รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG)   ประจำเดือนกันยายน 2565

หลักสูตร: HS01-1 การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากของชุมชนเพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ ทีมีคุณภาพและมีระบบการจัดการและการตลาดที่ยั่งยืน “จากกล้วยที่มีปลูกทุกครัวเรือนในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ ขนมท้องม้วนมันม่วง และ แป้งกล้วยสำเร็จรูป ตรา สิงห์คู่”ชูให้เป็นผลิตภัณฑ์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน กันยายน 2565 และ ในเดือนนี้ได้นำแป้งกล้วยมาต่อยอดโดยการนำแป้งกล้วยมาทำขนมทองม้วนมันม่วง ซึ่งขนมทองม้วนเป็นสินค้าโอท็อป และ ยังเป็นสินค้าขึ้นชื่อของดีประจำตำบลบ้านสิงห์อีกด้วย

ข้าพเจ้านายปริวัติ จำเนียรกูล ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบการดําเนินงานในเขตพื้นที่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์กิจกรรม และ แผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

  1. กิจกรรมประชุม Online และ Onsite

        วันที่ 28 สิงหาคม ได้มีการเสนอความคิดในการออกแบบฉลากสินค้าและประชุมกิจกรรมต่างๆที่จะเตรียมความพร้อมใน LINE Group (สรุปโดยเลขา)

-ออกแบบโลโก้สินค้าทองม้วนมันม่วงและแป้งกล้วยทอดกรอบ

-วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 ประชุมออนไลน์ 15:30 เตรียมไปร่วมทำบุญเสวนาชุมชนของคณะ

-จัดอบรมวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน ช่วงเช้าเวลา 10:00 – 12:00 น. มีวิทยากรมาให้ความรู้

-เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำท้องม้วนและกล้วยทอด

-เตรียมแป้งกล้วยบดให้เรียบร้อย

-เชิญชาวบ้านผู้สนใจมาร่วมอบรม 15-20คน

-จัดสถานที่ ที่ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่7 บ้านหนองบัวราย

-มีเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม

-มหาลัยให้ออกบูธขายสินค้างานวันรับปริญญา 14-18 ก.ย

สินค้าที่ขาย

-แป้งกล้วยทอดกรอบ

-มัน/กล้วยชุปแป้งทอด

-ทองม้วนมันม่วง

-ต้องมีการจัดซุ้มให้สวยงามน่าสนใจ

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทางทีมคณะอาจารย์ผู้ดูแลและทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ ได้ส่งตัวแทนไปร่วมทำบุญงานผ้าป่าเสวนาชุมชน ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์   โดยทางม.ราชภัฏบุรีรัมย์ จับมือกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน จัดงานบุญทอดผ้าป่า-เสวนาชุมชน หารายได้สมทบทุนสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง หวังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ตามรอยพ่อหลวงเมื่อวันที่ 31 ส.ค.65 นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานเปิดงานทอดผ้าป่า-เสวนาชุมชน ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดขึ้น ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์เพื่อต้องการให้ อ.นางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานต่างๆ และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับธรรมชาติทั้งนี้กิจกรรมภายในงานนอกจาก พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีแล้ว ยังมีกิจกรรมการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ฝ่าทุกวิกฤติในยุค World Disruption” โดย นายโจน จันได ผู้ก่อตั้งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ และการเสวนาชุมสร้างสรรค์เรื่อง “เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง:ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน?” โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เจ้าคณะตำบลหนองกง พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายก อบต.หนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายก อบต.หนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของวนเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ “ช่างดำอิ้นดี้” เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา นายอำเภอนางรอง เปิดเผยว่า การทำบุญทอดผ้าป่าในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการสมทบเงินทุนในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ที่กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้อำเภอนางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานที่สนใจเกี่ยวกับ ธรรมชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุข

วันที่ 3 กันยายน 2565 ทางทีมคณะอาจารย์ผู้ดูแลได้แจ้งให้ทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ เข้าร่วมประชุม Online โดยพร้อมเพียงกัน เวลา13.30น. ทางทีมคณะอาจารย์ผู้ดูแลได้แจ้งให้ทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ได้แจ้งและปรึกษาทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์เรื่องการลงพื้นที่ในวันที่ 4 กันยายน 2565 ให้เตรียมความพร้อมเรื่องการจัดสถานที่ และเตรียมอุปกรณ์ไปให้พร้อมสำหรับการลงพื้นและให้ชาวบ้านปฏิบัติ และ ทดลองการทำกล้วยทอดจากแป้งกล้วย และ ทางทีมคณะอาจารย์ผู้ดูแลได้แจ้งอีกว่าขออนุญาต ชี้แจง U2T เพิ่มเติมในการพิชิตภารกิจ ECT WEEK

  1. การดำเนินกิจกรรม ECT WEEK ให้ดำเนินการโดยสามารถสอดแทรกร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ ในพื้นที่ที่ U2T ต้องดำเนินการในภารกิจอื่น ๆ
  2. การสำรวจข้อมูลเพื่อทำภารกิจแต่ละวัน (5-6 ก.ย. 2565) ให้ดำเนินการสำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 คน แล้วนำมาสรุปประมวลผลลงในแบบรายงานของแต่ละวัน
  3. หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามภารกิจของแต่ละวันเนื่องจากติดภารกิจอื่นที่ได้รับมอบหมาย ให้สามารถสำรวจข้อมูลทั้ง 5 ใบงาน ได้ตามความเหมาะสม เช่น ดำเนินการ 5 ใบงาน ในวันที่ 6 ก.ย. 2565 กับประชาชน 5 คน วันต่อๆ ไป ก็ดำเนินการทั้ง 5 ใบงาน กับประชาชนอีกกี่คน  ทั้งนี้ ให้พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
  4. การพิชิตภารกิจของ ECT WEEK จะมี 2 ภารกิจย่อย คือ

4.1 ใบ Certificate : จากการศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ 20 ep จาก application CIVIC EDUCATION บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน แล้วทำแบบทดสอบ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (16 ข้อ) จะได้รับใบ Certificate

4.2 รายงานสรุปผลการลงพื้นที่ : เป็นผลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในสัปดาห์ ECT WEEK ตามข้อ 3. เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ส่งแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ให้กับกรรมการและเลขานุการ ศส.ปชต. (ครู กศน.ตำบล) ภายในวันที่ 18 กันยายน 2565

เนื่องจาก สนง.กกต. ก็ได้ประสานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องไปแล้ว หากเกิดปัญหาการประสานงานในระดับพื้นที่ เพื่อให้การขับเคลื่อนทำงานไม่สะดุดเดินหน้าต่อไปได้ ขออนุญาตปรับแนวทางตามหน้างาน  ทั้งนี้หากไม่สามารถติดต่อ กศน. (ศส.ปชต.) ได้ให้เข้าพบผู้นำชุมชน กรรมการชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้านแทนได้เลย (ใบงานประจำวันที่ 5 ก.ย. 2565) เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ศส.ปชต. อยู่แล้ว (ครู กศน.ตำบล เป็น เลขานุการ ศส.ปชต.)

วันที่ 14 กันยายนได้รับหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อนๆในการไปจัดซุ้มของตำบลบ้านสิงห์ในการนำผลิตภัณฑ์ไปขายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้อยู่ในซุ้มเล่มที่ 1 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้นำเพื่อนๆไปจับผ้าเตรียมความพร้อมนำวัสดุอุปกรณ์ไปเตรียมความพร้อมในการขาย โดยจะเริ่มขายตั้งแต่วันที่ 15 ถึงวันที่ 18 กันยายน 2565

วันที่ 15-18 กันยายน 2565 ทางทีมคณะอาจารย์ผู้ดูแลและทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางมหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ให้ทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ได้มีการออกบูธขายสินค้าภายในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตที่จบการศึกษาและทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ได้นำสินค้าไปออกบูธขาย คือ แป้งกล้วยสำเร็จรูป ทองม้วนมันม่วง และ กล้วยทอดโดยใช้แป้งกล้วยสำเร็จรูปของเราเอง ทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ได้ช่วยกันขายและช่วยกันทอด ทุกคนต่างทำหน้าที่ที่ตนได้รับหมอบหมายเป็นอย่างดีได้มีส่วนร่วมทุกคน และ ช่วยเหลือให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดีโดยแต่ละวันก็มีประชาชนและนักศึกษาสนใจและเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ของทางตำบลเรื่อยๆ ยอดขายก็ตกประมาณ 500-2000 บาทต่อวันทำให้ถือว่าการนำสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

สรุปผลการทํางานและการทดลองประจําเดือนกันยายน

ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตําบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วมอบรมต่างๆของทางโครงการ ได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้น และนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ในตำบลให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ผู้ปฏบัติงานได้เริ่มปฎิบัติงานตามโครงการมาตั่งแต่เดือนกรกฎาคมโดยเริ่มต้นจากสรุปโครงการของตำบลบ้านสิงห์ คือแป้งกล้วยทอดกรอบ และทองม้วนมันม่วง ชื่อผลิตภัณฑ์คือ  “สิงห์คู่” ซึ่ง Admin ได้ลงข้อมูลโครงการ C01 ในระบบเรียบร้อยแล้ว จากนั้นได้เริ่มขั้นตอนการแปรรูปกล้วย และได้คิดทดลองสูตรการผสมแป้งทอด และสูตรแป้งกล้วยสำเร็จรูป  ต่อมาเดือนสิงหาคม ได้มีการต่อยอดนาแป้งกล้วยและมันม่วงมาเพิ่มสูตรใหม่อีก รวมเป็น 4 สูตร และแต่ละสูตรมีกลิ่น มีส่วนผสมที่ต่างกันออกไป สูตรที่ 1 กลิ่นหอมหวานมันของกะทิ สูตรที่ 2 มีกลิ่นหอมกะทิและมันม่วง ทองม้วนมีสีม่วงเข้มเพราะมีส่วนผสมของเนื้อมันม่วงหอมหวานมัน สูตรที่3 มีกลิ่นหอมกะทิและกล้วย ซึ่งมีความหอมเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยชัดเจน รสชาติหวานจากแป้งกล้วยมีความมันของกะทิ แป้งบางเนียน และสูตรที่ 4 มีความหอมกะทิ กล้วย และมันม่วง สีทองม้วนออกมาสวย ทั้ง4 สูตรนั้นได้มีการใส่ดอกไม้ทานได้จากธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความสวยงามแก่ผลิตภัณฑ์อีกด้วย และ ยังได้นำการตลาดออนไลน์เข้ามาเพิ่มในการขายผลิตภัณฑ์อีกด้วยในทั้งนี้ก็เริ่มมีผู้คนเข้ามาสนใจมากที่เราโพสขายไว้ใน shopee และในการเปิดเพจของดีบ้านสิงห์บอกต่อทำให้ทุกคนมีคนเข้ามากดถูกไลค์ถูกใจและกดไลค์เพจเป็นจำนวนมากและเพิ่มช่องทางการขายของผลิตภัณฑ์ของชุมชนในตำบลบ้านสิงห์อีกด้วย

ในการทำงานเดือนสุดท้ายของโครงการ เดือนกันยายน ได้นำผลผลิตที่คิดค้นสูตร มาอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านโดยการจัดอบรมให้ชาวบ้านได้ร่วมกิจกรรม ได้ลงมือทำขมทองม้วนมันม่วง และการทอดกล้วยจากแป้งกล้วยทอดกรอบ ซึ่งชาวบ้านชื่นชอบเป็นอย่างมาก ในความแปลกใหม่ และรสชาติที่อร่อย และยังเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านตําบลบ้านสิงห์  ต่อยอดให้เป็นสินค้า OTOP และนำสินค้าไปแสดงและจำหน่ายในงาน  ชม ชิม ช้อป แชร์ “U2T for BCG BRU FAIR” มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพอีกด้วย ในส่วนของแผนปฏิบัติการเรียนถัดไปนะครับเดือนนี้ก็จะเป็นเดือนสุดท้ายของการสิ้นสุดการทำงานนะครับผมเดือนถัดไปของผมนะครับก็จะสนับสนุนและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 2 อย่างผลิตภัณฑ์ตราสิงห์คู่ก็คือฟองน้ำมันม่วงกับแป้งทอดครัวสำเร็จรูปตราสิงห์คู่นะครับให้ชาวบ้านนำไปใช้และอนุรักษ์ไว้แล้วก็เอาไปขึ้นทะเบียน OTOP และเป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบลต่อไปครับผมขอบคุณครับ