HS09-1 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลประจําเดือนสิงหาคม ต.ผไทรินทร์ อ.ลําปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร HS09-1 : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
ข้าพเจ้านางสาวเสาวลักษณ์ งางาม ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ตําบลผไทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์จากกลุ่ม HS09-1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยดําเนินการลงพื้นที่และปฏิบัติงาน ดังนี้
วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจําตําบลได้สรุปและมอบหมายงานจากการประชุมออนไลน์ผ่าน google meet ด้วยเรื่องการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม hackathon ของโครงการ ทางด้านอาจารย์ประจําตําบลให้ทีมผู้ปฏิบัติงานช่วยกันทำสไลด์นําเสนอผลิตภัณฑ์โครงการจากตําบลผไทรินทร์ เพื่อเข้าร่วมคัดเลือกเป็นตัวแทนในการแข่งขัน hackathon ต่อไป
ในวันที่ 7 สิงหาคม 2565ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันลงพื้นที่ ณ ตําบลผไทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูลลงบันทึกข้อมูล TCD โดยทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ บ้านสําโรงน้อย หมู่ที่ 12 ตําบลผไทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนายสมร ไกรพงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 ให้ข้อมูล บ้านสําโรงน้อยนี้มีจํานวนครัวเรือนอยู่ที่ 120 ครัวเรือน โดยชาวบ้านจะมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ปลูกข้าว ทํานา ปลูกมันสําปะหลังบ้างในบางครัวเรือน และคนที่ว่างงานในหมู่บ้าน จะมีการรับวัวมาเลี้ยงเพื่อหาเงิน หรือการรับจ้างทําวิกผม ทําปั่นจักร โดยจะมีตัวกลางนําของมาส่ง หรือตัวแทนไปรับมาทํา และภายในหมู่บ้านไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว ทีมผู้ปฏิบัติงานได้สอบถามนายสมร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 12 ถึงเรื่องการถนอมอาหารหรือการแปรรูปอาหารของชาวบ้านในชุมชน ได้คําตอบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีการถนอมอาหารคือ การทําปลาร้า แต่เป็น การจัดทําเพื่อรับประทานภายในครัวเรือน ไม่มีการทําเพื่อขายส่งออกหรือทําเป็นกําไร
วันที่ 11 สิงหาคม 2565 ประชุมกับทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อพูดคุย ปรึกษากันในการทําแบบฟอร์ม C-03 แผนการพัฒนาสินค้าและบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีโดยจะใช้การใช้พลังงาน แสงอาทิตย์และสุญญากาศเพื่อรักษาคุณภาพของอาหารให้นานที่สุด ด้านบรรจุภัณฑ์ได้ร่วมกันเลือกตัวบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสะดวกที่สุด ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันทําแผนพัฒนาสินค้า เริ่มจากการประชุมผ่าน google meet และเริ่มทําแผนพัฒนาสินค้าสําหรับแบบฟอร์ม C-03 เรื่องการพัฒนาสินค้าและช่องทางการจําหน่ายสินค้าจะจําหน่ายในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทางInstagramและ Facebook เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ผู้เขียนจึงได้ นําข้อมูลไปบันทึกลงในแบบฟอร์ม C-03 และเตรียมพร้อมสําหรับการทําแบบฟอร์ม C-04 ต่อไป
สรุปผลจากการไปลงพื้นที่
ณ ตำบลไผทรินทร์ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึงการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ดำเนินชีวิตประจำวันในรูปแบบเรียบง่ายตามเศรษฐกิจพอเพียงมีการปลูกพืช ผัก ผลไม้ที่มีหลากหลายตามฤดูกาลจึงทำให้ทางทีมผู้ปฏิบัติงานเล็งเห็นถึงความสำคัญของพืช ผัก และผลไม้เหล่านั้นจึงก่อให้เกิดแนวคิดที่จะพัฒนาพืชและผลไม้เหล่านั้นมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้กับชาวบ้านในชุมชมผไทรินทร์ แต่เนื่องจากตําบลผไทรินทร์ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ จึงมีความจําเป็นที่ต้องใช้เวลาในการผลิตและพัฒนา ทีมผู้ปฏิบัติงานจึงเริ่มต้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในพื้นที่คือ กระเทียมและกล้วยนำมาแปรรูป ในรูปแบบกระเทียมปรุงรส และกล้วยหนึบเพื่อที่จะสามารถนำมาจำหน่ายตามตลาดและผ่านช่องทางออนไลน์ได้ในที่สุด