กิจกรรมประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ข้าพเจ้า นางสาวสิริยากร ไกรพะเนาว์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ได้รับมอบหมายงานในเดือนกรกฎาคม โดยผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศโครงการ และข้อมูลที่สำคัญ สำหรับการปฏิบัติงานในโครงการ ผ่าน YouTube Live เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตำบลของตนเอง วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจาก นายจารึก คนชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก และคณะผู้ ร่วมกับ อาจารย์ ดร.คคนางค์ ช่อชู และ อาจารย์สุจิตรา ยางนอก อาจารย์หัวหน้าโครงการและที่ปรึกษาโครงการ และมีผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG จำนวน 10 คน ซึ่งประกอบด้วยบัณฑิตจบใหม่และประชาชน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาตำบล และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าในตำบล เช่น กระยาสารท และมะพร้าวเผา ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีแนวทางการพัฒนากระยาสารท ผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบล
ผลการดำเนินงาน พบว่า จากสภาพบริบทของชุมชนในตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ชุมชนเก่าแก่ และเป็นเมืองสำคัญในอดีตของอำเภอนางรอง ทำให้วิถีในอดีตประกอบอาชีพเกษตร เช่น ข้าว กล้วย มะพร้าว ดังนั้น จึงมีการทำขนมไทยพื้นถิ่นกระยาสารท ซึ่งมีความผูกพันกับคนในตำบล ประกอบกับกระยาสารท เป็นขนมในการประกอบพิธีกรรมและงานบุญประเพณีของท้องถิ่น มีชาวบ้านที่เป็นผู้สืบสานการทำกระยาสารท โดยเฉพาะในหมู่ 1 และหมู่ 5 ปัจจุบันนับเป็นสินค้าของชุมชนที่ได้จดทะเบียนรับรองสินค้า OTOP เป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว มีส่วนผสมในการทำกระยาสารทที่ได้มาจากในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น ข้าวตอก ข้าวพอง มะพร้าว น้ำตาล เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น พบว่า กระยาสารทยังมีรูปแบบดั่งเดิม และ ยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับปัจจุบัน ข้าพเจ้าและทีมงานจึงสนใจที่จะร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมกระยาสารทเพื่อส่งเสริมให้ตำบลถนนหักได้มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จัก เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีสินค้าที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน โดยโครงการจะร่วมพัฒนากระยาสารท ให้มีรูปแบบขนาดพอดีคำ เพิ่มสีสันด้วยสีธรรมชาติและพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า ให้มีความน่าสนใจและมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น และอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและต้องห้ามพลาดคือ มะพร้าวเผา โครงการแปรรูปมะพร้าวเผาสู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก มะพร้าวที่เป็นวัตถุดิบชาวบ้านที่ยังมีการปลูกและใช้พันธุ์พื้นบ้านดั่งเดิม คือ มะพร้าวหมูสี และมะพร้าวน้ำหอม ที่มีรสหวาน หอม ปัจจุบันนับเป็นสินค้าของชุมชน เป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามมะพร้าวเผามีข้อจำกัดในด้านระยะเวลาของการเก็บรักษาไม่สามารถส่งให้ลูกค้าที่อยู่ห่างไกล ข้าพเจ้าและทีมงานประจำโครงการจึงมีการประชุมและคิดค้นนวัตกรรมที่สามารถนำมะพร้าวเผามาแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนและผลิตภัณฑ์ ให้ได้คุณภาพและมาตรฐานสินค้า โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์และสร้างแบรนด์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าให้มีมาตรฐาน และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนต่อไป
นอกจากนี้ อาจารย์ประจำตำบลถนนหัก ได้ประชุมแนวทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG โดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
และทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับหมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลของตำบล จากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน เกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลปัญหา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นด้านการพัฒนาตำบล การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า และการZero waste คือ การนำขี้เถ้ามะพร้าว มาทำส่วนผสมดินปลูกต้นไม้ เพื่อตอบสนองความต้องการของโครงการ U2T for BCG ในตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในพื้นที่ตำบลถนนหักมากยิ่งขึ้น