สวัสดีครับ กระผมนายตรีวิชญ์ ทองทับพันธ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่

ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS04-1

ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG  (U2T for BCG and Regional Development)

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าเทิดพระเกียรติ บำรุงรักษาปลูกป่าทดแทนตามโครงการปลูกป่าแหล่งอาหารปอดของชุมชน ณ โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ นำโดยพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมพร้อมด้วย อาจารย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ประชาชนจิตอาสาในเขตพื้นที่ คณะเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ คณะผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนโรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์

ณ โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีกิจกรรมตัดหญ้าตัดกิ่งไม้บริเวณที่ปลูกป่า พร้อมปลูกต้นไม้เพิ่มแทนที่ต้นไม้เดิมที่เสียหาย คลุมหญ้าให้ต้นไม้เพื่อรักษาความชื้นในบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีต้นไม้ยืนต้นด้วยกันทั้งหมด 3 อย่าง คือ ไม้สักทอง ไม้พยุง ไม้ยางนา ในพื้นที่บริเวณสวนป่าโรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์

ประโยชน์ที่ได้รับในการปลูกป่า 3 อย่างนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชาธิบายถึงประโยชน์ในการปลูกป่าตามพระราชดำริว่า

“…การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือนอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้วยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย…”

  • พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย
  • พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร
  • พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน และไม้ไผ่ เป็นต้น
  • ประโยชน์ต่อระบบนิเวศ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพสตรีแปรรูปหมูกระจกบ้านจาน หมู่ที่ 8 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเสนอแนวทางสร้างจุดขายที่โดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าที่สนใจสินค้าจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปหมูกระจกด้วยการเพิ่มวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่ชุมชน เช่น พริก ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบเตย ทอดกรอบ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงภายในชุมชนและลดต้นทุนการผลิตนำไปสู่รายได้มั่นคงและยั่งยืนได้ในอนาคต

การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์การค้นหากลุ่มลูกค้าในตลาดด้วยการสร้างเครื่องหมายแบรนด์สินค้า การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ การสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทำให้เกิดแรงดึงดูดของกลุ่มตลาดและผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มหรือผลงานที่เน้นความเป็นจุดเด่นของพื้นที่ชุมชน

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT)

  • Strengths (จุดแข็ง)

-เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปหมูกระจกที่ชัดเจน

-เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง และสามัคคีกัน

-ช่วยเหลือกันในเรื่องการตลาด การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์

-มีกลุ่มลูกค้าประจำทั้งขายปลีกและขายส่ง

  • Weaknesses (จุดอ่อน)

-ไม่มีมาตรฐานในการทำที่ชัดเจน

-ไม่มีการคำนวณ ต้นทุน กำไรที่ชัดเจน

-ไม่มีการชั่งน้ำหนักแพ็คสิ้นค้าถุงเล็ก สำหรับขายส่ง

-ไม่มีการชั่งน้ำหนักหลังการจากการทอดหมูกระจกที่ชัดเจน

  • Opportunities (โอกาส)

-การสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และจุดเด่น

-การสร้างผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

-การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูดและน่าสนใจมากขึ้น

  • Threats (อุปสรรค)

-วัตถุดิบขึ้นราคา แต่ขายราคาเดิมทำให้ต้นทุ่นสูงขึ้น

-ในการทอดหมูกระจก 1 ครั้ง ต้องทอด 100 กิโลกรัมขึ้นไปถึงจะได้กำไร

 

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30-14.00 น. กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมถวายพระพรและปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ บริเวณเนินโคกตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ

โดยมีนายเกรียงศักดิ์ อริยะศิริวงศ์ สมาชิกสภา อบจ.เขต อ.นางรอง เป็นประธานเปิดกิจกรรมถวายพระพรและปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ที่บริเวณเนินโคกตะโก บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน         อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยมีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายก อบต.หนองโสน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ภาคีเครือข่าย ประชาชนชาวอำเภอนางรอง พร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T for BCG สโมสรนักศึกษา “วิศวกรสังคม” คณะมนุษยศาสตร์ฯ เข้าร่วมกิจกรรม

โดยกิจกรรมจิตอาสาประกอบด้วย การถวายพระพร การทำความสะอาดบริเวณคลองช่องแมว และปลูกต้นไม้ เช่น ยางนา สัก พยุง ไม้แดง เป็นต้น จำนวนกว่า 1,000 ต้น ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างร่วมกันปลูกต้นไม้และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง

สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความจงรักภัคดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาแล้วยังเป็นการส่งเสริมความรู้รักสามัคคีในหมู่คณะ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคนชุมชนนำไปสู่การร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565  กระผมได้เข้าเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้เข้าสู่บทเรียนของเดือนสิงหาคม “พัฒนา” คือ สร้างคุณค่าสินค้าละบริการ (Value Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการการเรียนรู้นี้มีทั้งหมด 4 หัวข้อ ในเดือนสิงหาคมนี้เข้าสู่บทเรียนการพัฒนาคือ การสร้างคุณค่าสินค้าละบริการ (Value Chain) และมีหัวข้อย่อยดังนี้

       หลักสูตรพัฒนา

  • M-05 ออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์

-การออกแบบบรรจุภัณฑ์คืออะไร

-การขอมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์ ทั่วไป อาหารแปรรูป

-การขอเครื่องหมายรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Q และ Organic Thailand

– GMP Codex โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ

  • M-06 วางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์

-การวางกลยุทธ์การตลาด

-การจัดตั้งธุรกิจเป็นนิติบุคคล

-การวางลูกค้าและตลาดเป้าหมาย

-การสร้าง Content ที่ดี

-ดีไซน์กับกลุ่มเป้าหมาย

  • M-07 ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ

-แนะนำหลักสูตร กลยุทธ์การนำสินค้าออกสู่ตลาดสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ

-เตรียมพร้อมก่อนนำสินค้าออกสู่ตลาด (Prelaunch)

-กลยุทธ์การนำสินค้าออกสู่ตลาด (Product launch strategy)

-เร่งการเติบโตด้วยการตลาด (After launch product with growth hacking)

-สรุปเนื้อหา กลยุทธ์การนำสินค้าออกสู่ตลาดสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ

  • M-08 การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโต

– STARTUP คืออะไร

– STARTUP กับ SME ต่างกันอย่างไร

– STARTUP ต้องรู้จัก “Exponential Growth”

-การนำเสนอแผนธุรกิจ (1/2)

-การนำเสนอแผนธุรกิจ (2/2)

– Startup Inspiration จุดประกายความคิดการเป็นผู้ประกอบการ

 

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00-11.30 น. กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับอาจารย์ประจำตำบลถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD คือชุดข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Thailand Community Data) หรือบิ๊กดาต้าฐานข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกจัดเก็บ เรียบเรียงเพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเชื่อมโยงการวิเคราะห์กับข้อมูลความต้องการของตลาด ข้อมูลปัจจัยต่างๆ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานราชการอื่น อาทิ ข้อมูลผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ข้อมูลการส่งออก ข้อมูล TPMAP ที่เป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนและแก้จนแบบชี้เป้า และในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองยายพิมพ์ อาจารย์ได้มอบหมายหน้าที่การลงพื้นที่เก็บข้อมูลและแจ้งถึงรายละเอียดการเก็บข้อมูล ได้มอบหมายการเก็บข้อมูลแต่ล่ะหัวข้อให้แต่ล่ะคนรับผิดชอบของกระผมได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในหัวข้อเกษตรกรในท้องถิ่น และตำบลหนองยายพิมพ์มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน กระผมได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน คือ หนองยาง หนองถนน บ้านก้านเหลือง บ้านจาน หนองตารัก และหัวข้อใหญ่ของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลมีทั้งหมด 10 หัวข้อ ดังนี้

  1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
  2. แหล่งท่องเที่ยว
  3. ที่พัก/โรงแรม
  4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
  5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  6. เกษตรกรในท้องถิ่น
  7. พืชในท้องถิ่น
  8. สัตว์ในท้องถิ่น
  9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

 

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-14.30 น. กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองยายพิมพ์ หมู่ 5 บ้านหนองยาง และ หมู่ 6 บ้านหนองถนน โดยการเก็บข้อมูลนี้กระผมได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลในหัวข้อเกษตรกรในท้องถิ่น และหลังจากที่กระผมได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลมาจำนวน 2 หมู่บ้าน กระผมเห็นว่าทั้ง 2 หมู่บ้านนี้มีการทำเกษตรอยู่หลักๆ 2 อย่าง คือ ทำนา และปลูกมันสำปะหลัง  และการเก็บข้อมูลมีหัวข้อย่อย 12 ข้อดังนี้

  1. ชื่อ-สกุล
  2. ที่อยู่
  3. พิกัด
  4. เบอร์ติดต่อ
  5. จำนวนแรงงานทั้งหมดที่ใช้
  6. รายได้เฉลี่ยต่อปี
  7. ใช้ระบบหรือเทคโนโลยีทุ่นแรงหรือไม่
  8. เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้หรือไม่
  9. พื้นที่ทำเกษตรทั้งหมด(ไร่)
  10. เกษตรกรเป็นเจ้าของพื้นที่ทำการเกษตรหรือไม่
  11. รูปแบบการใช้งานพื้นที่ทำการเกษตร
  12. ภาพถ่ายพื้นที่/ผลผลิต/เกษตรกร

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมถวายพระพรและปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา (เก็บงานสืบเนื่องต่อจากวันที่ 29 กรกฎาคม 2565) ณ บริเวณเนินโคกตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ และประชาชนชาวอำเภอนางรอง พร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T for BCG ทั้ง 3 ตำบล คือ ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง ตำบลหนองโสน หรือเรียกสั่นๆว่า 3 หนอง โดยกิจกรรมจิตอาสาประกอบด้วย การทำความสะอาดบริเวณคลองช่องแมว ตัดหญ้าตัดกิ่งไม้บริเวณที่ปลูกป่า พร้อมปลูกต้นไม้เพิ่มแทนที่ต้นไม้เดิมที่เสียหาย คลุมหญ้าให้ต้นไม้เพื่อรักษาความชื้นในบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีต้นไม้ยืนต้นด้วยกันทั้งหมด 2 อย่าง คือ ยางนา ไม้พยุง เป็นต้น จำนวน 300 ต้น