บทความประจำเดือน กันยายน2565

โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

HS12-2 ตำบลถนนหัก

ข้าพเจ้า นายรัตพล นิเวศกูล ประเภท ประชาชนทั่วไป ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จากการปฎิบัติงานในเดือนที่ผ่านมาทางทีมงานโครงการ U2T for BCG ได้จัดกิจกรรมอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยได้แนะนำวิธีการเขียนแผนงาน เพื่อการขอจัดตั้งกลุ่มอาชีพ โดยได้เชิญเจ้าหน้าที่พัฒนากรจากหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอนางรอง และเกษตรอำเภอ นางรองมาร่วมให้คำแนะนำแก่กลุ่มเป้าหมาย หลังจากที่เราได้อบรมได้ทราบถึงปัญหาในการจัดทำผลิตภัณฑ์โดย ก่อนหน้านี้กลุ่มเป้าหมายได้ใช้สีผสมอาหารเพื่อจะทำขนมกระยาสารทและมะพร้าวแก้วโดยทางคณะอาจารย์ได้ปรึกษาและหาวิธีแก้ไขจนได้ข้อสรุปว่าเราจะเชิญวิทยากรซึ่งเป็นอาจารย์ประจำคณะ วิทยาศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ มาให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จนเกิดความเข้าใจและจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จนสำเร็จรู้ล่วงไปด้วยดี  และ ในเดือนที่ผ่านมาส่วนตัวข้าพระเจ้าได้รับมอบหมายหน้าที่ในการประสานงานกับพัฒนาชุมชนในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยมีการนำส่งเอกสาร ให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยงานต่อไป จากการปฎิบัติงานเราได้ข้อคิดและการเรียนรู้ ดังนี้ เราได้ทราบว่าการใช้สีธรรมชาตินั้นเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้ เรียนรู้ถึงวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและวิธีการเตรียมพร้อมในการปฏิบัติงานและการประสานงานกับหน่วยงานราชการต่างๆรวมถึงการจัดทำผลิตภัณฑ์ ให้มีความสวยงามโดดเด่นและน่าสนใจโดยการจัดทำโลโก้แบรนด์ให้เห็นได้ชัดเจนและสามารถติดต่อได้ทางออนไลน์ ทางนี้เราต้องขอขอบคุณทางคณาจารย์หัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดจนมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ที่ได้ร่วมกันจัดทำโครงการโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ส่งผล

ให้ประชาชนในตำบลถนนหักได้มื รายได้เพิ่มขึ้นและมีงานทำเป็นหลักอาชีพเสริมต่อไปแ

โลโก้ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาแล้ว

 

 

 

 

 

วันที่27 สิงหาคม 2565 ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2565

​​ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เก็บข้อมูล TCD เป็นการเก็บข้อมูลในพื้นที่ตำบล เช่น กลุ่มเกษตรกร พืชพันธุ์ สัตว์ อาหารประจำถิ่น ที่พัก โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ โดยลงไปในพื้นที่ จับ GPS ภายในพื้นที่ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

​​หน้าทีที่ได้รับมอบหมาย เก็บข้อมูล ในพื้นที่ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้เรียบร้อย

​​สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม ได้รู้บริบท สภาพแวดล้อมภายในตำบล

วันที่6 กันยายน 2565

​จัดกิจกรรมสอนการทำมะพร้าวแก้ว ณ บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 10 ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

​ช่วงเช้า 9.30-12.00 น. ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับทำกิจกรรม ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบในการทำมะพร้าวแก้ว เช่น มะพร้าวขูด สีธรรมชาติ มีใบเตย อัญชัน กระเจี๊ยบ ขมิ้น น้ำตาล เกลือ มะนาว กลิ่นมะลิ ฯลฯ อุปกรณ์ในการทำ เช่น เครื่องชั่งดิจิตอล ถ้วย กาละมังหลาบขนาด กระทะทองเหลือ ไม้พาย กระชอนเตาแก๊ส ฯลฯ โต๊ะ เก้าอี้ ในการนั่งฟังวิทยากร บรรยายในช่วงแรก จัดเบรก/อาหารว่าง ให้ผู้เข้าอบรม

​ช่วงเวลา 13.00-17.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวตอนรับวิทยากร อาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน U2T แนะนำตัว แนะนำวิทยากรจาก สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มาแนะนำและสอนการทำมะพร้าวแก้ว ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้า ต่อไปเป็นการแนะนำสีธรรมชาติที่สามารถใช้ได้ แนะนำวัตถุดิบที่จะทำมะพร้าวแก้ว อัตราส่วนการใช้วัตถุดิบต่างๆ และมีการอธิบาย (1) ใบเตยหอมประกอบด้วยสารสีเขียวคือ คลอโรฟิลล์ ลัแอนโทไซยานิน (2) กระเจี๊ยบเขียวปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 33 แคลอรี่ ซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารอย่างโปรตีน ไฟเบอร์ โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินเคสารประกอบกลุ่มฟีนอล และสารฟลาโวนอยด์ (3) ดอกอัญชัน มีสารสำคัญ คือ Genistein เป็นสารพฤกษเคมี (phytochemicals) ที่มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพ เป็นสารโภชนเภสัช มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และเป็นไฟโตอิสโทรเจน สารสีจากดอกอัญชันอยู่ในกลุ่ม แอนโทไซยานิน ขั้นตอนต่อไป เป็นการลงมือทำ ทุกคนช่วยกันทำโดยมีวิทยากรเป็นคนให้ความรู้ไปด้วย ขั้นตอนในการทำมะพร้าวแก้ว (1) เตรียมวัตถุดิบ/ชั่งตวงวัตถุดิบตามอัตราส่วน เตรียมไว้ (2) นำกระทะทองเหลืองมาวอมไฟ ไฟกลางๆไม่แรงหรือน้อยจนเกินไป พออุ่นๆเท่สีที่ได้จากธรรมชาติลงไปพร้อมกับน้ำตาลและกลิ่นมะลิลงไป กวนๆจนน้ำตาลละลาย (3) เมื่อน้ำตาลละลายก็ใส่มะพร้าวลงไป กวนจนรู้สึกเหนียว แห้ง แต่ไม่แห้งจนเกินไป เหนียบวแบบจัดตัวเป็นก้อนได้ (4) เทลงภาชนะที่เตรียมไว้ ปั้นเป็นก้อนหรือรูปทรงที่สวยงามรอให้แห้ง และบรรจุใส่กล้องผลิตภัณฑ์ เป็นอันเสร็จ รสชาติของมะพร้าวแก้วจะมีความหอมของกลิ่นธรรมชาติและกลิ่นมะลิ หวานกลมกล่อม อร่อย สีสันสวยงามมากๆ ขั้นตอนสุดท้าย คือ ปิดกิจกรรมการทำมะพร้าวแก้ว และถ่ายรูปร่วมกัน เก็บของอุปกรณ์ ทำความสะอาดให้เรียบร้อย กิจกรรมครั้งนี้ เสร็จลุล่วงไปด้วยดี

​​หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จัดเตรียมวัตถุดิบ/อุปกรณ์ ในสถานที่ ประสานงานกลุ่มเป้าหมายและจัดเตรียมสถานที่

​​สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม ได้ทราบถึงวัตถุดิบธรรมชาติ อัตราส่วนการใช้ ทดลองอัตราส่วนที่พอดีกับความอร่อย ประทับใจกลุ่มมะพร้าวแก้วบ้านหนองม่วง หมู่ที่ 10 มากๆ ทุกคนสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การทำงานกันเป็นทีมช่วยเหลือกันและกันเป็นอย่างดีและได้ความรู้เกี่ยวกับการประสานงานและการวางแผนเพื่อการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ