ข้าพเจ้านางสาวจีราวดี กันเกตุ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS02-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในตำบลหนองกงและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย
วันที่ 30 สิงหาคม 2565 ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับตำบลหนองโสนและตำบลหนองยายพิมพ์ ร่วมกันทำความสะอาดและจัดสถานที่งานทอดผ้าป่าสามัคคีที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ร่วมงานทอดผ้าป่าสามัคคี ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับคณะอาจารย์และทีมผู้ปฏิบัติงานโดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดหนองตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ / นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานเปิดงานในพิธี / รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประธานฝ่ายดำเนินการ / นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานฝ่าฆราวาส ร่วมกับผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ / นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายก อบต.หนองโสน / นายเดช สวัสดิ์พูน นายกอบต.หนองยายพิมพ์ / นายนพ บุญรอด เจ้าของวนเกษตร / นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ เจ้าของกระท่อมดินกินแดด / นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา ดำเนินการเสวนา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมด้วย คุณโจน จันได ที่ให้เกียรติมาร่วมบรรยายในครั้งนี้
วันที่ 11 กันยายน 2565 ร่วมอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างแบรนด์และการส่งสริมการขายผลิตภัณฑ์ โดยมีอาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ ได้มาบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างแบรนด์และการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ตำบลหนองกง” โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ต่อมา อาจารย์อรรถชาติ วัฒนสุข และ ผอ.ภาษิต วัฒนสุข ได้มาบรรยายเกี่ยวกับ “การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน การวิเคราะห์ต้นทุนสินค้าและการสร้างเพจจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ตำบลหนองกงทั้ง On-site และ Online” ได้มีการจัดตั้งกลุ่ม Facebook ในการขายผลิตภัณฑ์ของตำบลหนองกง โดยใช้ชื่อเพจว่า “หนองตาไก้น้อยทอผ้า”
วันที่ 14 กันยายน 2565 จัดสถานที่สำหรับออกบูธเพื่อจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ในตำบลภายใต้ U2T Marketplace
จากการปฏิบัติงานในครั้งนี้ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนให้ความสนใจในเรื่องที่ทางอาจารย์และทีมผู้ปฏิบัตินำไปถ่ายทอด เช่น การอบรมทำพวงกุญแจซึ่งชาวบ้านให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะสามารถนำไปทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ให้ตัวเองและครอบครัวอีกด้วย