โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ประจำเดือนกันยายน 2565

ข้าพเจ้า นางสาวลลิตา รังพงษ์ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิต HS12-2 ตำบลถนนหัก :  โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่า ของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคน พ.ศ.2565 ทางด้านผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก เพื่อจัดเตรียมสถานที่และซักซ้อมคิวงานเกี่ยวกับการจัดการประชุมและกิจกรรมระหว่างผู้ปฏิบัติงาน อาจารย์ประจำตำบล ตัวแทนชาวบ้านจากกลุ่มต่างๆและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยังได้เข้าไปยื่นหนังสือเชิญหน่วยงานต่างๆเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

วันอังคารที่ 22 สิงหาคน พ.ศ.2565 วันจัดการประชุมลักิจกรรมทางด้านของดิฉันได้อยู่ฝ่ายลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงานและแจกป้ายชื่อให้กับชาวบ้านจากกลุ่มต่างๆ คอยช่วยเหลือชาวบ้านในการเขียนและการทำกิจกรรมต่างๆในวันนี้ นอกจากนั้นยังได้ตัดต่อและเปิดวิดีทัศน์เกี่ยวกับการลงพื้นที่และการทำกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อให้ชาวบ้านได้ทราบถึงจุดประสงค์และให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน ทั้งยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งงกลุ่มและการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนและให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย หลังจากเสร็จกิจกรรมทางด้านผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลได้ร่วมประชุมและพูดคุยเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และยังได้ให้ประเมิณผลการทำงานของตัวเองเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองต่อไป

หลังจากการจัดการประชุมและกิจกรรมสรุปได้ว่า

  • ทางด้านกลุ่มกระยาสารทต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานช่วยผลักดันและพัฒนาในเรื่องการเพิ่มช่องทางออนไลน์ ต้องการเงินทุนหมุนเวียน และต้องการให้ช่วยออกแบบโลโก้ใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มเอกลักษณ์และเพิ่มแรงดึงดูดจากผู้บริโภค
  • ทางด้านกลุ่มมะพร้าวแก้วต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานช่วยผลักดันและพัฒนาในเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์และโลโก้ใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังต้องการผลักดันเรื่องการจัดตั้งกลุ่มให้กับชาวบ้าน และเพิ่มช่องทางการแปรรูปมะพร้าวในชุมชนให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • ทางด้านกลุ่มดินปลูกต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานช่วยผลักดันและพัฒนาในเรื่องการหาช่องทางเพื่อเพิ่มช่องทางการส่งออกนอกพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังต้องการแหล่งเงินทุนในการสนับสนุนเพื่อช่วยในการหมุนเวียนช่องทางการเงินของกลุ่ม และยังต้องการสร้างเพจและโลโก้ใหม่เพื่อให้มีกลุ่มผู้บริโภคที่ขยายวงกว้างมากขึ้น

วันอาทิตย์ ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2565 หลังจากผ่านการประชุมทางผู้ปฏิบัติงานได้นำข้อมูลไปพัฒนาและออกแบบให้เข้ากับเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม ทางผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อนำข้อมูลและเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มและการขอมาตรฐานสินค้า นำไปให้ชาวบ้านทราบเพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มและดำเนินการยื่นเอกสารให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังนำรายละเอียดของโลโก้ไปให้ชาวบ้านแต่ละกลุ่มดูและให้ความเห็นเบื้องต้น

วันอังคาร ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565 ทางด้านอาจารย์ประจำตำบลได้นำวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการทำมะพร้าวแก้วเพื่อให้ชาวบ้านได้มีการพัฒนาสูตรให้มีความอร่อย หอม เพิ่มมากขึ้นทั้งยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างวิทยากรและชาวบ้านเพื่อให้เกิดการพัฒนาในระยะยาวอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2565 ทางด้านผู้ปฏิบัติงานได้ลงเพื่อที่เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับเข้าพบกรรมการ ศส.ปชต. ณ ที่ทำการ ศศ.ปชต. เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รามถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชนเพื่อได้มีประเด็นซักถามและแลกเปลี่ยน ทั้งยังให้พาลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านสอดกล้องกับ วิถีประชาธิปไตยอย่างไร พาลงพื้นที่ และเพื่อพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนถึงการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิ เลือกตั้งทุกระดับ สอบถามถึงผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไรเพื่อได้มีประเด็นซักถามและแลกเปลี่ยน นอกจากนั้นยังได้ลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านสอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่อย่างไร เพื่อได้มีประเด็นซักถามและแลกเปลี่ยน