หลักสูตร HS09-1 : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ข้าพเจ้านางสาวชุติภา สิงห์แก้ว ประเภทบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
จากกลุ่ม HS09-1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  โดยดำเนินการลงพื้นที่และปฏิบัติงาน ดังนี้

หลังจากได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำตำบลแล้ว วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ผู้เขียนและทีม
ผู้ปฏิบัติงานได้เดินทางไปลงสำรวจพื้นที่ยัง ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บ
รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาวบ้านในตำบลผไทรินทร์ได้ข้อมูลคือ ชาวบ้านในตำบลมีการเพาะปลูก
เกษตรกรรมตามฤดูกาล เช่น พริก กระเทียม ผักชี กล้วย เป็นต้น ที่ผ่านมาทางชุมชนไม่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ทางการเกษตรเพื่อส่งออกหรือขายออก มีเพียงแค่การขายผลผลิตทางการเกษตรในรูปแบบไม่แปรรูป การแปร
รูปผลิตภัณฑ์จะเกิดขึ้นแค่เพียงรับประทานภายในครัวเรือนเพียงเท่านั้น ดังนั้นทางทีมผู้ปฏิบัติงานจึงได้
สอบถามความต้องการของชาวบ้านที่อยากจะพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่แล้วในตำบลให้อยู่ในรูป
ผลิตภัณฑ์แปรรูป เพื่อให้มีความหลากหลายต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยกลุ่มชาวบ้านสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ

จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้น ได้ผลสรุปดังนี้ ชาวบ้านในตำบลผไทรินทร์ส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกพืชผล
ทางการเกษตร มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบขายสด โดย 1. มีคนเข้ามารับซื้อในหมู่บ้าน และ 2. มีการจำหน่าย
ผ่านรถเร่ที่ขับไปขายตามหมู่บ้านหรือ ซึ่งที่ผ่านมาทางตำบลไม่มีการแปรรูปเพื่อขายผลิตภัณฑ์สินค้า แต่การ
แปรรูปผลผลิตจะทำขึ้นเพื่อรับประทานกันเองภายในครัวเรือนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อได้พูดคุยกับผู้ให้ข้อมูลจึงได้
ใจความว่า ชาวบ้านสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเสริม
รายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน

เมื่อได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชุมชนในตำบลผไทรินทร์แล้ว อาจารย์ประจำตำบลได้มอบหมายงาน
ให้แก่ทีมผู้ปฏิบัติงานช่วยกันทำแบบฟอร์ม C-01 (ข้อเสนอโครงการ) และ C-02 (แผนธุรกิจ) เพื่อนำเสนอ
ผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านในตำบลต้องการจะพัฒนา ได้แก่ 1. กระเทียม และ 2. กล้วย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้หาได้จาก
ผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่แล้วในตำบล โดยกระเทียมจะนำมาแปรรูปให้อยู่ในสินค้า “กระเทียมปรุงรส”
และ กล้วยจะนำมาแปรรูปให้อยู่ในสินค้า “กล้วยหนึบ”