การปฏิบัติงานตามโครงการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด

ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

นายอภิวัต สำรวมรัมย์ บัณฑิตจบใหม่

หลังจากที่ได้ทำสัญญาจ้าง และรายงานตัวแล้วนั้น ทางผู้ปฏิบัติงาน ได้เข้ารับการปฐมนิเทศออนไลน์ รับฟังคำชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ของโครงการ u2t BCG เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565

                ข้าพเจ้านายอภิวัต สำรวมรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ พร้อมทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลบุโพธิ์ได้ไปทำการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเรื่องราวของตำบลบุโพธิ์ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรซึ่งทำให้รู้ ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แยกออกจากตำบลตลาดโพธิ์ ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2530 เป็นระยะเวลากำเนิดของตำบลบุโพธิ์ การเรียกชื่อสถานที่ต่างๆมักอาศัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับตำบลบุโพธิ์เป็นชื่อเรียกตามขานตามธรรมชาติ โดยทางทิศเหนือของตำบลมีต้นโพธิ์อยู่ประมาณจำนวนนึ่งห่างจากตำบลประมาณ 500 เมตร และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นโพธิ์นั้นห่างประมาณ 50 เมตร เนื่องจากต้นโพธิ์เกิดเป็นจำนวนมากมองไปทางไหนก็เจอแต่ต้นโพธิ์ จึงเรียกว่าบุโพธิ์ (ตามสำเนียงของคนสมัยนั้น) จนมาเป็นชื่อ “ตำบลบุโพธ์” ถึงในปัจจุบัน

 

 

ภาพประกอบ “ต้นโพธิ์”

 

ในชุมชนตำบลบุโพธิ์มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายจนสืบทอดมาสู่รุ่นลูกสู่รุ่นหลาน ผ้าไหมนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยมีชื่อเสียงและสืบทอดมายาวนานที่ต้องใส่รายละเอียดมาตั้งแต่การผลูกหม่อน คัดเลือกพันธุ์ไหมและดูแลฟูมฟัก ประณีตการสาวไหมใส่ใจสู่การถักทอ จนถึงการออกแบบการตัดเย็บอาภรณ์ผ้าไหมจึงเป็นผืนผ้าที่ทำจากสองมือด้วยความใส่ใจในทุกขั้นตอน ความพิเศษของผ้าไหมคือ มีความมันวาว เป็นประกาย โด่ดเด่นด้วยสีสันสะดุดตาและลักษณ์ผ้าไหมตำบลบุโพธิ์ “ผ้าซิ่นตีนแดง” และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลคือ “ลายขอเจ้าฟ้า” และอีกทั้งนำเศษผ้าไหมจาการตัดผ้าถุงแล้วมาทำเป็นพวงกุญแจกระเป๋าที่ทำมาจากเศษผ้าไหม สะดวกต่อการพกพา เหมาะสำหรับใช้ใส่เศษเหรียญ, ธนบัตร, โทรศัพท์ รวมไปถึงการให้เป็นของชำร่วยแก่แขกที่มาร่วมงานบุญต่างๆ

 

 

ภาพประกอบ ผ้าซิ่นตีนแดง ผ้าไหมลายขอเจ้าฟ้า พวงกุญแจกระเป๋าที่ทำมาจากผ้าไหม

 

           ในชุมชนตำบลบุโพธิ์มีการเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมากจึงนำมูลวัวที่ได้จากการทำปศุสัตว์มาใช้ในงานเกษตร โดยไม่ผ่านกรรมวิธีในการหมักทางชีวภาพนำมูลวัวตากแห้งมาผสมกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเองการใช้มูลวัวสดใส่ลงในต้นพืชโดยตรงทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ใบไม้บางต้นเหลืองเนื่องจากความเข้มข้นของไนโตรเจนสูงเกินไปเพื่อย่อยสลายองค์ประกอบของธาตุสำคัญที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโตในรูปแบบอัดเป็นเม็ดเพื่อสะดวกต่อการจำหน่ายและใช้งาน

1.นำมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดมาใช้ในงานเกษตรกรรมเช่น ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ, ปลูกหญ้าไว้สำหรับเป็นอาหารของวัวต่อไปได้

2.ชาวบ้านเข้าใจหลักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

3.ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนจากการแปรรูปสินค้าจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

 

     ภาพประกอบ การเลี้ยงวัว มูลวัว มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด

 

ในปัจจุบันตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  มีจำนวนหมู่บ้านทั้งทั้งสิ้น 8 หมู่บ้าน จำนวน 960 หลังคาเรือน จำนวนประชากรในชุมชน จำนวน 4,720 คน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยใช้วัดเป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา งานบุญ และงานประเพณีต่างๆ ซึ่งประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญของชุมชนในเขตตำบลบุโพธิ์ ได้แก่ 1.ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน 2.ประเพณีวันเข้าพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีทำบุญเทศนามหาชาติ ทำบุญข้าวสารเดือนสิบสอง ตักบาตรเทโว ทอดกฐิน ปริวาสกรรม ตีข้าว ลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น

 

ภาพประกอบ ประเพณีวันสงกรานต์

 

ประชาชนในชุมชนตำบลบุโพธิ์ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา) ซึ่งมีที่ดินอยู่ในเขตตำบลบุโพธิ์ ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อถึงฤดูทำนา ชาวบ้านจะไปพักอยู่ที่นาของตนจนเสร็จจึงกลับบ้านพอถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็เช่นกัน ชาวบ้านพยายามทำงานแข่งกับเวลาการเก็บเกี่ยวมักจะแล้วเสร็จทันวันขึ้นปีใหม่ของทุกปีทั้งนี้เพื่อให้รางวัลชีวิตแก่ตนโดยร่วมสนุกสนานในวันสนุกสนานในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เมื่อเสร็จจากอาชีพทำนาเป็นหลัก ชาวบ้านก็จะพากันไปหาปลาตามลำน้ำตลาดบ้าง ตามหนองน้ำต่างๆบ้าง เรียกว่า “สระปลา” ได้รับความสุขตามสภาพชนบทที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายและมีปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบประปรายเพื่อนำมาทอผ้าไหมและรับจ้างมัดหมี่เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้

 

 

 ภาพประกอบ อาชีพเกษตรกรรม (ทำนา)