โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG)

วิถีชีวิตเกษตรกรรมและอาชีพ

บทความประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565

          ข้าพเจ้า นายรุจิรงค์ เรืองคง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทประชาชน ประจำตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลภายในตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จากการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลวิถีชีวิตเกษตรกรรมและอาชีพในตำบลหินโคนพบว่า เกษตรกรรมในตำบลหินโคนมีดังนี้

1.อาชีพเกษตรกร ส่วนใหญ่เพาะปลูกข้าว ที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเป็นหลัก จึงต้องวางแผนระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักการผลิตน้ำตาลทรายอีก นั่นคือ อ้อย เริ่มตั้งแต่การเตรียมท่อนพันธุ์ ที่มีตาประมาณ 3-4 ข้อ มีความยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ซึ่งท่อนพันธุ์ต้องได้มาจากอ้อยที่ปลูกครั้งแรกเท่านั้น โดยปกติท่อนพันธุ์อ้อย 1 ข้อจะมี 1 ตา และตาอ้อยที่ทำให้อ้อยเจริญเติบโตดีนั้น ควรมีอายุของอ้อยประมาณ 6 เดือน การวางท่อนพันธุ์มีเทคนิคที่ทำให้อ้อยแตกกอได้สม่ำเสมอ คือ ต้องวางเหลื่อมทับกันโดยส่วนที่ทับกันนั้นต้องเป็นส่วนปลายและส่วนโคนของต้นอ้อย ส่วนการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม จะใช้สูตร 16-24-0 เพื่อเร่งการแตกรากพร้อมการวางท่อนพันธุ์ลงหลุมและกลบหลุม ขั้นตอนถัดไปจึงทำการปล่อยน้ำเข้าร่องปลูก

2.การประมง เป็นการจับสัตว์น้ำตามลำน้ำมาศ ได้แก่ ปลาและกบ ที่สามารถนำขายได้ทันที และอาจนำมาแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อีกด้วย

3.การทำปศุสัตว์ เช่น ฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่ โดยมูลสัตว์ที่ได้ในแต่ละวัน สามารถนำไปตากแห้ง แล้วหมักร่วมกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมูลสัตว์ แล้วนำไปใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกพืชชนิดต่างๆได้

ในพื้นที่ตำบลหินโคน มีการทำเกษตรผสมผสาน ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การแบ่งพื้นที่เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเริ่มจากจัดการดินและน้ำให้เพียงพอ ปลูกพืช ไม้ยืนต้น และเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ดี ปลูกป่าไว้ใช้เป็นพลังงาน อนุรักษ์พันธุกรรมพืชเพื่อสร้างความหลากหลาย ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ มีกิน มีอยู่ มีใช้ในพื้นที่ของตัวเอง

รูปภาพประกอบการลงพื้นที่

วิดีโอประกอบการลงพื้นที่