โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

HS12-2 ตำบลถนนหัก

          ข้าพเจ้า นางสาวสิริยากร ไกรพะเนาว์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่

ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานประจำเดือนกันยายน 2565 ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายคือ บ้านตลาดแย้ และบ้านโคกเนิน สำรวจข้อมูลได้แก่ ข้อมูลผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น และเกษตรกรในท้องถิ่น ดำเนินการจัดกิจกรรมการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าตามบนถนนหักอำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2565 ณห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหักอำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสาธิตการทำมะพร้าวแก้วด้วยสีธรรมชาติ ร่วมกับกลุ่มสัมมาชีพบ้านหนองม่วง

การวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้า ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับเกียรติจาก นายจารึก คนชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T และกลุ้มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกระยาสารทบ้านผักหวาน หมู่ 1 กลุ่มสัมมาชีพบ้านหนองม่วง (มะพร้าวแก้ว) โดยมีการชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ โดย อาจารย์ ดร. คคนางค์ ช่อชู หัวหน้าโครงการ U2T ตำบลถนนหัก การกล่าวรายงานการคืนข้อมูลการขับเคลื่อนงานในรอบเดือนที่ผ่านมาในพื้นที่เป้าหมายตำบลถนนหัก โดย นายธีร์กฤติ ชำนาญจิตร และนางสาวสิริยากร  ไกรพะเนาว์ ผู้ปฎิบัติงานโครงการ U2T โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ได้มีการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนอย่างมีส่วนร่วม(AIC) ตำบลถนนหัก ภายใต้โครงการ U2T ดังนี้

1.ทบทวนสภาพปัญหาที่พบของผลิตภัณฑ์/สินค้าในชุมชนตำบลถนนหัก

2.ทางออก(ภาพฝัน)ที่อยากเห็นและแนวโน้มในอนาคตจะพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าในชุมชนอย่างไร (การค้นหาอัตลักษณ์/แนวทางพัฒนา/ทางเลือก

3.การจัดทำแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน ตำบลถนนหัก

4.การนำแผนสู่การปฎิบัติการโดยการเขียนโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน ตำบลถนนหัก การพัฒนาโครงการ วิพากษ์ เติมเต็ม สรุป โดย อาจารย์ ดร. คคนางค์  ช่อชู หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการU2T for BCG ตำบลถนนหัก ผู้อำนวยการสำนักบริการทางวิชาการ หัวหน้าสาขาวิชาการพัฒนาสังคม อาจารย์ ดร. จริยาภรณ์ ปิตาทะสังข์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาสังคม ที่ปรึกษาโครงการ อาจารย์ สุจิตรา ยางนอก อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาสังคม ที่ปรึกษาโครงการ และมีการสรุป กิจกรรมเติมเต็ม/แลกเปลี่ยน

ดำเนินการจัดกิจกรรมสาธิตการทำมะพร้าวแก้วด้วยสีธรรมชาติ ร่วมกับกลุ่มสัมมาชีพบ้านหนองม่วง โดยทีมงานผู้ปฎิบัติงานได้ร่วมกันประสารงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ได้เชิญอาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป มาให้ความรู้กับกลุ่มสัมมาชีพ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้ว โดยการใช้สีธรรมชาติ สีม่วงจากดอกอัญชัน สีเขียวจากใบเตย สีแดงจากกระเจี๊ยบ และได้ทดลองทำสีเหลืองจากขมิ้น การดำเนินงานในครั้งนี้ ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นที่ศาลาบ้านหนองม่วงหมู่ 10 มีสมาชิกกลุ่มมะพร้าวแก้วจำนวน 5 คน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โดยผู้ร่วมกิจกรรมได้รับความรู้จากวิทยากร เช่น ทำอย่างไร มะพร้าวแก้วจะมีสีสันน่าทาน ทำอย่างไร มะพร้าวแก้วจะมีกลิ่นหอม ทำอย่างไรมะพร้าวแก้วจะแข็ง และการจัดทำแพ็คเกจจิ้งผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงาม   มะพร้าวแก้ว ขนมไทยโบราณ ที่มีรสชาติหวานหอม คัดสรรเนื้อมะพร้าวหมูสีที่เนื้ออ่อนนุ่มพอดี มาให้เป็นวัตถุดิบสำคัญ และมีส่วนประกอบต่างๆดังนี้ เนื้อมะพร้าวหมูสีอ่อน หรือเนื้อมะพร้าวเผา น้ำตาลทรายขาว น้ำเปล่า เกลือ ผสมสีธรรมชาติ สีแดงจากน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น สีเขียวจากน้ำใบเตยเข้มข้น สีม่วงจากน้ำอัญชันเข้มข้น ขั้นตอนและวิธีการทำมะพร้าวแก ตั้งกะทะ ผสมน้ำเปล่า น้ำตาลทราย เข้าด้วยกัน นำมะพร้าวหมูสีขูดเส้นหรือขุดเป็นชิ้นลงไปผัดไฟอ่อนจนกระทั่งน้ำตาลงวด ปรุงรสด้วยเกลือ  แบ่งมะพร้าวหมูสีขูดเส้นที่ผัดจนงวดแล้วเป็น 3 ส่วน ใส่น้ำสีต่าง ๆ ลงไปผัดจนกระทั่งสีกระจายทั่วดี (เข้ม อ่อน ตามใจชอบ) และผัดจนงวดอีกรอบ นำมะพร้าวหมูสีที่ผัดจนงวดแล้วมาใส่ลงถ้วยขนาดเล็กนำไปตากลม หรือ เข้าเตาอบไฟอ่อน(50 องศาเซลเซียส) จนกระทั่งแห้งดี พร้อมเสิร์ฟ และจำหน่ายในราคาถุงละ25 บาท

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมกันติดต่อประสานงานกับ นางภัทรวดี   มักขุนทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และสำนักงานเกษตรอำเภอนางรอง เกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ให้กับกลุ่มกระยาสารทบ้านผักหวานหมู่ 1 และกลุ่มสัมมาชีพบ้านหนองม่วง โดยข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมกันศึกษา ชื่อ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับข้อบังคับกลุ่มอาชีพ วัตถุประสงค์ของกลุ่ม สมาชิกภาพ คุณสมบัติของสมาชิก เงินทุนของกลุ่ม การดำเนินงานของกลุ่ม คณะกรรมการบริหารกลุ่ม คุณสมบัติของคณะกรรมการ และการแก้ไขหรือเพิ่มเติมระเบียบข้อบังคับ โดยข้าพเจ้าและทีมงานได้เป็นผู้อำนวยความสะดวกและเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มกระยาสารทบ้านผักกวานหมู่ 1 และกลุ่มสัมมาชีพบ้านหนองม่วง เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีการรวมกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ ในด้านการผลิต การตลาด และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จของกลุ่มอาชีพต่อไป

ทั้งนี้คณะอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และผู้ปฎิบัติงาน ได้ร่วมกันเพิ่มช่องทางการขาย ผ่านทางเพจfacebook โดยใช้ชื่อเพจว่า U2T ของดีตำบลถนนหัก เพื่อเป็นช่องทางข่าวสาร การอัพเดทกิจกรรม และช่องทางการติดต่อสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์/สินค้า ของดีตำบลถนนหัก การดำเนินการขายผ่าน Shopee เพื่อเพิ่มช่องทางการขายและยอดขายให้กับกลุ่มอาชีพ ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่า10% ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ สำหรับกิจกรรมการทำงานในเดือนสุดท้ายของโครงการ ข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าในตำบล และร่วมกันปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษาษาโครงการอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ตำบลถนนหักเป็นที่รู้จักในนามของดีผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารทบ้านผักหวานหมู่1 สนใจติดต่อ โทร.093-8274177

มะพร้าวแก้วกลุ่มสัมมาชีพบ้านหนองม่วง สนใจติดต่อ โทร.087-2400846