HS11-1 การยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายเถาแสลงพันและเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพ ตำบลแสลงพัน ประจำเดือนกันยายน
นายอนุชา กำลังรัมย์ ผู้ปฏิบัตรงานประเภทบัณฑิตจบใหม่
ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS11-1 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)
โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
การปฏิบัติงานในเดือนกันยายน ผู้ปฏิบัติงานได้มีการประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนการดำเดินกิจกรรมยกระดับสินค้าในตำบลแสลงพัน ในเดือนกันยายน ดังนี้
- ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD
- การลงพื้นที่ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายเถาแสลงพันและเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพและทดลองทำเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพและอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านตำบลแสลงพันออกแบบป้ายโฆษาโปรโมทสินค้า
- วันที่ 17 นำสินค้าที่ได้จากการผลิตของตำบลแสลงพันมาจัดบูธขายในงานรับปริญญาของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เพื่อนำสู่การตลาดออนไลน์และเปิดร้านขายในเพจเฟสบู๊คและร้านค้าออนไลน์ Shoppee
- ขั้นตอนและวิธีการทำเทียนขี้ผึ้งสมุนไพรเพื่อสุขภาพเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
- ไขถั่วเหลือง (soy wax)
- เชือกฝ้าย 100% สำหรับทำไส้เทียน
- น้ำมันหอมระเหย
- สีย้อมเทียน
- ภาชนะบรรจุเทียน เช่น กระปุก แก้วสวยๆ
- หม้อต้มทนความร้อน
- แท่งไม้ หรือไม้หนีบผ้า
- แหวนสกรู
พาราฟิน: เป็นวัสดุราคาเบาๆ ที่เป็นที่นิยม เนื่องจากละลายเร็ว และยังสามารถแต่งสี แต่งกลิ่นได้ง่ายดายอีกด้วย
ขี้ผึ้ง: เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่ใช้ทำเทียนมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีกลิ่นหอมในตัวเอง เหมาะสำหรับนำมาทำเทียนที่ไม่ต้องการตกแต่งสีมากนัก
ไขถั่วเหลือง: อีกหนึ่งวัสดุจากธรรมชาติ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้เกิดควันดำ หลายคนจึงเริ่มนิยมหันมาใช้ไขถั่วเหลืองกันมากยิ่งขึ้น
เทียนเล่มเก่า: เป็นวัสดุง่ายๆ ที่ได้มาจากการรีไซเคิลเทียนเล่มเก่าที่หักหรืองอแล้ว เพียงแค่นำไส้เทียนเดิมออก แล้วนำมาทำละลายก็สามารถใช้ต่อได้เลย
ขั้นตอนการทำไส้เทียน
1.นำเชือกฝ้ายที่เตรียมไว้มาต้มให้เดือด จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งสนิท
2.นำปลายเชือกด้านหนึ่งมาผูกไว้กับแท่งไม้ (หากใช้ไม้หนีบผ้า สามารถนำไม้หนีบมาหนีบเชือกไว้ได้เลย) ส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่งผูกติดกับแหวนสกรู เพื่อถ่วงน้ำหนักเชือก จากนั้นวางแท่งไม้พาดกับปากภาชนะบรรจุเทียน โดยจัดให้เชือกหย่อนลงตรงแบบตั้งตรง อยู่ที่จุดกึ่งกลางของภาชนะนั้น
ขั้นตอนการทำเทียน
1.ทำละลายไขถั่วเหลือง โดยนำไขถั่วเหลืองมาใส่หม้อต้มทนความร้อน จากนั้นต้มไขถั่วเหลืองให้ละลาย ด้วยอุณหภูมิประมาณ 76.6 – 82.2 ° C คนไขถั่วเหลืองให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นยกลงมาตั้งพักให้อุ่น
2.หยดน้ำมันหอมระเหยลงไป 4-5 หยด หรือตามปริมาณที่แนะนำข้างขวด จากนั้นคนให้เข้ากัน
3.หยดสีย้อมเทียนลงไปตามปริมาณที่แนะนำข้างขวด โดยค่อยๆ ใส่ทีละหยดจนกว่าจะได้สีที่ต้องการ และคนให้เข้ากัน
4.ค่อยๆ เทไขถั่วเหลืองที่ต้มเรียบร้อยแล้วลงไปในภาชนะบรรจุเทียนที่เตรียมไว้ แล้วทิ้งไขถั่วเหลืองไว้ประมาณ 5 ชั่วโมง รอจนกว่าไขถั่วเหลืองจะแข็งตัว
5.เมื่อไขถั่วเหลืองแข็งตัวเรียบร้อยแล้ว นำกรรไกรมาตัดปลายเชือกที่ผูกไว้กับแท่งไม้ โดยให้ความยาวเชือกอยู่ต่ำกว่าปากภาชนะบรรจุเทียน เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
วิธีการทอผ้าไหม
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง
หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามี ลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา
ขั้นตอนในการทอผ้า
- สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ
การทอผ้าพื้น
เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
การขิด
ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
การจก
เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ ซิ่นตีนจก ”การทอมัดหมี่
ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืนการทอผ้ายก
เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต