บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน
ข้าพเจ้านางสาวลลิตา งามศิริ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรดังนี้
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting เรื่องทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชี้แจงรายละเอียดในการจัดงานครั้งนี้ งานผ้าป่าจะจัดขึ้นวันที่ 31 สิงหาคม 2565 พิธีเปิดเวลาประมาณ 09.00 น. เวลา 10.00 น. – 12.30 น. บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาฝ่าวิกฤติในยุค World Disruption โดยคุณโจน จันได เวลา 13.00 น. – 15.30 น. เสวนาชุมชน เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน และชี้แจงรายละเอียดการจำหน่ายสินค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย 10 % ในงานพระราชทานปริญญาบัตรระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน 2565
วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ ได้ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ช่วยกันจัดสถานที่ในงานทอดผ้าป่าครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เช็ดโต๊ะจัดโต๊ะ และจัดผ้าตกแต่งบริเวณศูนย์การเรียนรู้เพื่อให้สถานที่จัดงานมีความสวยงาม เนื่องจากวันที่จัดเตรียมสถานที่มีฝนตกตลอดทั้งวันสถานที่จัดงานมีความเฉอะแฉะและจัดสถานที่ลำบาก
วันที่ 31 สิงหาคม 2656 เข้าร่วมงาน ทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในนาม U2T ตำบลหนองยายพิมพ์ได้ร่วมทำต้นผ้าป่า 1 ต้น เพื่อถวายต้นป่าเพื่อสมทบทุน รวมเป็นจำนวนเงิน 6,999 บาท ซึ่งในงานครั้งนี้ คุณโจน จันได บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาฝ่าวิกฤติในยุค World Disruption ได้รับความรู้การใช้ชีวิตในปัจจุบันตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ชีวิตให้มีความสุข เวลา 13.00 น. – 15.30 น. เสวนาชุมชน เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน มีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของนวเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ เจ้าของกระท่อมดินกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสุขวัฒนา และดำเนินการเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ความรู้ที่ได้จากการเข้ารับฟังการเสวนาในครั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ยอดผ้าป่ารวมทั้งหมด 330,692 บาท
วันที่ 3 กันยายน 2565 ข้าพเจ้า ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่ ณ บ้านคุณจำนงค์ แอนรัมย์ บ้านจาน หมู่ที่ 8 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทดลองทำหมูกระจกสมุนไพร โดยมีคุณจำนง แอนรัมย์ เป็นวิทยากร เริ่มตั้งแต่ ทดลองซอยหมูโดยใช้เครื่องซอยและได้ทดลองทอดหมูกระจกโดยทอดหมูทั้งหมด 2 รอบ รอบแรกทอดหมูให้พอสุก กรอบนอกนุ่มใน รอบสองตั้งน้ำมันให้ร้อน และนำหมูลงทอดรอบ 2 ให้กรอบพอดี เตรียมสมุนไพร พริก ตะไคร้ ใบมะกรูด ทอดสมุนไพรทุกอย่างให้และพักไว้ให้เย็นก่อนแพ็คหมูกระจกและสมุนไพรใส่บรรจุภัณฑ์ ได้ทดลองแพ็คหมูกระจกและสมุนไพรใส่บรรจุภัณฑ์ การเพิ่มสมุนไพรในหมูกระจกช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันหมูกระจกน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
วันที่ 5 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์รวมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ ผ่านโปรแกรม Google Meet ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับ กิจกรรม “ECT WEEK” พิชิตภารกิจขั้นที่ 2 ลงพื้นที่ 5 วัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรายงานผลผ่าน Facebook “U2T For BCG Online Community” ทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหลักของ U2T หรือประชาชนทั่วไป ในระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน 2565 โดยดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการสร้างพลเมืองคุณภาพ โดยให้ ทีม U2T เข้าพบกรรมการ ศส.ปชต. เพื่อพูดคุยเรื่องบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชนและลงพื้นที่สอบถามประชาชนเรื่องการใช้ชีวิตประจำมีความสอดคล้องกับประชาธิปไตยหรือไม่ ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งและการใช้ชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยและเศรษฐกิจพอเพียง สรุปรายงานผลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและส่งแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ให้กับกรรมการและเลขานุการ ศส.ปชต. (ครู กศน.ตำบล) นายชานนท์ ทิพย์พิบูลย์ เลขานุการ ศส.ปชต ตำบลหนองยายพิมพ์
วันที่ 7 กันยายน 2565 ข้าพเจ้า ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่ ณ ตึก 22 ชั้น 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทดลองทำเยลลี่น้ำมะนาว โดยมีวิทยากร อาจารย์ ดร.จิตตะวัน กุโบลา อาจารย์จตุพัฒน์ สมัปปิโต อาจารย์เพียรพรรณ ศุภโคตร และอาจารย์กมลพร สิทธิไตรย์
กัมมี่มะนาว
วัตถุดิบ
- เจลาติน 30 กรัม
- น้ำเปล่า (เย็น) 30 มิลลิลิตร
- น้ำเปล่า 30 มิลลิลิตร
- น้ำมะนาว 40 มิลลิลิตร
- น้ำตาลทราย 60 กรัม
- น้ำผึ้ง 20 มิลลิลิตร
- คาราจีแนน 0.3 กรัม
- แป้งข้าวโพด (สำหรับโรยไม่ให้กัมมี่ติดกัน โดยคั่วให้สุกก่อนนำมาใช้)
วิธีทำ
- แช่เจลาตินกับน้ำเปล่า (เย็น) ทิ้งไว้ 10 นาที
- ใส่น้ำเปล่า น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง คาราจีแนน และเจลาตินที่เตรียมไว้ในข้อ 1 ลงในหม้อ แล้วนำไปให้ความร้อนโดยใช้ไฟอ่อน คนจนส่วนผสมละลายแล้วยกลงจากเตา
- นำน้ำมะนาวที่เตรียมไว้ใส่ลงไป ผสมให้เข้ากัน
- ตักใส่พิมพ์ แล้วนำเข้าตู้เย็นให้เนื้อกำมี่เซ็ทตัว
- แกะกำมี่ออกจากพิมพ์ โดยใช้แป้งโรยให้ทั่วช่วยให้กัมมี่ไม่ติดกัน
- บรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
วุ้นกรอบมะนาว
วัตถุดิบ
- ผงวุ้น 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเปล่า 300 กรัม
- น้ำมะนาว 50 กรัม
- น้ำตาลทรายขาว 400 กรัม
- น้ำผึ้ง 25 กรัม
- เกลือป่น ¼ ช้อนชา
- สีผสมอาหาร (เลือกสีได้ตามใจชอบ)
วิธีทำ
- นำน้ำเปล่าเทใส่ลงในหม้อ ใส่ผงวุ้นลงไปคนให้ส่วนผสมเข้ากันดี พักไว้ประมาณ 10 นาที ยกขึ้นตั้งไฟกลาง ใช้ตะกร้อมือคนจนผงวุ้นละลาย
- เมื่อผงวุ้นละลายดีแล้วเช็คโดยการใช้ช้อนจุ่มลงไปแล้วยกขึ้นจะไม่มีผงวุ้นเป็นเม็ด ๆ ติดช้อนขึ้นมา จากนั้นก็ใส่น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง เกลือป่นลงไปได้ คนต่อให้น้ำตาลทรายละลายพอเดือดแล้วจับเวลาประมาณ 30 วินาที เติมน้ำมะนาวแล้วแล้วคนส่วนผสมให้เข้ากันดี แล้วยกลงจากเตา
เคล็ดลับ : ให้คนตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ไหม้ก้นหม้อ
- แบ่งวุ้นใส่ชามและสีผสมอาหารตามใจชอบ คนให้เข้ากันดี เทใส่พิมพ์ วางไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 30-60 นาที จนวุ้นเซ็ทตัว แกะวุ้นออกจากพิมพ์
- นำมีดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ
- นำออกตากแดด ประมาณ 3-4 แดด จนแห้งดีและเก็บใส่ชวดโหลหรือบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
วันที่ 12 กันยายน 2565 เรียน เข้าร่วมอบรมการเปิดร้านค้าออนไลน์ Shopee ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace) SHOPEE E-MARKETPLACE สำหรับโครงการ U2T for BCG หัวข้อ “สร้างร้าน Shopee ให้ขายดี ติดตลาด ฉับไว” โดย คุณธันย์ธนัช วัชรานุวิทย์ (ธี) ผู้เชี่ยวชาญจาก Shopee (Thailand) ได้รับความรู้รายละเอียดการเปิดร้านค้าออนไลน์ใน Shopee เพื่อดำเนินการขยายตลาดออนไลน์
วันที่ 14 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ ออกบูธขายของในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 U2T For BCG BRU Fair มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ข้าพเจ้าได้จัดเตรียมสถานที่เสร็จเรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร
วันที่ 15-18 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร HS04-1 ตำบลหนองยายพิมพ์ จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ในชุมชน ตำบลหนองยายพิมพ์ได้นำสินค้ามาจำหน่าย เป็นสินค้าที่ผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG ประจำตำบลหนองยายพิมพ์ได้จัดทำขึ้นคือ หมูกระจกสมุนไพร และเยลลี่น้ำมะนาว ซึ่งหมูกระจกจะมีรสชาติดั้งเดิม และรสชาติสมุนไพร เช่น พริก ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นต้น ยังรวมไปถึงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในชุมชนอีกมากมายที่นำมาวางจำหน่ายด้วย เช่น ส้มโอ และหนังไก่ทอดกรอบ เป็นต้น
การปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร