บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2565

โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

HS12-2 ตำบลถนนหัก

ข้าพเจ้า นายรัตพล นิเวศกูล ประเภท ประชาชนทั่วไป ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  

    วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม ..2565 ได้รับมอบหมายงานในเดือนกรกฎาคม โดยผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศโครงการ และข้อมูลที่สำคัญ สำหรับการปฏิบัติงานในโครงการ ผ่าน YouTube Live               เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตำบลของตนเอง

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหักอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจาก นายจารึก คนชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก และคณะผู้ ร่วมกับ อาจารย์ ดร.คคนางค์ ช่อชู และ อาจารย์สุจิตรา ยางนอกอาจารย์หัวหน้าโครงการและ              ที่ปรึกษาโครงการ และมีผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG จำนวน 10 คน ซึ่งประกอบด้วยบัณฑิตจบใหม่และประชาชน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้เพื่อหาแนวทางการพัฒนาตำบล และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าในตำบล เช่น กระยาสารท และมะพร้าวเผา ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีแนวทางการพัฒนากระยาสารท ผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบล 

ผลจากการดำเนินงานครั้งนี้ พบว่า กระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ตำบลถนนหักมีชาวบ้านหลายคนสนใจทำขนมกระยาสารทจึงรวมกลุ่มกันทำ เพื่อจำหน่า เป็นอาชีพเสริม และ ทีมผู้ปฎิบัติงานโครงการu2t for BCG ได้มองเห็นว่าเราควรจะพัฒนาขนมกระยาสารท และมะพร้าเผาให้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ต้องการของตลาดต่อไป

นอกจากนี้ อาจารย์ประจำตำบลถนนหัก ได้ประชุมแนวทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG โดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

และ ข้าพเจ้า ได้รับมอบหมายในบทบาทหน้าที่  เป็นคนลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน  เพื่อหาข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเก็บข้อมูล กระบวนกระผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้เรียนรู้ถึงปัญหาละวิธีแก้ไข

จากการดำเนินการดังกล่าว สะท้อนถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องทำงานเป็นทีมทำให้มีความชัดเจนถึงแนวทางในการปฏิบัติงาน U2T for BCG ในพื้นที่ตำบลถนนหักมากขึ้น และ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและ            มีความน่าสนใจ คือ กระยาสารท ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าประจำในตำบล ที่สืบเนื่องมาจากตำบลถนนหัก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง และมีปริมาณน้ำฝนปานกลาง ประชากรในตำบลถนนหักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ปลูกข้าว จึงทำให้มีข้าวหอมมะลิ ข้าวจ้าว และข้าวเหนียว เป็นจำนวนมาก จึงได้มีภูมิปัญญาชาวบ้านโดยได้นำข้าวเหนียวมาแปรรูปเป็นข้าวตอก ข้าวพอง ซึ่งเป็นวัตถุดิบ  ในการทำขนมกระยาสารทสูตรโบราณ ขนมกระยาสารทในสมัยก่อนเป็นขนมทีทำขึ้นในช่วงทำบุญวันสารทไทย ช่วงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และจะมีการตักบาตรด้วยกระยาสาทร มีความเชื่อว่า หากไม่ใส่บาตรด้วยกระยาสาทรผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะไม่ได้รับส่วนบุญกุศลที่ทำในวันนี้ เมื่อทำบุญกันเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งกระยามสาทรที่ทำ เป็นการแลกเปลี่ยนกัน สำหรับ วัตถุดิบการทำ   กระยาสารท ประกอบด้วย 1.ข้าวตอก  2.ข้าวพอง 3.กะทิสด   4.น้ำตาลอ้อย  5.น้ำตาลมะพร้าว 6.เกลือ 7. แปะแซ 8.ถั่วลิสง และ 9.งาและขั้นตอนและวิธีการทำกระยาสารท มีดังนี้คือ 1. เคี้ยวนำกะทิโดยใช้ไฟอ่อน ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลอ้อย น้ำตาลมะพร้าว เกลือและแปะแซลงไปเคี้ยวไฟอ่อนกว่า 10 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มความหอม หวาน มัน ของน้ำกะทิ 2. เมื่อน้ำกะทิเข้มข้นได้ที่แล้ว เตรียมข้าวตอกกับข้าวพองสำหรับคลุกเคล้ากับน้ำกะทิ และ 3. นำขนมกระยาสารทบรรจุภัณฑ์ตาม              ที่ต้องการ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ให้เล็กพอดีคำ และจัดทำแพ็คเก็ต ให้สวยงาม ยกระดับผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มรสชาติให้มีรสชาติหลากหลาย เพิ่มสีสันให้ดูโดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดต่อไป

ภาพถ่ายกิจกรรม