โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG)
ประจำเดือนกรกฎาคม 2565

หลักสูตร: HS01-1 การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากของชุมชนเพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ ทีมีคุณภาพและมีระบบการจัดการและการตลาดที่ยั่งยืน “จากกล้วยที่มีปลูกทุกครัวเรือนในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ ขนมท้องม้วนมันม่วง และ แป้งกล้วยสำเร็จรูป ตรา สิงห์คู่”ชูให้เป็นผลิตภัณฑ์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือน กรกฎาคม 2565

ข้าพเจ้านายปริวัติ จำเนียรกูล ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบการดําเนินงานในเขตพื้นที่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์กิจกรรม และ แผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมประชุม Online และ Onsite

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านGoogle Meet โดยการประชุมครั้งนี้ได้มอบหมายงานทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T เพื่อชี้แจ้งแนวทางการปฏิบัติงานของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG) เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานในพื้นที่ และชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่เพื่อเสนอในการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมกับอาจารย์ที่ คณะมนุษยศาสตร์แลสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการจัดทำแผนเสนอธุรกิจ ในมติที่ประชุมจึงได้เป็นการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากทางภูมิปัญญาดั้งเดิมจากการแปรรูปกล้วย และ ขนมทองม้วนมันม่วง “ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนโบราณเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของชาวชุมชนตำบลบ้านสิงห์อยู่ และ กล้วยที่มีปลูกทุกครัวเรือนในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ แป้งกล้วยสำเร็จรูป ตรา สิงห์คู่” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนการผลิต และ เพิ่มความน่าสนใจของขนมให้มากขึ้นอีกด้วย

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมผ่าน google meet สรุปผลการประชุม ดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์
-แป้งกล้วยทอดกรอบ
-ทองม้วนมันม่วง
ชื่อผลิตภัณฑ์>>สิงห์คู่<<
2.แอดมินลงข้อมูลโครงการ C01 ในระบบ ก่อนเที่ยงวันที่10 (อภิชญา)
3.ลงพื้นที่เพื่อทดลองทำผลิตภัณฑ์ (เฉพาะผู้ปฏิบัติงาน) วันเวลาตามที่หัวหน้ากลุ่มแจ้ง (ปริวัติ)
โดยแนวคิดที่ได้เลือกตัดสินใจนำผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 มาแปรรูปดังนี้

ผลิตภัณฑ์กล้วยที่มีการแปลรูปอยู่ในปัจจุบันเกิดการได้กำไรลดลงเนื่องด้วยปัญหาวัตถุดิบในการนำมาเป็นส่วนประกอบ และส่วนผสมมีราคาสูงขึ้น และ ราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำทำให้ราคากล้วยมีราคาลดลง เหลือทิ้งในชุมชนเป็นจำนวนมาก ทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีแนวคิดที่จะนำกล้วยในชุมชุนมาแปรรูปเป็นแป้งกล้วย ทอดกรอบสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการทำขนมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้วยทอด กล้วยแขก มันทอด ทางทีมผู้ปฏิบัติงานจะเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ว่า แป้งกล้วยสำเร็จรูป ตรา สิงห์คู่ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผลิตภัณฑ์ทองม้วนมันม่วง ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนโบราณเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของชาวชุมชนตำบลบ้านสิงห์อยู่แล้วทางกลุ่มเลยแนะนำแนวคิดที่จะทำท้องม้วนมันม่วง เนื่องจากในชุมชนมีเกษตรกรในพื้นที่ของชุมชนตำบลบ้านสิงห์มีการปลูกไร่มันม่วงทางกลุ่มเลยได้นำมันม่วงมาเป็นส่วนประกอบของขนมทองม้วนเพื่อพัฒนา และ ต่อยอดให้เกิดขนทองม้วนชนิดใหม่หรือรสชาติใหม่นั่นก็ คือ ผลิตภัณฑ์ทองม้วนมันม่วงเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ต่อตลาดของคนซื้อ และ เกิดความน่าสนใจอีกทั้งยังได้นำมันม่วงมาร่วมทำขนมทองม้วนให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ชิ้นใหม่ของชุมชนตำบลบ้านสิงห์อีกด้วย

วันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ได้มีการลงพื้นที่โดยมีอาจารย์ และ ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่พื้นที่ชุมชนที่บ้านหนองโคลน บ้านหัวหน้ากลุ่มที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนตำบลบ้านสิงห์อยู่แล้วเพื่อทดลอง และ พัฒนาการแปรรูปกล้วยให้เกิดแป้งทอดกล้วยสำเร็จรูปเพื่อจะได้นำมาพัฒนา และ ต่อยอดลงกระจายสู่พื้นที่ชุมชนตำบลบ้านสิงห์โดยมีวิธีการทำดังต่อไปนี้

วีธีการแปลรูปขั้นตอนการทำมีดังต่อไปนี้
-ปลอกเปลือกกล้วยแล้วแช่ด้วยน้ำเกลือ และ นำมาหั่นชิ้นบางๆด้วยมีดสองคมนำมาตากแดดให้แห้งสนิท
-นำกล้วยที่ตากแดดแห้งสนิทแล้วมาบดละเอียดและร่อนให้ละเอียดจนได้แป้งกล้วย

 

ทดลองนำแป้งกล้วยสำเร็จรูปมาชุบทอดมันมันม่วงเพื่อทอด อัตตาส่วนการผสม
-แป้งกล้วย 100 g. -น้ำตาล 50 g.
-กะทิ 80 g. -น้ำเปล่า 80 g.
-เกลือ 1 ช้อนชา -ผงฟู 1/2 ช้อนชา

 

สรุปผลการทดลองแป้งกล้วยได้ผลดีตามคาดรสชาติหอมหวานกรอบอร่อยเข้ากับขนมมันม่วงที่ทอดได้ดี และ เกิดกลิ่นหอมกล้วยและรสชาติที่เป็น signature ของแป้งกล้วยอีกด้วย

การวางแผนงาน และ กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในเดือนถัดไป

การทดลองออกแบบผลิตภัณฑ์ และ การทดลองทำทองม้วนมันม่วงเพื่อผลักดันให้กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์ขนม OTOP ทองม้วนของชาวชุมชนตำบลบ้านสิงห์ที่มีอยู่แล้ว คือ ทองม้วนโบราณได้เพิ่มขนมทองม้วนที่มีส่วนผสมของมันม่วงเพื่อเป็นความน่าสนใจเข้าไปในผลิตภัณฑ์ของชุมชนนั่นก็คือทองม้วนมันม่วงทั้งนี้กลุ่มของกระผมจึงได้ดำเนินการลงพื้นที่หาข้อมูล และ นัดหมายเวลา และวันที่ในการลงชุมชนเพื่อทดลองทำทองม้วนมันม่วงเพื่อเป็นการขยายตลาด และ เพิ่มรสชาติเพิ่มความน่าสนใจเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้แก่ OTOP ชุมชนและอีกทั้งนี้ยังได้กระจายรายได้ลงสู่เกษตรกรในชุมชนตำบลบ้านสิงห์อีกด้วย