โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG)
ประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2565
หลักสูตร HS01-1 การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นางสาว พนิดา สนทนา ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบการดำเนินงานในเขตพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ 2565
ประชุม TCB
โดยตัวแทนกลุ่มจำนวน 2 ท่านเข้าอบรมและนำมาชี้แจงสมาชิก
การเข้าระบบใช้งานให้ใช้ User/password เดียวกับ BCG-Learning
การเก็บข้อมูลภายในเดือนกันยายน
1. ตำบลใหม่ 500 รายการ
2. ตำบลเก่า
2.1 Cleansing ข้อมูลที่ซ้ำซ้อน(อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ตรวจสอบ)
2.2 ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (หากมีข้อมูลใหม่)
ในการเก็บข้อมูลให้มีป้ายประจำตัวก่อนเข้าเก็บข้อมูลทุกครั้ง หากมีการสอบถามถึงหน่วยงานให้แจ้งแก่ผู้ให้ข้อมูลว่าเป็นการเก็บข้อมูลของกระทรวง อว. ท่านเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นผู้ดูแล และในการเก็บข้อมูลครั้งนี้จะไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ประชุม 31 ก.ค. 65 (สรุปโดยเลขากลุ่ม)
สรุปการประชุมการลงข้อมูล TCB
-การเข้าระบบใช้งานให้ใช้ User/password
เดียวกับ BCG-Learning
-การเก็บข้อมูล
ภายในเดือนกันยายน
1.ตำบลใหม่ 500 รายการ
2.ตำบลเก่า
2.1 Cleansing ข้อมูลที่ซ้ำซ้อน(อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ตรวจสอบ)
2.2 ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (หากมีข้อมูลใหม่)
ในการเก็บข้อมูลให้มีป้ายประจำตัวก่อนเข้าเก็บข้อมูลทุกครั้ง หากมีการสอบถามถึงหน่วยงานให้แจ้งแก่ผู้ให้ข้อมูลว่าเป็นการเก็บข้อมูลของกระทรวง อว. ท่านเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นผู้ดูแล และในการเก็บข้อมูลครั้งนี้จะไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ประเภทของการเก็บข้อมูล
-ผู้ย้ายกลับเนื่องจากสถานการณ์โควิด
หากผู้ให้ข้อมูลไม่สะดวกให้ข้อมูลใดให้ข้ามได้เลย สิ่งที่ทาง อว. ต้องการทราบคือต้องการความช่วยเหลือในด้านใด
-อาหารประจำท้องถิ่น
*หากตำบลใดทำเกี่ยวกับอาหารให้เน้นเรื่องความเป็นมา
ลงพื้นที่ทำแบบสำรวจ TCB ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตำบลบ้านสิงห์ ประกอบด้วยหมู่บ้าน
- หมู่ 1 บ้านหนองขาม
- หมู่ 2 บ้านสิงห์
- หมู่ 3 บ้านโคกไม้แดง
- หมู่ 4 บ้านหนองตาชี
- หมู่ 7 บ้านหนองกง
- หมู่ 8 บ้านจันทร์แดง
- หมู่ 9 บ้านหนองทะยิง
- หมู่ 10 บ้านหนองโคลน
- หมู่ 11 บ้านหนองม่วง
- หมู่ 12 บ้านหนองสองห้อง
- หมู่ 13 บ้านหนองม่วง
โดยหัวข้อการสำรวจข้อมูลในตำบลบ้านสิงห์ มีดังนี้
1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด (COVID-19) ส่งผล
ต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในหลายพื้นที่ จึงควรมีการระดมสมอง
ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและบุคคลในพื้นที่ เพื่อสํารวจข้อมูลการโยกย้ายที่
อยู่ของประชาชน รวมถึงการเก็บข้อมูลปัจจัยหรือสาเหตุต่าง ๆ ที่ส่งผล
ต่อการอพยพ
2. แหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบล อาจมีข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่มี
ความหลากหลายและแตกต่างกัน จึงควรมีการระดมสมองระหว่างผู้
ปฏิบัติงาน ผู้ดูแลของหน่วยงาน และบุคคลในพื้นที่ เพื่อวางแผนการ
เก็บข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3. ที่พัก/โรงแรม เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบล มีข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท หรือ
อาจมีธุรกิจที่พักของชุมชนที่เน้นการเรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่น โดยที่พักใน
แต่ละพื้นที่นั้นต่างมีความหลากหลายและอาจมีหลายสถานที่ที่ยังรอการไป
สํารวจอยู่ จึงควรมีการระดมสมองระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ผู้ดูแลหน่วยงาน
และบุคคลในพื้นที่ เพื่อวางแผนการเก็บข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
มากที่สุด
4. ร้านอาหารในท้องถิ่น เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบลต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ ซึ่งเป็น
ปัจจัยให้เกิดร้านอาหารประเภทต่าง ๆ มากมาย เช่น ร้านจําหน่ายอาหาร
พื้นบ้าน ร้านอาหารที่เน้นเมนูของแต่ละภูมิภาค เป็นต้น
5. อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบลต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ จึงมีความ
หลากหลายของเมนูอาหารท้องถิ่นตามปัจจัยสภาพแวดล้อม มีการ
สืบทอดสูตรอาหาร
6. เกษตรกรในท้องถิ่น เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบลต่างมีปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความ
แตกต่าง มีองค์ความรู้ของบุคคลในชุมชนที่หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไป
ตามยุคสมัย เกิดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าไปช่วยปรับปรุงประยุกต์การใช้เทคนิค
หรือเทคโนโลยีใหม
7. พืชในท้องถิ่น เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบลต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ จึงมี
ความหลากหลายของพืชในท้องถิ่นตามปัจจัยสภาพแวดล้อม และองค์
ความรู้ของบุคคลในชุมชน
8. สัตว์ในท้องถิ่น เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบลต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ จึงมี
ความหลากหลายของสัตว์ในท้องถิ่นตามปัจจัยสภาพแวดล้อม และองค์
ความรู้ของบุคคลในชุมชน
9. ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบลต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ จึงมีความ
หลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่นตามปัจจัยสภาพแวดล้อม และองค์
ความรู้ของบุคคลในชุมชนที่มีการสืบทอดกันมา และมีทั้งการประยุกต์ให้เข้า
กับยุคสมัย
10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น เนื่องจากแต่ละชุมชนหรือแต่ละตําบลจําเป็นต้องใช้พึ่งพาแหล่งน้าทั้ง
จากธรรมชาติและที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ เพื่อใช้อุปโภค บริโภค ใช้ในการ
คมนาคม การทําประมง หรือการทําเกษตร จึงควรมีการระดมสมอง
ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ผู้ดูแลหน่วยงาน และบุคคลในพื้นที่ เพื่อวางแผน
การเก็บข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ลงพื้นที่ทดลองทำสูตรทองม้วนมันม่วง ณ ตำบลบ้านสิงห์
ตำบลบ้านสิงห์มีสินค้าขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักคือขนมทองม้วน ได้ระดมความคิดกับผู้ปฎิบัติงานทุกคนและชุมชนตำบลบ้านสิงห์เพื่อที่จะคิดสูตรและทำให้ขนมทองม้วนที่มีความแปลกใหม่และน่ารับประทานยิ่งขึ้น ซึ่งในตำบลบ้านสิงห์คนในชุมชนส่วนใหญ่ได้ปลูกมันม่วงอยู่แล้ว จึงคิดว่าการเพิ่มสีสันให้ทองม้วนจากมันม่วงและกลิ่นจากมันม่วงทำให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น จึงได้คิดค้นสูตรและทดลองทำดังนี้
ส่วนผสมสูตรทำทองม้วน 4 สูตร
- สูตรที่ 1 แป้งดั้งเดิม
– แป้งมัน 250 กรัม
– น้ำตาล 50 กรัม
– กะทิ 70 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา
– ไข่ไก่ 1 ฟอง - สูตรที่ 2 แป้งดั้งเดิม+มันม่วง
– แป้งมัน 250 กรัม
– น้ำตาล 50 กรัม
– กะทิ 70 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา
– ไข่ไก่ 1 ฟอง
– มันม่วง 50 กรัม - สูตรที่3 แป้งกล้วย
– แป้งกล้วย 250 กรัม
– แป้งมัน 20 กรัม
– น้ำตาล 50 กรัม
– กะทิ 70 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา
– ไข่ไก่ 1 ฟอง - สูตรที่ 4 แป้งกล้วย + มันม่วง
– แป้งกล้วย 250 กรัม
– แป้งมัน 20 กรัม
– น้ำตาล 50 กรัม
– กะทิ 70 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา
– ไข่ไก่ 1 ฟอง
– มันม่วง 50 กรัม
ขั้นตอนการทำ
1. จัดเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ
2. ชั่งตวงวัตถุดิบตามอัตราส่วน
3. นำวัตถุดิบมาผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน
4. นวดและคนให้ส่วนผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างละเอียด
5. พักแป้งไว้ 1 คืน
6. ตั้งเตาและพิมพ์สำหรับพิมพ์ทองม้วน
7. หยอกแป้งทองม้วนลงบนแป้นพิมพ์
8. ใส่กลีบดอกไม้ชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มความน่ารับประทาน
9. พอทองม้วนสุกก็ม้วนทองม้วนให้เป็นแท่ง
10. บรรจุลงบรรจุภัณฑ์
เรียนบทเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ U2T BCG-learning
ผู้ปฏิบัติงานเข้าสู่บทเรียนออนไลน์ E-Learning การคิดและกระบวนการ Hackathon โดยหัวข้อที่เรียน 1. คือการพัฒนาและสร้างคุณค่า 2. ค้าขายสินค้าและบริการ การศึกษาบทเรียนทำให้ได้เรียนรู้หลักการและเหตุผล เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา ในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ในตำบลที่ได้รับผิดชอบ ออกแบบสินค้า บรรจุภัณฑ์ วางแผนการตลาด สร้างแบรนด์ ออกแบบเรื่องราวสินค้า
พัฒนาและสร้างคุณค่า
– ออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์
– วางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์
– ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ
– การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโต
ค้าขายสินค้าและบริการ
– E-commerce 101/กลยุทธ์ราคา
– การขนส่ง
– การตลาดออนไลน์และไลฟ์สดขายสินค้า
– แนวโน้มธุรกิจและเครื่องมือจัดการสมัยใหม่