กระผมนายตรีวิชญ์ ทองทับพันธ์ บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร: HS04-1

ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565 กระผมได้เข้าร่วมประชุมวางแผนในการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน ณ อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีอาจารย์ประจำพื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์ ได้มอบหมายและชี้แนะทางการทำงานในแต่ละครั้ง รวมไปถึงให้ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลหนองยายพิมพ์ร่วมกันจัดทำกองผ้าป่า ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2565 กระผมได้เข้าร่วมการจัดเตรียมสถานที่ ในการงานบุญผ้าป่าสามัคคี ที่จะจัดขึ้นในที่ 31 สิงหาคม 2565 โดยการเตรียมงานครั้งนี้ได้มีกลุ่มผู้ร่วมงานโครงการ U2T ของ 3 ตำบล ได้แก่ หนองกง หนองโสน หนองยายพิมพ์ รวมไปถึงกลุ่มอาสาสมัครชุมชนและกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่

เมือวันที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-16.30 น. กระผมได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่าสามัคคี เสวนาชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง (เนินตะโต) บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานในการกล่าวเปิดงานบุญผ้าป่าสามัคคี และยังมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของพื้นที่ 3 หนอง ได้แก่ หนองโสน หนองกง หนองยายพิมพ์ รวมไปถึงกำนันของแต่ละตำบล และผู้ใหญ่บ้านและเครือข่ายปราชญ์ชุมชน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนางรอง พร้อมด้วยชมรมอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอนางรอง โดยการนำของนายสายชล สิงห์วงค์ประธานชมรมอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอนางรอง และเครือข่ายโคกหนองนา อำเภอนางรอง ร่วมงานบุญผ้าป่าสามัคคีเสวนาชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ซึ่งศูนย์แห่งนี้นอกจากจะเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอนางรองแล้วโครงการต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่สีเขียว และฟื้นที่สภาพแวดล้อมของพื้นที่ชุมชน โดยมีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม (พระอาจารย์ทองใส) เจ้าคณะตำบลหนองกง เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เป็นผู้นำและที่ปรึกษาในโครงการ 3 หนอง ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยรายได้จากการจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจะนำมาต่อเติมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองเพื่อเป็นศูนย์ให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

ในช่วงเวลาประมาณ 10.00–12.30 น. จะเป็นการบรรยาย “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาฝ่าวิกฤติในยุค World Disruption” โดย อ.โจน จันได โดยท่านได้พูดถึงความเป็นไปและการแก้ปัญหาของเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทยในปัจจุบัน และในช่วงเวลา 13.00-15.30 น. ร่วมรับฟังเสวนาชุมชน “เกษตรอินทรีย์บนวิถีพอเพียงทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน” กระผมได้รับฟังแนวทางในการปลูกป่าและการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานของตนเอง ยังรวมไปถึงการสร้างอาหารไว้เพื่อดำรงชีวิตของตนเองได้ในอนาคต หรือช่วงยามเกิดวิกฤตที่เราไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ และยังสามารถเป็นตัวอย่างให้กับคนรุ่นหลังต่อไป

วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2565 กระผมและทีมงาน U2T ประจำตำบลหนองยายพิมพ์ พร้อมกับอาจารย์ประจำตำบล ได้ลงพื้นที่ของกลุ่มอาชีพสตรีแปรรูปหมูกระจกบ้านจาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของชุมชนให้มีความน่าสนใจและสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าของตนเอง โดยทางผู้จ้างงาน ได้ทดลองและลงมือทำ ในการทอดหมูกระจกสมุนไพร เพื่อเรียนรู้วิธีและขั้นตอนกระบวนการตั้งแต่แรกเริ่มจนกลายมาเป็นหมูกระจก และยังเป็นการหาวิธีคิดค้นการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยมีนางจำนงค์ แอนรัมย์ เจ้าของพื้นที่เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานและชี้แนะแนวทางการทำงานทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ดี

   

เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 กระผมได้เข้าศึกษาเรียนรู้ E-Learning ผ่านระบบเว็บไซต์ u2t.ac.th หลักสูตรพลเมืองคุณภาพผ่าน Platform อว. และดาวน์โหลด App Civic Education เพื่อจัดทำแบบทดสอบในหัวข้อ หลักสูตรพลเมืองคุณภาพ เยาวชนพลเมืองในวิถีใหม่ และหลักสูตรพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย