บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน

ข้าพเจ้านางสาวลลิตา งามศิริ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรดังนี้

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting เรื่องทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชี้แจงรายละเอียดในการจัดงานครั้งนี้ งานผ้าป่าจะจัดขึ้นวันที่ 31 สิงหาคม 2565 พิธีเปิดเวลาประมาณ 09.00 น. เวลา 10.00 น. – 12.30 น. บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาฝ่าวิกฤติในยุค World Disruption โดยคุณโจน จันได เวลา 13.00 น. – 15.30 น. เสวนาชุมชน เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน และชี้แจงรายละเอียดการจำหน่ายสินค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย 10 % ในงานพระราชทานปริญญาบัตรระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน 2565

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ ได้ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ช่วยกันจัดสถานที่ในงานทอดผ้าป่าครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เช็ดโต๊ะจัดโต๊ะ และจัดผ้าตกแต่งบริเวณศูนย์การเรียนรู้เพื่อให้สถานที่จัดงานมีความสวยงาม เนื่องจากวันที่จัดเตรียมสถานที่มีฝนตกตลอดทั้งวันสถานที่จัดงานมีความเฉอะแฉะและจัดสถานที่ลำบาก

วันที่ 31 สิงหาคม 2656 เข้าร่วมงาน ทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในนาม U2T ตำบลหนองยายพิมพ์ได้ร่วมทำต้นผ้าป่า 1 ต้น เพื่อถวายต้นป่าเพื่อสมทบทุน รวมเป็นจำนวนเงิน 6,999 บาท ซึ่งในงานครั้งนี้ คุณโจน จันได บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาฝ่าวิกฤติในยุค World Disruption ได้รับความรู้การใช้ชีวิตในปัจจุบันตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ชีวิตให้มีความสุข เวลา 13.00 น. – 15.30 น. เสวนาชุมชน เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน มีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของนวเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ เจ้าของกระท่อมดินกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสุขวัฒนา และดำเนินการเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ความรู้ที่ได้จากการเข้ารับฟังการเสวนาในครั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ยอดผ้าป่ารวมทั้งหมด 330,692 บาท

วันที่ 3 กันยายน 2565  ข้าพเจ้า ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่ ณ บ้านคุณจำนงค์ แอนรัมย์ บ้านจาน หมู่ที่ 8 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทดลองทำหมูกระจกสมุนไพร โดยมีคุณจำนง แอนรัมย์ เป็นวิทยากร เริ่มตั้งแต่ ทดลองซอยหมูโดยใช้เครื่องซอยและได้ทดลองทอดหมูกระจกโดยทอดหมูทั้งหมด 2 รอบ รอบแรกทอดหมูให้พอสุก กรอบนอกนุ่มใน รอบสองตั้งน้ำมันให้ร้อน และนำหมูลงทอดรอบ 2 ให้กรอบพอดี เตรียมสมุนไพร พริก ตะไคร้ ใบมะกรูด ทอดสมุนไพรทุกอย่างให้และพักไว้ให้เย็นก่อนแพ็คหมูกระจกและสมุนไพรใส่บรรจุภัณฑ์ ได้ทดลองแพ็คหมูกระจกและสมุนไพรใส่บรรจุภัณฑ์ การเพิ่มสมุนไพรในหมูกระจกช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันหมูกระจกน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

วันที่ 5 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์รวมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์  ผ่านโปรแกรม Google Meet ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับ กิจกรรม “ECT WEEK” พิชิตภารกิจขั้นที่ 2 ลงพื้นที่ 5 วัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรายงานผลผ่าน Facebook “U2T For BCG Online Community”  ทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหลักของ U2T หรือประชาชนทั่วไป ในระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน 2565 โดยดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการสร้างพลเมืองคุณภาพ โดยให้ ทีม U2T เข้าพบกรรมการ ศส.ปชต. เพื่อพูดคุยเรื่องบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชนและลงพื้นที่สอบถามประชาชนเรื่องการใช้ชีวิตประจำมีความสอดคล้องกับประชาธิปไตยหรือไม่ ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งและการใช้ชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยและเศรษฐกิจพอเพียง สรุปรายงานผลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและส่งแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ให้กับกรรมการและเลขานุการ ศส.ปชต. (ครู กศน.ตำบล) นายชานนท์ ทิพย์พิบูลย์ เลขานุการ ศส.ปชต ตำบลหนองยายพิมพ์

วันที่ 7 กันยายน 2565 ข้าพเจ้า ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่ ณ ตึก 22 ชั้น 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทดลองทำเยลลี่น้ำมะนาว โดยมีวิทยากร อาจารย์ ดร.จิตตะวัน กุโบลา อาจารย์จตุพัฒน์ สมัปปิโต อาจารย์เพียรพรรณ ศุภโคตร และอาจารย์กมลพร สิทธิไตรย์

กัมมี่มะนาว

วัตถุดิบ

  1. เจลาติน 30 กรัม
  2. น้ำเปล่า (เย็น) 30 มิลลิลิตร
  3. น้ำเปล่า 30 มิลลิลิตร
  4. น้ำมะนาว 40 มิลลิลิตร
  5. น้ำตาลทราย 60 กรัม
  6. น้ำผึ้ง 20 มิลลิลิตร
  7. คาราจีแนน 0.3 กรัม
  8. แป้งข้าวโพด (สำหรับโรยไม่ให้กัมมี่ติดกัน โดยคั่วให้สุกก่อนนำมาใช้)

วิธีทำ

  1. แช่เจลาตินกับน้ำเปล่า (เย็น) ทิ้งไว้ 10 นาที
  2. ใส่น้ำเปล่า น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง คาราจีแนน และเจลาตินที่เตรียมไว้ในข้อ 1 ลงในหม้อ แล้วนำไปให้ความร้อนโดยใช้ไฟอ่อน คนจนส่วนผสมละลายแล้วยกลงจากเตา
  3. นำน้ำมะนาวที่เตรียมไว้ใส่ลงไป ผสมให้เข้ากัน
  4. ตักใส่พิมพ์ แล้วนำเข้าตู้เย็นให้เนื้อกำมี่เซ็ทตัว
  5. แกะกำมี่ออกจากพิมพ์ โดยใช้แป้งโรยให้ทั่วช่วยให้กัมมี่ไม่ติดกัน
  6. บรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

วุ้นกรอบมะนาว

วัตถุดิบ

  1. ผงวุ้น 2 ช้อนโต๊ะ
  2. น้ำเปล่า 300 กรัม
  3. น้ำมะนาว 50 กรัม
  4. น้ำตาลทรายขาว 400 กรัม
  5. น้ำผึ้ง 25 กรัม
  6. เกลือป่น ¼ ช้อนชา
  7. สีผสมอาหาร (เลือกสีได้ตามใจชอบ)

วิธีทำ

  1. นำน้ำเปล่าเทใส่ลงในหม้อ ใส่ผงวุ้นลงไปคนให้ส่วนผสมเข้ากันดี พักไว้ประมาณ 10 นาที ยกขึ้นตั้งไฟกลาง ใช้ตะกร้อมือคนจนผงวุ้นละลาย
  2. เมื่อผงวุ้นละลายดีแล้วเช็คโดยการใช้ช้อนจุ่มลงไปแล้วยกขึ้นจะไม่มีผงวุ้นเป็นเม็ด ๆ ติดช้อนขึ้นมา จากนั้นก็ใส่น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง เกลือป่นลงไปได้ คนต่อให้น้ำตาลทรายละลายพอเดือดแล้วจับเวลาประมาณ 30 วินาที เติมน้ำมะนาวแล้วแล้วคนส่วนผสมให้เข้ากันดี แล้วยกลงจากเตา

เคล็ดลับ : ให้คนตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ไหม้ก้นหม้อ

  1. แบ่งวุ้นใส่ชามและสีผสมอาหารตามใจชอบ คนให้เข้ากันดี เทใส่พิมพ์ วางไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 30-60 นาที จนวุ้นเซ็ทตัว แกะวุ้นออกจากพิมพ์
  2. นำมีดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ
  3. นำออกตากแดด ประมาณ 3-4 แดด จนแห้งดีและเก็บใส่ชวดโหลหรือบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

วันที่ 12 กันยายน 2565 เรียน   เข้าร่วมอบรมการเปิดร้านค้าออนไลน์ Shopee ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace) SHOPEE E-MARKETPLACE สำหรับโครงการ U2T for BCG  หัวข้อ “สร้างร้าน Shopee ให้ขายดี ติดตลาด ฉับไว” โดย คุณธันย์ธนัช วัชรานุวิทย์ (ธี) ผู้เชี่ยวชาญจาก Shopee (Thailand) ได้รับความรู้รายละเอียดการเปิดร้านค้าออนไลน์ใน Shopee เพื่อดำเนินการขยายตลาดออนไลน์

วันที่ 14 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ ออกบูธขายของในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 U2T For BCG BRU Fair มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ข้าพเจ้าได้จัดเตรียมสถานที่เสร็จเรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร

วันที่ 15-18 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร HS04-1 ตำบลหนองยายพิมพ์ จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ในชุมชน ตำบลหนองยายพิมพ์ได้นำสินค้ามาจำหน่าย เป็นสินค้าที่ผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG ประจำตำบลหนองยายพิมพ์ได้จัดทำขึ้นคือ หมูกระจกสมุนไพร และเยลลี่น้ำมะนาว ซึ่งหมูกระจกจะมีรสชาติดั้งเดิม และรสชาติสมุนไพร เช่น พริก ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นต้น  ยังรวมไปถึงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในชุมชนอีกมากมายที่นำมาวางจำหน่ายด้วย เช่น ส้มโอ และหนังไก่ทอดกรอบ เป็นต้น

การปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร