บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม
ข้าพเจ้านางสาวลลิตา งามศิริ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรดังนี้
วันที่ 24 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ได้ลงพื้นที่ ณ บ้านคุณจำนงค์ แอนรัมย์ บ้านจาน หมู่ 8 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อบรมเกี่ยวกับหมูกระจกกระจกสมุนไพร ดังนี้
สูตรหมู 100 กิโลกรัม
วัตถุดิบ
-หนังหมูติดมัน 100 กิโลกรัม
ส่วนผสม
-เกลือป่น 4 ห่อ(เล็ก) -ซอส,ซีอิ้วขาว 2 ถ้วย -รสดี 2 ซอง (12 บาท) -งาขาว 2 ถ้วย -แป้งข้าวโพด 2 กิโลกรัม -แป้งกรอบ 1 กิโลกรม -น้ำสมสายชู 4 ถ้วย
วิธีการทำ
1.ขูดขนหมูและล้างน้ำเปล่า
2.ตัดหมูให้ได้ขนาดพอดี 1 ฝ่ามือ
3.ต้มหนังหมูพอสุก ประมาณ 20 นาที
4.พักหมูโดยการแช่น้ำ
5.ซอยหมูด้วยเครื่องซอยหมู
6.คลุกหมูรวมกับส่วนผสมที่เตรียมไว้
7.ตั้งน้ำมันให้ร้อน นำหมูที่คลุกไว้ ลงทอดรอบที่ 1 ทอดให้หมูกรอบนอกนุ่มใน ตักหมูออกพักไว้ให้เย็น และตักน้ำมันบางส่วนไว้ขาย
8.ตั้งน้ำมันให้ร้อนพอประมาณ นำหมูลงทอดจนพองขึ้น ตักพักไว้ให้เย็น เตรียมแพ็คใส่ถุงและจำหน่ายในลำดับต่อไป
ตลาดส่งออก
-ตลาดบุรีรัมย์ -ตลาดนางรอง -ตลาดประโคนชัย -ตลาดกระสัง
วิธีและระยะเวลาการเก็บรักษา
เก็บรักษาได้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บให้พ้นแสงแดดและความชื้น
วันที่ 2 สิงหาคม 2565 เข้าเรียน E-Learning ตามวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อที่จะได้ดำเนินการส่งข้อเสนอโครงการ C-03 แผนการพัฒนาสินค้า/บริการ ผ่าน BCG-ASSIGNMENT ให้แก่อาจารย์ประจำตำบล และได้เข้าเรียนตามหลักสูตรดังนี้
1.M-05 ออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์
2.M-06 วางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์
3.M-07 ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ
4.M-08 การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโต
C-03 แผนการพัฒนาสินค้า/บริการ
1.พัฒนาอะไรบ้าง(ออกแบบ/คุณภาพ/มาตราฐาน)
-ออกแบบสินค้าและบริการใหม่ พัฒนาบรรจุภัณฑ์
2.เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ใช้
-เครื่องซอยหมู เครื่องบดอาหาร เครื่องผสมอาหาร เครื่องซีลสูญญากาศ
3.ใช้เวลาพัฒนาจนพร้อมขายภายในกี่เดือน
-ใช้ระยะเวลาพัฒนา 2-3 เดือน
4.ใช้งบประมาณเท่าไหร่
-ประมาณ 100,000-150,000 บาท
วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เข้าอบรมการเก็บข้อมูล TCD ผ่านโปรแกรม Microsoft Team อบรมเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล TCD เพิ่มเติม ตำบลใหม่เก็บข้อมูล 500 รายการ ตำบลเก่าปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และวิธีการเก็บข้อมูล เช็คพิกัดในการเก็บข้อมูลทุกครั้ง เนื่องจากพิกัดอาจคลาดเคลื่อนและผิดพลาดได้ ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบแล้วไม่ต้องเก็บข้อมูลซ้ำ
วันที่ 6 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ เข้าประชุมร่วมกับอาจารย์ประจำตำบล อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษและ อาจารย์ศศิมาภรณ์ วงศ์ทิมารัตน์ ผ่านระบบ google meet เพื่อชี้แจงการเก็บข้อมูล TCD ดังนี้
1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
2.แหล่งท่องเที่ยว
3.ที่พัก/โรงแรม
4.ร้านอาหารในท้องถิ่น
5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
6.เกษตรกรในท้องถิ่น
7.พืชในท้องถิ่น
8.สัตว์ในท้องถิ่น
9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น
10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น
และแบ่งหน้าที่ให้ผู้ปฏิบัติงานจัดเก็บข้อมูลให้เรียบร้อย ตำบลหนองยายพิมพ์เป็นตำบลเดิมต้องปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ คือ ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่เก็บข้อมูล พืชในท้องถิ่น ตำบลหนองยายพิมพ์
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์ เก็บข้อมูล TCD ผ่านแอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์ พืชในท้องถิ่นตำบลหนองยายพิมพ์ มีมากมายในชุมชน เนื่องจากตำบลหนองยายพิมพ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร พืชในชุมชน ที่พบโดยประมาณ พืชยืนต้น เช่น มะขาม มะยม ส้มโอ มะนาว ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น พลูด่าง กระบองเพชร ต้นดาวกระจาย ต้นเดฟ
ข้าพเจ้าเก็บข้อมูลลงระบบเรียบร้อย การปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร