ลงไปสำรวจพื้นที่หมู่บ้านบุตาแหบ หมู่ที่ 8 ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อดูความคืบหน้าการทำเครื่องจักสานสุ่มดักจับปลาและขั้นตอนการผลิตมีดังนี้

-ไม้ไผ่

-ไม้ทำหัวสุ่ม

-ลวด เชือกไนล่อน  ค้อนไม้

วิธีการผลิตสุ่มดักจับปลา

-นำไม้ไผ่มาเหลาเป็นซี่เล็ก ๆ ความยาว ๖๐ เซนติเมตร  ขนาดเส้นผ่า  ศูนย์กลาง 1-1.50 เซนติเมตร ไปรนไฟให้ท่อตรงปลายอ่อน และขยาย   เล็กน้อย นำไปเจาะรูทั้งหมด 61 รู เพื่อสานไม้ไผ่ใส่ซึ่งต้องเน้นความถี่    เป็นสำคัญป้องกันปลาออกนอกสุ่ม ก่อนนำเหล็กโค้งวางเป็นโครงช่วงกลางสุ่ม มัดด้วยเส้นลวด แล้วนำเชือกมาถักระหว่างซี่ไม่ให้หลุดออกจากกัน     สุ่มดักปลาก็จะเสร็จสมบูรณ์

คำแนะนำการเลือกใช้ไม้ไผ่และวิธีป้องกันมอดไม้

-ไม้ไผ่ที่ใช้ควรนำไปรมควัน จะทำให้มีสีสวย ป้องกันมอดไม้กัด

-ควรใช้ไม้ไผ่บง

เป็นวัตถุดิบหาได้ในท้องถิ่น นอกจากจะใช้จับปลาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการประดับตกแต่งบ้านได้ เพื่อเป็นทางเลือกการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้  และการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีแรงบรรดาลใจที่จะสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยมในท้องตลาด เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีรายได้เข้ามาในครอบครัวและชุมชนทุกคนจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น