ข้าพเจ้านายอภิชาติ เป็นรัมย์ ประชาชน
หลักสูตร: HS04-1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
ข้าพเจ้านายอภิชาติ เป็นรัมย์ กลุ่มประชาชน ผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG ประจำเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำหลักสูตร HS04-1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าร่วมรับฟังคำสั่งการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน ณ อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากอาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ ซึ่งอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ลงพื้นที่จัดเตรียมสถานที่ทอดผ้าป่าสามัคคี และให้ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลหนองยายพิมพ์ร่วมกันจัดทำกองผ้าป่า เพื่อนำไปทอดผ้าป่าสามัคคี ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง
วันที่ 29 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าลงพื้นที่จัดเตรียมสถานที่ทอดผ้าป่าสามัคคี ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งข้าพเจ้าช่วยในเรื่องของการเตรียมสถานที่ การติดตั้งป้ายโครงการทอดผ้าป่า การจัดเต็นท์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG หรือประชาชนในพื้นที่ที่ได้มาร่วมงานนำของหรือผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนมาจำหน่าย ให้สวยงามและเหมาะสมในการทอดผ้าป่าในครั้งนี้ การจัดเตรียมสถานที่แม้จะมีอุปสรรค ซึ่งมีพายุฝนขณะปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านี้ และได้จัดเตรียมสถานที่เพื่อทอดผ้าป่าสามัคคีจนสำเร็จลุล่วง
วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าลงพื้นที่ทอดผ้าป่าสามัคคี ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยยอดการทำผ้าป่าสามัคคีของตำบลหนองยายพิมพ์ คือ 6,999 บาท และงานผ้าป่าเริ่มแห่ผ้าไปยังศาลาของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองเมื่อเวลา 09.00 นาฬิกา จากนั้นเป็นพิธีเปิดงานโดย นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เวลาประมาณ 10.00–12.30 นาฬิกา รับฟังการบรรยายเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาฝ่าวิกฤติในยุค World Disruption” โดย คุณโจน จันใด และเวลา 13.00-15.30 นาฬิกา ร่วมรับฟังเสวนาชุมชน “เกษตรอินทรีย์บนวิถีพอเพียงทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน” ซึ่งข้าพเจ้าได้รับประโยชน์จากการรับฟังเสวนาชุมชนในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ทำให้ได้ข้อคิดในการทำเกษตรอินทรีย์ ความพอเพียงในการดำเนินชีวิต สามารถนำข้อคิดและหลักการมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าลงพื้นที่ทำการทดลองทอดหมูกระจกสมุนไพร ณ บ้านจาน ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีนางจำนงค์ แอนรัมย์ เจ้าของพื้นที่อำนวยความสะดวกและเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการปฏิบัติงาน ได้เห็นขั้นตอนวิธีการทำและลงมือปฏิบัติงานจริง การปฏิบัติงานครั้งนี้ข้าพเจ้าทำการทอดหมูกระจกตามสูตรที่นางจำนงค์ แอนรัมย์ ได้ให้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลมาแล้ว โดยทำการทอดหมูกระจกเป็นจำนวน 2 ครั้ง เพื่อให้หมูกระจกนั้นมีความกรอบและไม่ติดกันของหมูและซึ่งจะได้หมูกระจกที่มีสีสันสวยงาม จากนั้นนำหมูกระจกที่ได้ทอดเสร็จสิ้นจนหมูกระจกมีความกรอบและมีสีเหลืองสวยงามมาผสมกับเครื่องสมุนไพรที่ได้ทำการเตรียมไว้ คือ พริก ตะไคร้ และใบมะกรูด ซึ่งทำให้ได้กลิ่นและมีรสชาติที่หลากหลายมากขึ้น และแพ็คใส่บรรจุภัณฑ์ให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมนำมาจำหน่าย
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมออนไลน์ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร HS04-1 และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลหนองยายพิมพ์ ผ่านทางโปรแกรม Google Meet เพื่อรับฟังงานการขับเคลื่อนกิจกรรม “ECT WEEK” พิชิตภารกิจลงพื้นที่ 5 วัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรายงานผลผ่าน Facebook “U2T For BCG Online Community” ทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหลักของ U2T หรือประชาชนทั่วไป ในระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการสร้างพลเมืองคุณภาพ ซึ่งอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการชี้แจงการปฏิบัติงานและมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานให้กับผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลหนองยายพิมพ์ได้ลงมือทำภารกิจร่วมกัน
วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำภารกิจของกิจกรรม ECT WEEK ณ บ้านหนองยายพิมพ์ บ้านโจด บ้านบุตาสุ่ม และบ้านโนนศาลา ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ คือ สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกรรมการศูนย์ฯ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ U2T เรียนรู้กลไกการขับเคลื่อนภารกิจการเสริมสร้างพลเมือง และรวบรวม วิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินการร่วมกัน และได้เก็บข้อมูลตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย คือ เข้าพบกรรมการศูนย์ ณ ที่ทำการ ศส.ปชต (กศน.ตำบล) ศึกษาบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของศูนย์ฯ เรียนรู้การขับเคลื่อนภารกิจ การสร้างเครือข่ายและการทำงานร่วมกับชุมชน เก็บข้อมูล “การเมืองเรื่องใกล้ตัว” และ “วิถีประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน” เก็บข้อมูล “ผู้แทนที่พึงประสงค์” มีหัวข้อคือ การจะเลือกใครเป็นผู้แทนของเรา ควรมีปัจจัยอะไรบ้าง ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ที่จะมาเป็นผู้แทนหรือไม่ อย่างไร คุณสมบัติของผู้แทนที่ท่านต้องการมีอะไรบ้าง ท่านอยากให้ผู้แทนทำหน้าที่อะไรบ้าง เก็บข้อมูล “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และระดมความเห็น ข้อเสนอแนะ ร่วมกับกรรมการศูนย์ฯ เพื่อจัดทำสรุปรายงาน ซึ่งข้าพเจ้าได้ทำภารกิจสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าลงพื้นที่ทำการทดลองการทำโครงการเกี่ยวกับมะนาว ณ อาคารวิทยาศาสตร์ ตึก 22 ชั้น 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากร 4 ท่านในการให้ความรู้ครั้งนี้ คือ อาจารย์ ดร.จิตตะวัน กุโบลา อาจารย์จตุพัฒน์ สมัปปิโต อาจารย์เพียรพรรณ ศุภโคตร และอาจารย์กมลพร สิทธิไตรย์ ซึ่งทางวิทยากรได้จัดเตรียมสูตรการทำมะนาวไว้ 2 สูตรคือ 1. กัมมี่มะนาว 2. วุ้นกรอบมะนาว ข้าพเจ้าได้ลงมือปฏิบัติเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการบีบน้ำมะนาว จะมีการแยกมะนาวออกเป็นมะนาวลูกที่มีสีเหลืองกับมะนาวลูกที่มีสีเขียวโดยจะให้รสชาติความเปรี้ยวที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาทำกัมมี่น้ำมะนาวและวุ้นมะนาวกรอบ วิทยากรก็ได้ให้ความรู้ในการทำอย่างใกล้ชิดและจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการทำกัมมี่น้ำมะนาวและวุ้นกรอบมะนาวออกมามีรสชาติที่ดีและรูปร่างหน้าตาที่สวยงามน่ารับประทาน
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าเข้าร่วมอบรมการเปิดร้านค้าออนไลน์ Shopee ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace) ผ่านออนไลน์ทาง Facebook : Maneko Market โดยได้มีวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจาก Shopee มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเปิดร้านค้าผ่านทาง Shopee สามารถทำได้อย่างไร กระบวนการลงข้อมูลสินค้าใน Shopee รวมถึงรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ใน Shopee ซึ่งทางวิทยากรก็ได้บรรยายอย่างละเอียดและได้เปิดโอกาสให้คนที่สนใจได้สอบถามถึงข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมอีกเกี่ยวกับเรื่องการขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ในร้านค้า Shopee อีกด้วย
วันที่ 15-18 กันยายน พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ตามที่อาจารย์ประจำหลักสูตร HS04-1 ตำบลหนองยายพิมพ์ ได้มอบหมายให้ทำคือ การนำผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในชุมชนมาจำหน่าย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เนื่องในวันซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา โดยทางทีมตำบลหนองยายพิมพ์ได้นำสินค้าที่ได้ทำโครงการมาจำหน่ายคือ หมูกระจกสมุนไพร และเยลลี่น้ำมะนาว และยังรวมถึงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในชุมชนมาวางจำหน่ายด้วยคือ ส้มโอ หนังไก่ทอดกรอบ เป็นต้น
สรุป การปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานเดือนสุดท้ายของการปฏิบัติงานโครงการ U2T for BCG ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างเต็มความสามารถ ได้เรียนรู้แนวทางการทำงานต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้น และได้ปฏิบัติงานผ่านสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี