HS09-1 ลงพื้นที่ประจําเดือนกันยายน ตําบลผไทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: HS09-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจําเดือน กันยายน
ข้าพเจ้า นางสาวเสาวลักษณ์ งางาม ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน รับผิดชอบการดําเนินงานในเขต พื้นที่ตําบลผไทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจําหลักสูตรให้ ดําเนินการติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระเทียมและผลิตภัณฑ์จากกล้วยรวมถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ETC ซึ่งมีรายละเอียดการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 ณ ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานได้ดําเนินการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระเทียมและกล้วย ณ ศาลาประชาคม บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่16 ตําบลไผทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีตัวแทนกลุ่มชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม จํานวน 25ท่าน ผู้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ประจําหลักสูตร โดยขั้นตอนการปฏิบัติงานเริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบกระเทียม กล้วย ที่ได้มาจากพื้นที่ในชุมชน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรมชาวบ้านได้เตรียมมาจากบ้าน เช่น มีด เขียง ถาด และภาชนะ เป็นต้น จากนั้นตัวแทนกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้อธิบายวิธีการพร้อมทั้งสาธิตกระบวนการทําให้กับกลุ่มชาวบ้านได้เข้าใจถึงรายละเอียดในการทําผลิตภัณฑ์ และได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ กลุ่มที่1ทําผลิตภัณฑ์กระเทียมปรุงรส กลุ่มที่2 ทําผลิตภัณฑ์กล้วยหนึบ ในส่วนของกระเทียมการดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแต่ยังมีเพิ่มเติมในเรื่องของการปรับอุณหภูมิของไฟที่ใช้ในการทอดกระเทียม ส่วนการดําเนินงานของกลุ่มกล้วยหนึบทำให้ประสบกับปัญหากล้วยไม่แห้งพอเพราะสืบเนื่องจากช่วงของการปฏิบัติงานเป็นฤดูฝน ส่งผลให้เกิดอุปสรรคที่สําคัญในกระบวนการทํางานคือ ไม่มีแสงแดดในการตากกล้วย เป็นผลทําให้กล้วย เกิดเชื้อรา สร้างความเสียหายให้กับตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ดําเนินการปรึกษาหารือร่วมกับ อาจารย์ประจําหลักสูตรถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สามารถดําเนินงานบรรลุผลสําเร็จได้ตามวัตถุประสงค์
เมื่อวันที่6 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ECT มีเนื้อหา เกี่ยวกับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการสรัางพลเมืองคุณภาพ โดยในการปฏิบัติงานได้ประสานงานกับ อาจารย์ประจําศูนย์ กศน.ตําบลไผทรินทร์ เพื่อขออนุญาตและเข้าพบกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนา ประชาธิปไตยตําบล(ศส.ปชต.) ณ ที่ทําการศูนย์ฯ บ้านหนองมะค่าใหม่ หมู่ที่17 ตําบลไผทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีกรรมการ ศส.ปชต.ที่ร่วมให้ข้อมูลคือ 1.นางรัตนา พิมพ์เสนา (กรรมการ/ เลขานุการ) 2.นส.ศิรินภา โพธิ์วิเศษ (ผู้ช่วย/กรรมการและเลขานุการ) 3.นายอุดมพรรณ ยางไธสง (กรรมการ)
เมื่อวันที่10 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ ศาลาประชาคม บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่16ตําบลไผทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ อีกครั้ง เพื่อที่จะจัดทําผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยหนึบและกระเทียมปรุงรสเพื่อนําไปจําหน่ายตามช่องทางตลาดออนไลน์และทางมหาลัยวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดบูธจําหน่ายผลิตภัณฑ์ของแต่ล่ละตําบลทางเราจึงได้จัดเตรียมกล้วยหนึบและกระเทียมปรุงรสให้เพียงพอกับการขายในงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จัดขึ้นในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 การลงพื้นที่ครั้งนี้มีอุปสรรคในส่วนของกล้วยเพราะกล้วยที่นำมาไม่สุกพอจึงทำให้มีรสชาติต่างไปจากที่ตั้งไว้ แต่ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันเสนอแนวคิด ออกความคิดเห็นช่วยกันจึงทำให้สำเร็จลุล่วงไปได้
สรุปผลการลงพื้นที่ ตําบล ไผทรินทร์ ประจําเดือน กันยายน
จากการลงพื้นที่ทางคณะได้ติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระเทียมและกล้วย มีการดําเนินงานตามแผนงานและชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและทำให้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์วัถตุดิบที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดรายได้และสามารถนําไปจัดจําหน่ายตามช่องทางต่างๆเช่น วางขาย หน้าร้าน ผ่าน online ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ทำให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือมี ต้นทุน ต่ำและ ได้กําไรสูง สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนจริง จึงทำให้ทางทีมผู้ปฏิบัติได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามเป้าหมาย อีกทั้งการลงพื้นที่ที่ผ่านมาตลอดจนถึงครั้งล่าสุดทำให้ชาวบ้านและทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีมิตรภาพที่ดีต่อกัน