กระผม นาย สมชาย ปูดวงรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ประจำตำบลบุโพธิ์ อำเภอปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ตำบลบุโพธิ์ แบ่งเขตการปกครอง เป็น 9 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านตูมหวาน
หมู่ที่ 2 บ้านสนวน
หมู่ที่ 3 บ้านบุผู้หญิง
หมู่ที่ 4 บ้านหนองเจ้าหัว
หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาบุญ
หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ไทยเจริญ
หมู่ที่ 7 บ้านนาศรีนวล
หมู่ที่ 8 บ้านหนองแวงงาม
หมู่ที่ 9 บ้านหนองโดน
จำนวนประชากร มีทั้งหมด 804 หลังคาเรือน ประชากร 4255 คน
และหมู่บ้านที่สนใจเข้าร่วมโครงการการแปรรูปมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดคือ บ้านหนองเจ้าหัว หมู่ที่ 4 บ้านหนองเจ้าหัวมีเกษตกรผู้เลี้ยงวัว อยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีมูลวัวอยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนมากชาวบ้านในหมู่บ้านจะนำมูลวัวไปใส่พืชหรือนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ผ่านการหมักจุลินทรีย์ ซึ่งบางทีทำให้ดินเค็มเกินไป พืชไม่งอกงาม และมีวัชพืชขึ้นอยู่จำนวนมาก การทำมูลวัวหมักจุลินทรีย์ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองเจ้าหัว คือ นายแสน โนนทราย เป็นผู้อำนวยความสะดวกทั้งสถานที่หมักปุ๋ยและดำเนินโครงการ
ส่วนประกอบของมูลวัวหมักจุลนทรีย์จได้มาจากธรรมชาติทั้งสิ้นตรงตามหัวข้อโครงการ u2t for bcg
BCG คืออะไร
BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม
ซึ่งส่วนผสมมีดังนี้
- มูลวัวตากแห้ง
- น้ำเปล่า(น้ำประปา น้ำคลอง)
- EM
- เชื้อราไตรโคเดอร์มา
- กากน้ำตาล
วิธีการทำมูลวัวหมัก
คือเอาส่วนผสมทั้งหมดที่กล่าวมาค่อยเทผสมคลุกเคล้ากับมูลวัวตากแห้ง จนสามารถปั้นเป็นก้อนติดมือได้ แต่ไม่เละ แล้วนำบรรจุใส่กระสอบหรือถุงปุ๋ย ปิดปากถุงให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่มเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วัน จึงนำมาอัดเม็ด
อ้างอิง:
https://www.thansettakij.com/economy/529436