HS25-2 บทความประจำเดือนกันยายน ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาส จ.บุรีรัมย์

การพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์โดยเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ พิชิตภารกิจ ECT WEEK

   

ข้าพเจ้า นางสาวชลธิชา บรรดิดตา ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์   ลงพื้นที่ประจำเดือนกันยายน ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS25-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน  2565

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือนกันยายน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T For BCG) ดังนี้

 

 

  • มีการนัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ เกี่ยวกับเรื่องของรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ว่าจะให้มีขนาดเท่าไร รูปแบบจะเอาแบบไหนและพูดคุยกันเรื่อที่จะมาออกบูทจัดจำหน่ายสินค้าในวันที่ 15-18 กันยายน 2565

 

 

  • วันที่ 2 กันยายน 2565


ทีม U2T ตำบลโคกล่าม นัดหมายเพื่อร่วมประชุม ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย
• มีการแบ่งหน้าที่กันเรื่องที่จะไปออกบูทในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 ระหว่างประชาชนกับบัณฑิต ว่าใครจะไปวันไหนบ้าง                                                        • แบ่งหน้าที่การจัดทำรูปเล่มเนื้อหาสรุปบทเรียนโครงการ สำหรับประชาชนได้รับมอบหมายให้ทำส่วนที่ 1 , 5 , 7
• ร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์ เลือกลักษณะถุงบรรจุภัณฑ์

  • วันที่ 5  กันยายน 2565

ได้เข้าพบกรรมการ ศส.ปชต. ณ ที่ทำการ ศส.ปชต. ตำบลโคกล่าม เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่การดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภาระกิจและการสร้างเครือข่ายการทำงานในพื้นชุมชน ระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน 2565 ทีม  U2T ตำบลโคกล่าม ก็ได้รับความกรุณาจากกรรมการ ศส.ปชต ให้เข้าพบและพูดคุย และสถานที่ทำการของ ศส.ปชต ก็คือห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลโคกล่าม หัวข้อที่สอบถามก็คือ

  • เรื่องบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. ตำบลโคกล่าม รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน
  • สอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร
  • สอบถามเรื่องการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของชาวบ้าน และลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรจะมีลักษณะอย่างไร
  • และสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ มีการนำหลักปรัชญามาใช้อย่างไร
  • สุดท้ายคือการสรุปข้อมูลจากการสอบถามข้อมูลชาวบ้าน
  • วันที่ 8  กันยายน 2565

     

             เข้าร่วมอบรม การตลาดภายใต้โครงการพลังชุมชน จ.บุรีรัมย์ ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

         การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาจริงของผู้อบรมภายในห้อง จำแนกประเภทธุรกิจ ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แนวคิดจากท่านอาจารย์มากมาย

 

  • วันที่ 11 กันยายน 2565

ประชุมทีม ตำบลโคกล่ามพร้อม อาจารย์ประจำตำบล ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย เพื่อปรึกษาและแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในการออกบูท จัดนิขายผลิตภัณฑ์ในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 ที่มหาวิยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ การเตรียมผลิตภัณฑ์กล้วยเบรกแตกและสินค้าอื่นๆ การเตรียมบรรจุภัณฑ์ดินปลูก การสั่งเสื้อทีม การเตรียมป้ายไวนิลและการเดินทางของทีมในวันเข้าร่วม

  • วันที่ 14 กันยายน 2565

          ทีมงาน U2T ตำบลโคกล่ามร่วมกันเตรียมผลิตภัณฑ์กล้วยและดินปลูกเพื่อนำไปออกจำหน่ายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ 15-18  กันยายน 2565 มีการแพ็คกล้วยใส่ถุงแพ็กเกจ และติดสติ๊กเกอร์โลโก้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และกรอกดินใส่ถุงเพื่อที่จะเอาไปจำหน่ายในวันงาน

  • วันที่ 15 กันยายน 2565

 

ออกบูทขายผลิตภัณฑ์กล้วยเบรกแตกจ้าวโต้น้อย และดินปลูกเจ้าโต้น้อย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ บริเวณบูทของกลุ่ม U2T ตำบลโคกล่าม คือ บริเวณหน้าตึก 18 ตึกคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หรือตึกอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา เชิญชวนชมสินค้าพวกเราได้นะคะ…..

ผู้เขียนบทความ: นางสาวชลธิชา บรรดิดตา

ลิ้งบทความเดือนสิงหาคม:http://u2tbcg.bru.ac.th/humanities/chonticha-bandidta/