โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T FOR BCG)

หลักสูตรHS18-2 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาว นิภาพร วงศาบุตร ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ประจำหลักสูตรHS18-2 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าไหม(แม่ทองดี) โดยมี คุณธัญภัทร บุญคร่ำ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ณ บ้านนาศรีนวล หมู่ที่7 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นโดยมีการจ้างงานชาวบ้านในชุมชนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือชาวบ้านที่มีความสนใจที่จะหารายได้เพิ่ม โดยการที่เราจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรานั้นมีคนสนใจและดึงดูดให้คนมาสนใจนั้นมีองค์ประกอบดังนี้

6 เทคนิคมัดใจ ทำยังไงให้ลูกค้าหันมาเลือกเรา!!

“เมื่อเจอสิ่งที่ใช่ ทำไมต้องเสียเวลาไปตามหาสิ่งอื่น” ปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเมื่อแฮปปี้กับสิ่งที่มีหรือเคยชินกับสิ่งนั้นไปแล้ว ซึ่งนี่ถือเป็นโจทย์ยากเมื่อมองในมุมของการขาย

เวลาลูกค้าบอกว่า มีเจ้าที่ซื้อหรือใช้บริการเป็นประจำอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกัน ธุรกิจส่วนใหญ่มักจะฟาดฟันกันในเรื่องของราคา เพราะราคาแทบจะเป็นเหตุผลแรกที่ลูกค้าจะตัดสินใจว่าจะเลือกร้านไหน ส่วนมากก็ทำโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถมกันแบบสุด ๆ จนแทบไม่เห็นกำไรกันเลยทีเดียว

1. เพิ่มมูลค่าสินค้า

แทนที่เราจะลดราคาสินค้า เราควรแสดงให้ลูกค้าเห็นถึง Value Added หรือมูลค่าเพิ่มของสินค้าเราว่าคืออะไร การตั้งราคาตามคุณภาพของสินค้าเป็นสิ่งที่พึงทำครับ เพราะหากสินค้าของเราดีจริง แพงแค่ไหนลูกค้าก็ยอมจ่ายครับ นอกจากนี้การเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือแบรนด์ ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ โดยการทำ Packaging ให้ดูดี มีคุณค่าหรือ มีบริการหลังการขายต่าง ๆ ซึ่งบริการหลังขายและระยะเวลารับประกันนี่แหละครับ เป็นตัวช่วยในการเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ อย่าลืมนะครับ ตั้งราคาให้เหมาะสมกับสินค้าของเรา ไม่ใช่ของคู่แข่ง!

             2. สร้างความแตกต่าง 

หรือการสร้าง Branding (3 เคล็ด(ไม่)ลับ การทำแบรนด์ที่ดี) นั่นเองเพราะหากเราทำ Branding ไม่ดี เราก็จะกลายเป็นตัวเลือกครับ การที่จะทำให้ลูกค้าหันมาสนใจเราคือ หาจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ทำการบ้านให้ดีว่าสินค้าของคุณมีอะไรที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความแตกต่างที่ตัวสินค้า และการบริการ หรือที่ช่องทางการขายต่าง ๆ ก็สามารถสร้างจุดขายให้แบรนด์เราได้

ถ้าคิดว่าการสร้างความแตกต่างที่ตัวสินค้านั้นสามารถโดนก็อปได้ง่าย ทำไปไม่กี่อาทิตย์หรือไม่กี่เดือนก็โดนก็อปแล้ว ลองเปลี่ยนมาสร้างจุดเด่นที่การบริการก็ไม่เลวนะครับ เพราะการบริการที่ดีหรือ Service Mind นั้นสร้างลูกค้าประจำมานักต่อนักแล้วครับ เพราะลูกค้าจะรู้สึกถึงความเอาใจใส่ในการให้บริการ คงไม่มีลูกค้าคนไหนอยากซื้อของกับคนหน้าบึ้งหรอกครับ ถึงแม้ว่าของที่คุณขายจะดีแค่ไหนก็ตาม หรือการเพิ่มช่องทางการขายใหม่ ๆ ที่นอกจากการขายหน้าร้านแล้ว ก็ลองมาลงขายในช่องทางออนไลน์หลาย ๆ Platform ก็เป็นหนทางที่ดีครับ เพราะว่ายิ่งเรามีช่องทางการขายมากเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะเห็นสินค้าของเราได้มากขึ้นเท่านั้น นั่นหมายความว่าของเราก็จะมีโอกาสขายได้มากขึ้นด้วย

             3. คำนึงว่าสินค้าของคุณตอบโจทย์ตลาดหรือไม่

เพราะความต้องการที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจจากสินค้าจากเจ้าที่เคยใช้อยู่ ดังนั้นต้องเพิ่มสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากกว่า เช่น ความรวดเร็วในการบริการ ความเรียบร้อยในการแพ็คสินค้า มีสถานที่นัดรับสินค้าที่สะดวกต่อลูกค้า มีบริการจัดส่งที่เข้าถึงในทุก ๆ พื้นที่ หรือถ้าทำให้สินค้ามีความหลากหลายในการเลือก และ เหมาะสมกับแต่ละคนได้ก็ยิ่งดีเลยครับ เรียกง่าย ๆ ว่าให้เอาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากคุณไม่สะดวกที่จะทำเอง สมัยนี้มีบริการที่ส่งเสริมการขายมากมายครับ บริการ Fulfillment ก็เป็นอีกหนึ่งบริการที่ตอบโจทย์ผู้ขาย ที่ไม่ว่าจะเป็นการ เก็บ แพ็ค ส่ง สามารถจัดการงานหลังบ้านตรงนี้แทนคุณได้หมดเลยครับ ทำให้คุณมีเวลาไปโฟกัสงานขาย การตลาด การผลิตสินค้าดี ๆ ออกมา

4. สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นครับ ไม่ว่าเราจะโปรโมทสินค้าดีเพียงใด ก็ไม่เท่าลูกค้าลองใช้เองแล้วเห็นผล

การให้ลูกค้ามีโอกาสทดลองใช้สินค้าของเราฟรี ๆ ครับ แน่นอนว่าวิธีการก็มีมากมายที่เหมาะสมกับชนิดสินค้าเราเช่น หากเป็นสินค้าจำพวกอุปโภคบริโภคก็อาจจะเเถมหรือแจกฟรีในช่วงแรก ๆ หรือหากเป็นโปรแกรมหรือเว็บไซต์ก็อาจให้จะให้ลูกค้าทดลองใช้ฟรีเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อลูกค้าทดลองใช้เองแล้วเห็นผลดี แล้วบอกต่อ นั่นแหล่ะครับหมัดเด็ดที่จะฮุกตลาดได้เป็นอย่างดี เพราะการแพร่กระจายสินค้าที่ดีที่สุดคือการบอกต่อจากคนที่รู้จัก(ปากต่อปาก)

             5. การทำให้แบรนด์ของคุณมีตัวตน เป็นที่นึกถึงของลูกค้าเสมอ

แม้ว่าลูกค้าจะยังรักฝังใจกับคู่แข่งของคุณ แต่หากคุณยังคงพยายามขายสินค้า ติดตามหรือติดต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าลูกค้าจะยังไม่ซื้อก็ตาม แต่ถ้าคู่แข่งของคุณเกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น การบริการ พนักงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อเป็นแบบนั้นแล้ว ตัวเลือกอันดับหนึ่งของลูกค้าอาจกลายเป็นคุณก็ได้ครับ ซึ่งตรงนี้คุณอาจจะเข้าไปแทนที่ได้เลย เพราะในคำว่าตลอดไปไม่มีในโลกของธุรกิจ

             6. วางแผนการตลาดใหม่เจาะกลุ่มผู้บริโภค

ร้านค้าส่วนใหญ่เมื่อผลิตสินค้าแล้วก็ต้องมองหากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะกับสินค้าหรือที่เราเรียกว่ากลุ่มเป้าหมาย แต่หากการมองหาลูกค้าที่มีร้านเจ้าประจำอยู่ในใจแล้วมันเหนื่อยเกินไป ทำไมไม่ลองเปิดใจมองหาลูกค้ารายใหม่ที่ไม่เคยใช้บริการมาก่อนดูล่ะครับ กลุ่มเป้าหมายรองลงมา ที่อาจจะไม่ได้ตรง Target คุณ 100 % แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสซื้อสินค้าของคุณนะครับ เพราะหากสินค้าของคุณเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดตอบโจทย์ลูกค้าและมีราคาที่จับต้องได้ ไม่ต้องคิดหนักมากเวลาซื้อ รับรองเลยครับว่าขายได้ชัวร์

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมกับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำคณะ อาจารย์ดร.สินทรัพย์ ยืนยาว ที่southern coffee in garden ณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์เกี่ยวกับพัฒนาและเปลี่ยนโลโกผลิตภัณฑ์ให้มีความชัดเจนและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นโดยมีองค์ประกอบดังนี้

ลักษณะของโลโก้ที่ดีควรจะต้องประกอบด้วย

    1.เป็นตัวแทนบอกถึงความเป็นบริษัท

โลโก้ที่ออกแบบขึ้นมานั้นจะบอกถึงตัวตนของบริษัท แสดงให้เห็นถึงลักษณะ ระดับ เจตคติ และคาแรกเตอร์ของบริษัท ต้องสร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจและการยอมรับให้บริษัทได้ในทันที มีตัวอย่างการทำโลโก้ดีๆ มากมายที่ทำให้ทั้งบริษัทและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทต่างมีชื่อเสียงไปพร้อมๆ กัน นี่คือความสำคัญของการที่บริษัทต้องมีโลโก้ที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร

     2.สะดุดตาและตรึงใจ

โลโก้ที่ดูน่าเชื่อถือจะมีพลังในการโน้มน้าวใจ โลโก้ที่ถูกออกแบบมานั้นจะแสดงภาพลักษณ์ของบริษัท หากภาพที่สร้างขึ้นมานั้นกระทบใจก็จะดึงลูกค้าเข้ามาได้ เช่น ผลแอปเปิลที่เคยเป็นตัวแทนของ “ผลไม้ต้องห้าม” จาก “ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว” ที่ถูกกล่าวถึงไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล กับภาพแอปเปิลที่เป็นแบรนด์ของบริษัทที่ได้รับการคิดออกแบบมาอย่างยอดเยี่ยม กลายเป็นโลโก้ที่มีความหมายบ่งบอกในเชิงเดียวกัน โลโก้จึงเป็นตัวแทนที่แสดงถึงการสร้างสรรค์และความชาญฉลาดของแบรนด์ที่มีคุณภาพ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะสร้างสิ่งใหม่ออกม

     3.ปรับขยายขนาดได้ไม่มีปัญหา

ความสำเร็จของโลโก้มักถูกตัดสินกันที่การใช้งานในการปรับเปลี่ยนได้ทุกขนาด เพื่อให้โลโก้ใช้งานได้ประสิทธิผลมากที่สุด ควรที่จะออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลายขนาดและใช้ได้ในทุกที่ ตัวอย่างที่ดีคือโลโก้ของ Nike “swoosh” (รูปเครื่องหมายถูก) เห็นได้จากผลิตภัณฑ์หลายแหล่ที่ออกมา รวมไปถึงชุดออกกำลังกาย รองเท้า และเสื้อผ้า

     4.ใช้สีที่เหมาะสม

การเลือกใช้สีให้เหมาะสมถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการออกแบบโลโก้ของบรรดาแบรนด์ที่เรารู้จักกัน อย่างบางแบรนด์ที่จดจำกันได้มาก (เช่น Nike, Adidas และ Lacoste) สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นก็เนื่องมาจากจุดเด่นของโลโก้นี่แหละ โลโก้เจ๋งๆ เหล่านี้ออกแบบด้วยสีที่เรียบง่าย เช่น สีแดง สีฟ้า สีเขียว และสีขาว การใช้สีในโลโก้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์และทำให้เป็นที่จดจำ

  5.เป็นงานต้นแบบ

สิ่งสำคัญที่สุดคือโลโก้ของบริษัทต้องเป็นงานต้นแบบ ต้องมีเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน และต้องสะท้อนถึงเอกลักษณ์และคุณค่าของแบรนด์ชัดเจน

      6.สร้างสรรค์โดยผู้ชำนาญ

เพราะโลโก้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการแสดงอัตลักษณ์ของบริษัท บางครั้งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบโลโก้ SME Design Servicesเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดสำหรับการออกแบบโลโก้ใและการออกแบบอื่นๆ ขององค์กร การทำโลโก้ของบริษัทที่รับออกแบบมักจะปรับแต่งให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ดี

โลโก้ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีนับเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างแบรนด์และการโฆษณาของบริษัท โลโก้ที่ดีจึงควรมีความเป็น “นิรันดร์” และยืนหยัดต่อสู้กับบททดสอบของกาลเวลาได้ เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นบริษัทที่ยั่งยืน

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่กศน.บุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเข้าพบและเข้าร่วมประชุมกับศส.ปชต.ในเรื่องบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของศส.ปชต.ในชุมชน

ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตําบล ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บุคลากรภาครัฐ  ภาคเอกชน ประชาชนในตําบลและชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมและ ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสํานักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด  ในการเผยแพร่วิชาการ การให้ความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการศึกษาแก่ประชาชน รวมทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง การพัฒนาการเมืองและ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชน ส่งเสริมการตรวจสอบการเลือกตั้ง การส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและ เที่ยงธรรม การขยายและพัฒนาเครือข่ายให้เข้ามาช่วยเหลือการเลือกตั้ง รวมทั้งสร้างจิตสํานึกสาธารณะให้เกิดขึ้น กับประชาชน ตลอดจนทําหน้าที่พลเมืองดีพิทักษ์รักษาสิทธิของตนเอง ของผู้อื่น ของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ด้วยวิถีทางระบอบประชาธิปไตย  ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๕๖๐

ศส.ปชต.คืออะไร

๑)นิยาม ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล(ศส.ปชต.) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) เป็นศูนย์ที่จัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่โดยจะให้เป็นองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลที่มีการบริหารจัดการกันเองไม่ใช่เฉพาะเรื่องการเลือกตั้ง สามารถดำเนินการเรื่องอื่นได้โดยบูรณาการทรัพยากรในพื้นที่มาช่วยกันดำเนินงานในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
๒.)แนวคิดการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ภายใต้กรอบความคิดว่า ประชาธิปไตยควรสร้างขึ้นจากคนในท้องถิ่น (ชุมชน) เพื่อสร้างให้ท้องถิ่นมีวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และเป็นการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับคนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนเป็นสมาชิกของสังคมที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้มีความรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นเคารพความเห็นต่าง ความเสมอภาค กติกา หรือกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมโดยเริ่มที่ตนเอง เมื่อสมาชิกในชุมชนมีความเป็นพลเมืองจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย
๓)หลักการสำคัญการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล(ศส.ปชต.) เพื่อให้มีองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลโดยให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าขององค์กร เป็นเวที หรือ สถานที่แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน การขับเคลื่อนงานโดยคนในพื้นที่ มีการประสานงานทุกภาคส่วน เน้นสามประสาน “ บวร” เรียนรู้โดยการกระทำอย่างต่อเนื่อง
๔ )กฎของการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) มี ๓ ข้อ คือ๑) มีความเชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืน ประชาชนต้องสร้างเอง
๒) หน่วยงานภายนอกเป็นแต่ผู้สนับสนุน ช่วยเหลือส่งเสริมหรือให้คำปรึกษา
๓) ไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการขับเคลื่อนแต่ใช้การผสานพลังทุกภาคส่วนร่วมมือกัน
๕)วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) มี ๔ ข้อคือ
๑) เป็นศูนย์กลางปฎิบัติงานและประสานงานของเครือข่ายในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับตำบล
๒)เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน อันเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
๓) เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ตระหนักถีงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของตนต่อการพัมนาประชาธิปไตย
๔) เพื่อเป็นเครือข่ายในการรณรงค์ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย การเลือกตั้งให้แก่ประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือการบริการประชาชนในการเลือกตั้งและกิจกรรมอื่นๆ
๖โครงสร้างคณะกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.)ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ/ปราชญ์ท้องถิ่น/เจ้าคณะตำบล ตัวแทนพลเมืองอาสา ผู้แทนสถานศึกษา/ผุ้แทนสถานศึกษาที่มีหน่วยลูกเสืออาสากกต. ผู้แทนอสม. อช. ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผุ้บริหารอปท. ครูกศน.ตำบล (อาจเพิ่มเติมได้อีก๒-๓ คน )
ภารกิจ ศส.ปชต.
1. การบริหารจัดการ ศส.ปชต
คณะกรรมการ ศส.ปชต. มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการ ศส.ปชต. ให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในตำบล เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างแก่ตำบลอื่นๆ ที่จะจัดตั้ง ศส.ปชต. ในปีต่อไป
2. การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย
การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย เป็นการให้ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย ให้บุคคลมีวิถีชีวิตประชาธิปไตย อันจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนให้เห็นแก่ประโยชน์ของสังคมและส่วนรวม ต่อต้านพฤติกรรมทุจริต
คอร์รัปชัน และการซื้อสิทธิขายเสียง
3. การขยายเครือข่ายภารกิจพลเมือง
กรรมการ ศส.ปชต. ไม่อาจปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จโดยลำพัง จึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน ร่วมเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงาน เข้าถึงได้ทุกพื้นที่ และมีความต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในการให้ความรู้ การรณรงค์ การร่วมปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง และการเป็นเครือข่ายข่าวในการเลือกตั้ง
3.4 ส่งเสริมหมู่บ้าน/ชุมชนประชาธิปไตย
การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านหรือชุมชนประชาธิปไตย
3.5 ส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย
การดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ต้องยึดหลักเกณฑ์ กฎ กติกา ที่เป็นที่ยอมรับในการอยู่ร่วมกัน ในสังคมประชาธิปไตยก็มีหลักการประชาธิปไตยให้ยึดถือปฏิบัติ หลักการ หรือ กฎ กติกา ถือเป็นหลักให้สมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นในสังคม การใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลก็ต้องอยู่ภายใต้กฎ กติกาที่มีอยู่ ตลอดจนไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น

3.6 มีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแต่ละครั้งจะสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนทุกคนถือเป็นวาระแห่งชาติ จะมอบให้ใคร หรือองค์กรใดดำเนินการตามลำพังไม่อาจประสบผลสำเร็จได้
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติในคราวการประชุมครั้งที่ ๑๑๒/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ เห็นชอบ เรื่อง การขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๘ ตามนโยบาย ดร.ประวิช รัตนเพียร กรรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการการมีส่วนร่วมเสนอโดยให้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล ๑ อำเภอ ๑ ศส.ปชต. และทำตามบันทึกตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ร่วมกันพิจารณาจากตำบลที่มีพื้นฐานความเข้มแข็งของชุมชนจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนดี มีพื้นฐานความเข้มแข็งในเรื่องการทำกิจกรรมสามารถพัฒนาให้เป็นแบบอย่างแก่ตำบลอื่น ๆ ได้
๒.ผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน ตำบล มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมในการสนับสนุนภารกิจของศูนย์ และที่สำคัญ คือมีแนวความคิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมุ่งเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ต้องการได้รับการพัฒนาไปข้างหน้า
๓. พลเมืองอาสาพัฒนาประชาธิปไตย ที่มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมและความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน
๔. ครู กศน.ตำบล มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลได้เป็นอย่างดี
๕. มีสถานที่ หรืออาคาร ที่สามารถรวมกลุ่มประชุมหรือ จัดกิจกรรมรวมกันได้ตามความเหมาะสม หรือสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ตำบล

บทบาทหน้าที่ของ ศส.ปชต.
– เป็นศูนย์กลางพัฒนาประชาธิปไตย
– ให้ความรู้ประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง
– ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตย
– พัฒนาต่อยอดการสร้างและขยายเครือข่ายพลเมือง
– สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง

วิดีโอประจำตำบล