ข้าพเจ้า นางสาวมนรดา ฉิมรัมย์ ประเภท : บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
รับผิดชอบเขตพื้นที่ ตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ทีมงานผู้ปฏิบัติงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG และที่ปรึกษาโครงการตำบลหนองโดนได้มีการประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google Meet เพื่อนัดหมายแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานที่จะจัดขึ้นในวันที่24-25 สิงหาคม ให้กับผู้ปฏิบัติหน้างาน ซึ่งดิฉันได้รับหน้าที่ติดต่อผู้นำชุมชนหมู่ที่4 ประสานชาวบ้านในชุมชนให้เข้าร่วมโครงการที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้ และฝ่ายสถานที่

ในวันที่ 23-24 สิงหาคม 2565 ทางทีมงาน u2t ตำบลหนองโดน ได้จัดโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อผลผลิตทางการเกษตรโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทำฮอร์โมนไข่และมูลสัตว์อัดเม็ด ทีมงานจึงได้มีการชักชวนชาวบ้านให้มาเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกับวิทยากร ทางทีมงานจึงได้ประสานงานกับชาวบ้านเพื่อนัดหมายวันและเวลาเพื่อนัดหมายการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ซึ่งทีมงานได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพในชุมชน ให้กับชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองโดน ได้มีส่วนร่วมในการอบรมในครั้งนี้ และได้นำความรู้ที่ได้รับในการเข้ารับการอบรมไปปรับใช้ในพื้นที่เกษตรของตน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี แล้วหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ชีวิภาพที่มีในชุมชน และสามารถทำเองได้
สิ่งที่ทีมงานและชาวบ้านได้มีกิจกรรมร่วมกันในการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ มีดังนี้
1. ผู้เข้ารับการอบรมทำการลงทะเบียนกับทีมงาน
2. ทีมงานงานได้จัดหาวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในชุมชน
3. วิทยากรได้บรรยายให้ความรู้ผลิตภัณฑ์ในชุมชน และช่องทางการตลาด
4. ชาวบ้านได้แลกเปลี่ยนรู้ร่วมกับวิทยากร และได้สาธิตการทำฮอโมนไข่และทดลองการอัดมูลสัตว์อัดเม็ด
5. ทางทีม u2t ตำบลหนองโดน ได้มีการจัดทำฮอโมนไข่ร่วมกับชาวบ้านที่มาเข้าร่วมโครงการและได้แจกจ่ายให้ชาวบ้านไปทดลองใช้ฟรี
6. กิจกรรมการอบรมเสร็จสิ้นลงด้วยดี

     

วันที่ 5-9 กันยายน 2565 ได้มีการลงพื้นที่ใบงาน ECT WEEK เข้าพบกรรมการ ศส.ปชต. ณ ที่ทำการ ศศ.ปชต. และให้ กรรมการ ศส.ปชต.จากการลงพื้นที่สอบถามประชาชนในชุมชุนบ้านหนองโดนในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการดำรงชีวิตของคนในชุมชนเพื่อให้ประชาชนนำไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้นำชุมชนผ่านกระบวนการสร้างและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน ประกอบด้วย

ด้านการลดรายจ่าย ประชาชนในพื้นที่มีการปลูกผักเพื่อรับประทานในครัวเรือนและบ้านครัวเรือนมีการปลูกเพื่อจำหน่วยการทำของใช้เพื่อใช้เอง  ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร

ด้านการเพิ่มรายได้ ชาวบ้านมีการแปรรูป  พัฒนาผลิตภัณฑ์จากสิ่งที่มีในชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น การแปรรูปจากกล้วย ไม่ว่าจะเป็นกล้วยตาก กลัวยฉาบ (นางปุ้ย  เจนะ ) เป็นผู้ดำเนินการ

ด้านการประหยัด (มีการออม มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต) ประชาชนในชุมชนบ้านหนองโดนมีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือประชาชนในชุมชนของตนเอง

ด้านการเรียนรู้ (สืบทอดภูมิปัญญา มีการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ซึ่งจากการลงพื้นที่สอบถามคนในชุมชนมีการสืบทอดภูมิปัญญาด้านจากจักรสาน เช่นการสานตะกร้าจากไม้ไผ่ กระบุง กระจาด และมีการทำไม้กวาดทางมะพร้าว (นายบุตรดา เตียงงา) ผู้ดำเนินการ

 

สิ่งที่ได้จักการปฏิบัติงานในครั้งนี้ รู้สึกประทับใจ ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือกับทีมงานเป็นอย่างดี ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในชุมชนอย่างเต็มความสามารถ ชาวบ้านได้แลกเปลี่ยนความรู้กับทีมงานร่วมกับวิทยากร รวมถึงการทดลองการทำฮอร์โมนไข่ และแจกให้ฟรีให้กับชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
กิจกรรมในเดือนกันยายน ทางทีมงานได้จัดทำการตลาด เปิดร้านค้าออนไลน์ ในshopee และการสร้างเพจfacebook ในการขายสินค้า และเพิ่มช่องทางขายในตลาดออนไลน์

สรุป การปฏิบัติงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ประจำเดือนกันยายน 2565 ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ประชาชน รวมไปถึงคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ช่วยแสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่ดี ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเรียบง่าย และสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี