บทความประจำเดือนกันยายน 2565
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
HS12-2 ตำบลถนนหัก
ข้าพเจ้า นางสาวศิริมา รักษาเดช ประเภท ประชาชนทั่วไป ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
จากเดือนที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนคอยซัพพอร์ตและช่วยเหลือทีม
วันที่ 23 สิงหาคม 2565
ได้มีการจัดเวทีวิเคราะห์ปัญหาที่องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหักโดยมี นาย จารึก คนชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับคณะบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมกล่าวตอนรับคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ในลำดับต่อไป กล่าวชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์โครงการโดย อาจารย์ดร.คคนางค์ ช่อชู หัวหน้าโครงการ U2T ตำบลถนนหัก และคืนข้อมูลการขับเคลื่อนงานในรอบเดียวที่ผ่านมาในพื้นที่เป้าหมายตำบลถนนหัก กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสันทนาการครั้งนี้ โดยมีการพูดคุยถึงปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายโดยได้ทราบถึงปัญหาของกลุ่ม กระยาสารทเรื่องการจัดทำแพ็คเกจและเงินทุนหมุนเวียนความต้องการต้องการให้โครงการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการจัดทำแพ็คเกจทำโลโก้และต้องการหาตลาดใหม่เพื่อเพิ่มยอดขาย
กลุ่มสัมมาชีพบ้านหนองม่วงปัญหาที่พบยังไม่มีความชำนาญในการทำขนมมะพร้าวแก้วและการใช้สีธรรมชาติให้เป็นอัตลักษณ์และการทำแพ็คเกจโลโก้ ให้โดดเด่นเป็นที่น่าสนใจความต้องการต้องการทราบถึงการใช้สีธรรมชาติให้ติดทนนานเหมือนสีผสมอาหารและทำแพ็คเกจของผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้วให้เป็นที่ต้องการของท้องตลาดต่อไป
วันที่ 20 สิงหาคม 2565
เริ่ม เก็บข้อมูลTCD และบันทึกลงในระบบ เพื่อ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ บริบทในชุมชน เช่น เกษตรกร สัตว์เลี้ยง พืชในชุมชน อ่างเก็บน้ำเป็นต้น
วันที่ 24 สิงหาคม 2565
กลุ่มผู้ปฎิบัติงานU2T ได้นำแบบโลโก้ไปเสนอให้กับกลุ่มภายในตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าชอบโลโก้อันไหน อยากที่จะปรับแก้ในส่วนใด ต้องการเพิ่มคำที่เฉพาะกลุ่มหรือไม่ มีกลุ่มดังนี้
1.กลุ่มมะพร้าวแก้ว บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 10 ตำบลถนนหักอำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์
2.กลุ่มกระยาสารท บ้านผักหวาน หมู่ที่ 1 ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่6 กันยายน 2565
จัดกิจกรรมสอนการทำมะพร้าวแก้ว ณ บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 10 ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ช่วงเช้า 9.30-12.00 น. ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับทำกิจกรรม ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบในการทำมะพร้าวแก้ว เช่น มะพร้าวขูด สีธรรมชาติ มีใบเตย อัญชัน กระเจี๊ยบ ขมิ้น น้ำตาล เกลือ มะนาว กลิ่นมะลิ ฯลฯ อุปกรณ์ในการทำ เช่น เครื่องชั่งดิจิตอล ถ้วย กาละมังหลาบขนาด กระทะทองเหลือ ไม้พาย กระชอนเตาแก๊ส ฯลฯ โต๊ะ เก้าอี้ ในการนั่งฟังวิทยากร บรรยายในช่วงแรก จัดเบรก/อาหารว่าง ให้ผู้เข้าอบรม
ช่วงเวลา 13.00-17.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวตอนรับวิทยากร อาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน U2T แนะนำตัว แนะนำวิทยากรจาก สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มาแนะนำและสอนการทำมะพร้าวแก้ว ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้า ต่อไปเป็นการแนะนำสีธรรมชาติที่สามารถใช้ได้ แนะนำวัตถุดิบที่จะทำมะพร้าวแก้ว อัตราส่วนการใช้วัตถุดิบต่างๆ
สิ่งที่ได้เรียนรู้
ได้ทราบว่า วัตถุดิบธรรมชาติ อัตราส่วนการใช้ ทดลองอัตราส่วนที่พอดีกับความอร่อย ประทับใจกลุ่มมะพร้าวแก้วบ้านหนองม่วง หมู่ที่ 10 มากๆ ทุกคนสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
สรุปกิจกรรมที่ได้เข้าร่วม
จากกิจกรรมข้างต้นนี้ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มภายในตำบลถนนหัก และกลุ่มผู้ปฎิบัติงาน U2T เป็นอย่างมาก สามารถนำไปต่อยอด เป็นรายได้ให้กับกลุ่ม ทำให้กลุ่มได้มาพูดคุยกันถึงปัญหา และความต้องการของกลุ่ม ช่วยกันหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป ในส่วนของหน้าที่ ที่ได้รับผิดชอบได้ทำอย่างเต็มที่ในส่วนที่บกพร่องก็ทำให้มันดีขึ้น ในทุกกิจกรรมภายในทีมจะมีการพูดคุยถึงสิ่งที่สำเร็จ และสิ่งที่ควรแก้ไขตรงจุดไหนทุกกิจกรรม ทำให้กิจกรรมผ่านไปด้วยดี กลุ่มภายในตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ความร่วมมือดีมาก ทุกกลุ่มสนใจ เปิดใจที่จะเรียนรู้เสนอสิ่งที่กลุ่มต้องการ มีการตอนรับผู้ปกฏิบัติงานและอาจารย์เป็นอย่างดี อบอุ่นมากๆ ประทับใจมากๆค่ะ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T FOR BCG) ที่มีโครงการเข้ามาสนับสนุนชุมชน ให้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายในชุมชน และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์ประจำโครงการที่ให้โอกาสเข้ามาทำงาน เข้ามาเรียนรู้ ในกิจกรรมครั้งนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ