ข้าพเจ้านางสาวภัทราพร คำดี ประเภทบัณฑิต ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (ตำบลบุโพธิ์) สังกัด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″ การปฏิบัติงานในโครงการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ณ ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่หมู่บ้านบุโพธิ์ หมู่1 และ บ้านบุผู้หญิง หมู่3 ต.บุโพธิ์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดในบริบทชุมชนตามเป้าหมายที่เป็นไปตามแผนโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย
B = Bio-Economy เศรษฐกิจชีวภาพ
C = Circular-Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน
G = Green- Economy เศรษฐกิจสีเขียว
เพื่อเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนเพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากพัฒนาอย่างทั่วถึงด้วยเศรษฐกิจ BCG
กิจกรรมที่ 1 เริ่มต้นจากอาจารย์ประจำโครงการได้มีการเข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อปฐมนิเทศชี้แจงรายละเอียดโครงการเกี่ยวกับเรื่องการลงพื้นที่และการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยอาจารย์ได้ลงพื้นที่สำรวจอยู่ก่อนหน้านี้ พบว่าหมู่บ้านได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรปลอดสาร กลุ่มการเลี้ยงโคเนื้อ กลุ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าไหม เป็นต้น หลังจากนั้นได้มีการแบ่งพื้นที่ในการสำรวจพื้นที่ โดยข้าพเจ้าได้มอบหมายในการสำรวจพื้นที่ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบุโพธิ์ หมู่1 และ บ้านบุผู้หญิง หมู่3 มีสมาชิกที่รับผิดชอบดังนี้ 1.นายทรรศพล สีหัวโทน 2.นายเอกบดินทร์ ประคองใจ 3.นางสาวภัทราพร คำดี
กิจกรรมที่ 2 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงสำรวจพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายคือหมู่บ้านบุโพธิ์หมู่1 และหมู่บ้านบุผู้หญิงหมู่3 ต.บุโพธิ์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยหมู่บ้านบุโพธิ์หมู่1 ต.บุโพธิ์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรปลอดสารแต่กลุ่มนี้ตอนนี้ได้ยุบไปแล้วและต่อมาได้มีโครงการแรกคือกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่พึ่งได้จัดตั้งกลุ่มและได้การสนับสนุนพันธุ์ไม้จาก CP และกลุ่มสอง คือกลุ่มนาแปลงใหญ่มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 44 คน จำนวนไร่ 458 ไร่ โดยมีนางสาวปริญญาพร ศิริเส็ง ได้เป็นหัวหน้ากลุ่มและตอนนี้กลุ่มนี้ได้มีเครื่องเป่าข้าวที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการจำนวน 1 เครื่อง ต่อมา หมู่บ้านบุผู้หญิงหมู่3 ได้ร่วมกลุ่มกับหมู่บ้านหนองเจ้าหัวหมู่4 มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการเลี้ยงโคเนื้อ และจากการได้แบ่งกลุ่มสำรวจพื้นที่พบว่ามีข้อมูลรายชื่อวิสาหกิจชุมชนของตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวนทั้งหมด 4 กลุ่มดังนี้ โดยกลุ่มที่1 หมู่บ้านบุโพธิ์หมู่1 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชสมุนไพรปลอดสาร ต่อมากลุ่มที่2 หมู่บ้านหนองเจ้าหัวหมู่4 และหมู่บ้านบุผู้หญิงหมู่3 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการเลี้ยงโคเนื้อ ต่อมากลุ่มที่3 หมู่บ้านหนองแวงงามหมู่8 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงโค และกลุ่มที่4 หมู่บ้านสีนานวลหมู่7 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าไหม
กิจกรรมที่ 3 จากการได้แบ่งกลุ่มสำรวจพื้นที่พบว่าได้มีประชุมกันว่าจะทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดและการผลิตภัณฑ์พวงกุญแจกระเป๋าอเนกประสงค์ โดยได้มาลงสำรวจพื้นที่หมู่บ้านหนองเจ้าหัวหมู่4 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยชีวภาพมีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องจักรพร้อม แต่ยังไม่ได้มีกำลังการผลิต ดังนั้นพวกเราจึงได้ทำการวางแผนว่าจะผลิตภัณฑ์มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด และต่อมาได้มาลงสำรวจพื้นที่หมู่บ้านสีนานวลหมู่7 โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าไหม ดังนั้นพวกเราจึงได้ทำการวางแผนว่าจะผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าอเนกประสงค์
กิจกรรมที่ 4 ได้ลงพื้นที่หมู่บ้านหนองเจ้าหัวหมู่4 เพื่อทำการหมักมูลวัวไว้สำหรับในการอัดเม็ด มีขั้นตอนดังนี้ 1.นำมูลวัวมาตากแห้งเพื่อไล่ความชื้นออก 2.นำมูลวัวที่ตากแห้งแล้วนำมาเทใส่กระบะ 20 กิโลกรัม 3.เตรียมน้ำสะอาด 5 ลิตร แล้วใส่เชื้อไตรโคเดอร์มา 1 ลิตร ลงไป 4.ใส่กากน้ำตาลลงไป 2 กิโลกรัม แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน 5.นำไปรดมูลวัวที่เตรียมไว้ในกระบะแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยให้ได้ความชื้นอยู่ที่ 60- 70 % หลังจากนั้นตักมูลวัวใส่ถุงปุ๋ยแล้วมัดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปไว้ในที่ร่ม
จากที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนในการประสานงานให้ชาวบ้านรับรู้ถึงการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการนำมาพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมหรือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น การที่ชาวบ้านเลี้ยงโค เราสามารถนำมูลวัวที่มีอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโชน์ได้ด้วยคือการนำมาทำเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ เช่นการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลวัวอัดเม็ด