เขียนโดย : นายอภิวัต สำรวมรัมย์ ประเภทบัณฑิต
หลักสูตร : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)
การปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคมทางทีมของตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ได้มีการวางแผนร่วมกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดและพวงกุญแจกระเป๋าผ้าไหมอเนกประสงค์อย่างต่อเนื่องให้แก่ชุมชน และมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD เพื่อให้เกิดความเข้าใจและรับรู้ความต้องการของชุมชุนเพิ่มขึ้นอีกการปฏิบัติงานของเดือนสิงหาคม ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามกำหนดแผนงานที่อาจารย์ประจำตำบลได้มอบหมายให้ ดังนี้ เข้าร่วมประชุมออนไลน์ตามกำหนดนัดหมาย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ผ่าน Google meet เป็นการประชุมผู้ปฏิบัติงาน ตำบลบุโพธิ์ เพื่อแจ้งเป้าหมาย ชี้แจงแนวทาง และระบุกำหนดการปฏิบัติงานของเดือนสิงหาคมให้รับทราบร่วมกัน
ทางผู้ปฏิบัติงานตำบลบุโพธิ์ ได้ลงพื้นที่ภายในชุมชนตำบลบุโพธิ์ได้เป็นผลิตภัณฑ์พวงกุญแจกระเป๋าผ้าไหมอเนกประสงค์และได้พบว่าชาวบ้านบ้านนาสีนวล หมู่ที่ 6 มีการเลี้ยงหม่อนและทอผ้าไหมกันค่อนข้างมากทางชาวบ้านจึงนำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดผ้าไหมเป็นผืนนำมามาพัฒนาเพื่อการเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปผ้าไหม โดยกลุ่มวิสาหกิจบ้านนาสีนวล เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา คือ พวงกุญแจกระเป๋าอเนกประสงค์ ที่ทำมาจากเศษผ้าไหม เหมาะสำหรับใช้ใส่เศษเหรียญ, ธนบัตร, โทรศัพท์ รวมไปถึงการให้เป็นของชำร่วยแก่แขกที่มาร่วมงานบุญต่างๆ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้คือ ลดปริมาณขยะเศษผ้า และกลุ่มวิสาหกิจมีรายเพิ่มจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ทางผู้ปฏิบัติงานตำบลบุโพธิ์ ได้ลงพื้นที่ภายในชุมชนตำบลบุโพธิ์ได้เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดและได้พบว่าชาวบ้านบ้านหนองเจ้าหัว หมู่ที่ 4 มีการกลุ่มเลี้ยงวัวกันค่อนข้างมากทางชาวบ้านจึงมีมูลวัวเป็นจำนวนมากและสามารถหาวัสดุมาทำได้ง่าย จึงได้ตกลงกับชาวบ้านและนัดหมายผู้มีความสนใจที่จะทำมูลวัวจุลินทรีย์อัดเม็ด ประกอบกับชาวบ้านในปฏิบัติงานทุกคนลงพื้นที่หมู่บ้านหนองเจ้าหัวหมู่4 เพื่อทำการหมักมูลวัวที่บ้าน นายแสน โนนทราย ผู้ใหญ่บ้านหนองเจ้าหัว หมู่ที่ 4
ส่วนผสมของมูลวัวหมักจุลินทรีย์
1.มูลวัว 20 กิโลกรัม 2.EM 1ลิตร 3.เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 ลิตร 4.กากน้ำตาล 2 ลิตร
ประโยชย์ของมูลวัวหมักจุลินทรีย์
สามารถใส่ในพืชได้ทุกชนิดช่วยปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ในดินและน้ำ ทั้งยังช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ทำให้ดินมีความร่วนซุย และช่วยดูดซับความชื้นไว้ในดินให้นานขึ้น
การลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ทางผู้ปฏิบัติงานได้มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลสำรวจบริบทของชุมชน โดยมีการลงพื้นที่สำรวจชุมชนร่วมกัน โดยกำหนดให้เก็บข้อมูลทั้งหมด 500 ข้อมูล ดังนั้นจึงได้มีแบ่งให้ผู้ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลคนละ 50 ข้อมูล มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน บ้านบุโพธิ์ หมู่ที่ 1 บ้านตูมหวาน หมู่ที่ 2 บ้านบุผู้หญิง หมู่ที่ 3 บ้านหนองเจ้าหัว หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาบุญ หมู่ที่ 5 บ้านใหม่ไทยเจริญ หมู่ที่ 6 บ้านนาสีนวล หมู่ที่ 7 บ้านหนองแวงงาม หมู่ที่ 8 โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบ คือ บ้านตูมหวาน หมู่ 2 ในพื้นที่ตำบลบุโพธิ์ เนื่องจากเป็นตำบลเล็กที่สุดในอำเภอลำปลายมาศ ข้อมูลถูกแบ่งเป็น
– ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด : จากการสำรวจโดยส่วนมาก จะเป็นประชาชนเดินทางมาในช่วงเทศกาลและเดินทางกลับเท่านั้น ไม่มีการกลับมาพักถาวรหรือทำการพักแบบระยะยาว
– อาหารประจำท้องถิ่น : โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่นำพืช ผัก หรือสัตว์ที่เกิดตามธรรมชาติมาทำเป็นเมนูต่างๆที่น่ารับประทานหลากหลายเมนู เช่น แกงหอยขมใส่ใบชะพลู แกงมะละกอใส่ปูนา
– สัตว์ประจำท้องถิ่น : ส่วนมากจะเป็นวัว ,ควาย เพราะสามารถทำรายได้ดีเวลาขายในแต่ละครั้ง
– แหล่งน้ำประจำท้องถิ่น : จะมีสระน้ำประจำหมู่บ้านที่ไว้อุปโภค บริโภค ส่วนรวมของชุมชน มีน้ำเพียงพอใช้ตลอดปี และเพื่อไว้ทำการเกษตรในชุมชน
– พืชในท้องถิ่น : สิ่งที่ปลูกไว้กินและขายได้ เช่น พืชผักสวนครัว
– ร้านอาหารในท้องถิ่น : จากการสำรวจและได้สอบถามประชาชนในหมู่บ้าน พบว่า ในหมู่บ้านเล็กๆหนึ่งหมู่บ้านจะมีร้านขายของช่ำและร้านอาหารอยู่เพียง 2-3 ร้าน เนื่องจากว่าเป็นชุมชนขนาดเล็กที่สามารถซื้อขายและเป็นที่รู้จักกันได้เพียงคนในชุมชนนั้นๆ
– เกษตรกรในท้องถิ่น : โดยส่วนมากแล้ว ชาวบ้านจะมีการทำเกษตร ปลูกข้าว เกือบทุกหลังคาเรือน
– ภูมิปัญญาในท้องถิ่น : ชาวบ้านจะมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม
และในเดือนสิงหาคม ยังคงเข้าไปศึกษาบทเรียนออนไลน์ผ่าน U2T BCG learning เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้สำหรับสมาชิก U2T ซึ่งเดือนนี้ เข้าสู่บทเรียน “พัฒนา” คือ สร้างคุณค่าสินค้าละบริการ (Value Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการ
ซึ่งสำหรับแผนการปฏิบัติงานต่อไปนั้น
ภายในเดือนกันยายน 2565 คณะผู้ปฏิบัติงาน ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้
– สรุปการทำงานในเดือนที่ผ่านมา และวางแผนการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่เหลือการประชาสัมพันธ์ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
– จัดเตรียมการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้กับชาวบ้านในชุมชนให้รับทราบข้อมูลเพิ่มมากขึ้น
– ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล TCD ให้ครบตามเป้าหมาย
– การสำรวจนั้นยังได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทางผู้ปฏิบัติงานจะยังคงเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป อีกทั้งในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นยังคงไม่เสร็จสมบูรณ์ ต้องมีการติดตามเพื่อที่จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ยกระดับเศรษฐกิจแก่กับชุมชนได้อย่างแน่นอน